หลักการและเหตุผล :
1...... มะม่วงเป็นไม้ผลประเภทออกดอกติดผลที่โคนใบปลายกิ่ง ผลจากการบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (สะสมแป้งและน้ำตาล) แล้วปรับ C/N เรโช ไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือ ถ้าปรับ C/N เรโชแล้ว N ยังมากกว่า C (อาจเป็นเพราะ N จากน้ำฝน) เมื่อเปิดตาดอก มะม่วงต้นนั้นจะออกเป็นใบอ่อนแทนออกเป็นดอก
2...... ผลจากการให้อาหารกลุ่มสร้าง C ที่เคยให้ไว้เมื่อครั้งบำรุงด้วยสูตรสะสมตาดอกนั้น แม้มะม่วงต้นนั้นจะแตกใบอ่อนออกมา แต่สารอาหารกลุ่มนั้นบางส่วนยังคงเหลืออยู่ภายในต้น ซึ่งสารอาหารกลุ่มนี้ยังพร้อมที่จะส่งเสริมให้มะม่วงออกดอกชุดใหม่ได้
การปฏิบัติ :
1.... เมื่อใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่เริ่ม "แผ่กาง" ให้เด็ดทิ้ง (เด็ดด้วยมือ) ทั้งหมด
2.... เด็ดใบอ่อนทิ้งแล้ว เริ่มบำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมตาดอก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน.....ช่วงนี้งดการให้น้ำทางรากเด็ดขาด
3..... สะสมตาดอกครบกำหนดแล้ว ให้เปิดตาดอกด้วย "ฮอร์โมนไข่ + 13-0-46 + ไธโอยูเรีย" (ฮอร์โมนไข่สูตรสเปน) 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
ผลรับ :
เมื่อไม่มี "ตุ่มตา" ที่ซอกใบปลายยอด เนื่องจากถูกเด็ดใบทิ้งแล้ว และพัฒนาขึ้นมาใหม่ไม่ทัน ต้นจะพัฒนาตาที่อยู่ใต้เปลือกบริเวณโคนกิ่ง (กิ่งแก่) หรือใต้เปลือกบริเวณลำต้นขึ้นมาแล้วกลายเป็นตุ่มตาที่มีดอกออกมาได้แทน
ประสบการณ์ตรง :
1.... สวนมะม่วงที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติบำรุงตามแนวนี้ ได้แก่ สวนมะม่วงน้ำดอกไม้ที่เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา....... สวนมะม่วงน้ำดอกไม้-เขียวเสวย-ฟ้าลั่น ที่ อ.ไชโย จ.อ่างทอง. ......ส่วนมะม่วงขาวนิยม ที่บางบอน กทม. .......และ สวนมะม่วงขาวนิยม ที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี.....ออกดอกติดผลที่โคนกิ่ง ทั้งกิ่งอ่อน กิ่งแก่ กิ่งกลางอ่อนกลางแก่ และกลางลำต้นได้......ดอกที่ออกมานี้เมื่อบำรุงตามขั้นตอนปกติ ก็สามารถพัฒนาเป็นผลระดับเกรด เอ. ได้เช่นกัน
2.... สวนลิ้นจี่ ที่ อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ก็สามารถออกดอกติดผลตามโคนกิ่งแก่ และลำต้นได้เช่นกัน