เรียนเชิญนักท่องเที่ยวที่เดินทงมาเที่ยวเมืองระยอง แวะชมถนนเมืองเก่าระยองและพิพิธภัณฑ์เมืองระยอง
หากมองภาพระยอง เมืองอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ไทยในปัจจุบัน หลายคนคงไพล่นึกไปถึง โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทั้งมากมายและใหญ่โต ความแออัดของตึกรามในเขตเมือง ผู้คนต่างถิ่นที่เข้ามาขายแรงงานให้กับภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนมลพิษ ที่นับวันจะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แต่หากย้อนเวลากลับไปเมื่อช่วง 80 ปีก่อน หลายคนอาจนึกไม่ออกว่า ชุมชนเมืองระยองนั้นเป็นอย่างไร
ย้อน เวลากลับไปนานกว่าชั่วชีวิตคนสักเล็กน้อย ชุมชนเมืองระยองแห่งนี้ ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองชั้นตรีสภาพท้องถิ่น อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ มีแม่น้ำระยองไหลผ่านใจกลางเมือง เจริญรุ่งเรืองจากธุรกิจอู่ต่อเรือ ชาวบ้านใช้แม่ น้ำระยอง เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคม และขนถ่ายสินค้าลงเรือสำเภา ไปยังหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งลำเลียงเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
ต่อมาเมื่อพระศรีสมุทรโภค (อิ่ม ยมจินดา) เจ้าเมืองระยองคนสุดท้าย ได้ริเริ่มให้มีการตัดถนนขึ้นกลางเมือง อันเป็น เส้นทางคมนาคมสายแรก พร้อมกับขนานนามว่า ถนนยมจินดา ชัยภูมิของเมือง จึงเปลี่ยนโฉมหน้ามาตั้งอยู่บนถนน และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถนนยมจินดาก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางเมือง ระยอง ที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนชุมชนบ้านไม้ ย่านการค้าที่มีทั้งตลาดสด โรงหนัง ธนาคาร รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งบ้านเจ้าเมืองระยอง ต้นตระกูลยมจินดา แต่ในปัจจุบันบรรยากาศคึกคักของถนนเส้นนี้ แทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว บ้านเรือนหลายหลังถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง หรือกลายเป็นบ้านเช่าชำรุดทรุดโทรม ตรงกันข้ามกับบริเวณรายล้อม ที่มีการเติบโตของเมือง มีการตัดถนนเส้นใหม่หลายสาย ตึกรามอาคารพาณิชย์ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด เกิดย่านการค้าแห่งใหม่ๆ หรือแม้ กระทั่งการรุกคืบเข้ามาของธุรกิจ จำพวกไฮเปอร์มาร์ต
ถนน ยมจินดาที่มีตำนานเล่าขานอย่างมากมาย และถือเป็นต้นกำเนิดประวัติศาสตร์เมืองระยองมายาวนาน คงเปรียบเสมือนผู้เฒ่าที่เหลือเพียงลมหายใจรวยริน หากในวันนี้ มิมีคนรุ่นใหม่ที่เห็นคุณค่าของชุมชนวัฒนธรรม และขะมักเขม้นทำงานในฐานะ “คณะทำงานอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่าระยอง” ด้วยการเข้ามา “ชุบชีวิต” ถนนยมจินดาให้ฟื้นคืนชีพ และกลับมามีเสน่ห์อีกครั้งหนึ่ง
ถนนยมจินดา ตลาดเก่าเมืองระยอง เชิญชมแหล่งการค้า และเศรษฐกิจแห่งแรกของเมืองระยอง ชวนชิมอาหารรสเลิศดั้งเดิม ชมบ้านโบราณที่น่าสนใจ
พอพูดถึงจังหวัดระยอง ผมมักจะนึกถึง "แม่รำพึง" หาดที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัด ทุกวันนี้แม้จะมีคนเดินไปเที่ยวหาดแม่รำพึงน้อยลง แต่เสน่ห์ของแม่รำพึงก็ยังคงมนต์ขลังอยู่มิเสื่อมคลาย และในฐานะที่เป็นคนชอบศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้ผมรำลึกถึง "แม่รำพึง" มากว่า "หาดทรายที่แสนสวย" ใน อดีตใกล้หาดแม่รำพึงแห่งนี้ ประวัติศาสตร์เมืองระยองบันทึกไว้ว่า หลังเจ้าเมืองระยองเข้าขบวนกู้ชาติ กองทัพพระเจ้าตากได้มาตั้งทัพค้างแรมเป็นเวลาหลายคืน นายทหารผู้หนึ่งของพระเจ้าตากได้ผู้หญิงระยองนาม "แม่รำพึง" เป็นเมีย ครั้นได้เวลาเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองจันท์ ขุนทหารผู้นั้นจำต้องจากภรรยาโดยที่หารู้ไม่ว่า นางกำลังตั้งครรภ์ เมื่อตีเมืองจันท์สำเร็จ กองทัพพระเจ้าตากก็กลับมาตั้งทัพที่ระยองอีกครั้ง ก่อนมุ่งหน้าไปตีกรุงศรีอยุธยากลับคืน และแล้ววันพรากก็มาถึง "แม่รำพึง" อุ้มท้องมาส่งสามีและขุนทหารทั้งหลาย ณ ชายหาดแห่งนั้น ความรำพันของแม่รำพึงมากล้น โดยไม่รู้ชะตาของสามีว่า จะได้กลับมาระยองอีกหรือไม่ ประวัติ ศาสตร์ของระยองช่วงนี้ ทำให้สืบสาวราวเรื่องต่อไปอีกว่า เมื่อก่อนระยองเป็นเพียงเมือง ๆ หนึ่งที่ขึ้นอยู่กับมณฑล "จันทร์บูรณ์" เป็นทางผ่านที่ไม่ค่อยมีความสำคัญอะไรมากนัก เล่าขานตำนาน "ยมจินดา" ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ได้ยกฐานะของเมืองระยองขึ้นเป็นจังหวัด มีอำเภอแกลง อำเภอเมือง และอำเภอบ้านค่ายอยู่ในปกครอง โดยมี "พระยาศรีสมุทรโภติไชยโชคชิตสงคราม (เกต ยมจินดา)" ซึ่งเป็นต้นตระกูล "ยมจินดา" เป็นเจ้าเมืองคนแรก นายทวน ขันหาญ อายุ 83 ปี คนเฒ่าคนแก่แห่งเมืองระยอง เล่าให้ฟังว่า ระยองในอดีตจะอาศัยแม่น้ำระยองเป็ฯเส้นทางคมนาคม สินค้าจำพวกของป่า หวาย จะล่องแพตามลำน้ำระยองจากอำเภอบ้านค่าย มาขึ้นท่าที่ถนนยมจินดา ซึ่งสมัยนั้นเป็นถนนดิน ผู้คนยังอาศัยอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่สร้างบ้านเป็นบ้านเดี่ยว แม่ น้ำระยองสมัยนั้น กว้าง และ ลึก ต่อมามีเรือสำเภาจากเกาะช้าง จันทบุรี เกาะหมาก เข้ามาเทียบท่าบริเวณสะพานไม้และตรอกโรงฝิ่นบริเวณหน้าอำเภอ ซึ่งเป็นท่าเรือ ทำให้ท่าเรือคึกคักขึ้น ทำให้มีการสร้างอู่ต่อเรือสำเภา ขนาด 15 วา ขึ้นหลายแห่ง มีโรงฝิ่นและมีตลาดที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตลาดล่าง" ตามมา ทำให้ถนนยมจินดามีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น ไม่ เพียงมีสินค้าจากต่างถิ่นเข้ามาเท่านั้น ในอดีตมีพ่อค้าจากกรุงเทพล่องสำเภา เข้ามารับซื้อสินค้าจากระยอง เช่น กะปิ อาหารทะเล เเละของป่า ไปขึ้นที่ท่าราชวรดิษฐ ในสมัยนั้น "แพเทียมเส็ง" เป็นที่รู้จักกันดีในกรุงเทพเพราะเป็นแพที่ขนถ่ายสินค้าที่ขนมาจากต่าง จังหวัด และเป็นช่วงที่คนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนถนนยมจินดามากขึ้น ลุงพะเยาว์ ศิริธรรม อายุ 77 ปี ผู้เฒ่าแห่งถนนยมจินดาอีกผู้หนึ่ง ย้อนอดีตให้ฟังว่า ตอนเด็ก ๆ จะชวนเพื่อน ๆ ไปกระโดดน้ำเล่นบริเวณสะพานไม้ ส่วนผู้หญิงก็จะนำผ้ามาซักริมแม่น้ำ พอล่วงเข้าหน้าเทศกาลออกพรรษา แม่น้ำระยองก็มีการแข่งเรือ มีการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด ทำให้ถนนยมจินดา และบริเวณตลาดเก่าคึกคักเป็นพิเศษ ลุง ชอบไปซื้อขนมที่ตลาดเก่า เพราะ ชาวบ้านหลายคนมีอาชีพทำขนมขายรสชาดอร่อยมาก ตอน สงครามโลกครั้งที่ 2 มีคนอพยพหนีสงครามจากกรุงเทพเข้ามาอาศัยอยู่ที่ถนนยมจินดามากขึ้น ทำให้มีการขยายชุมชนบนถนนยมจินดาจากชุมชนตลาดเก่าไปสู่ชุมชนสะพานราษฎร์ มีบ้านของพ่อค้าคหบดีเกิดขึ้นหลายหลังซึ่งเป็นบ้านที่สรางด้วยปูนหลังใหญ่ๆ บ้านที่หลังคามุงจากก็เปลี่ยนสภาพเป็นบ้านไม้ลวดลายสวยงามมากมาย ลุงทวน ขันหาญ ซึ่งเป็นทหารเรือ เล่าอีกว่า ในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ซึ่งช่วงนั้นกองทัพเรือ มีการเกณฑ์นักโทษ และชาวบ้าน มาสร้างถนนเส้นยุทธศาสตร์ จากสัตหีบ ผ่านระยองไปสุดปลายทางที่จังหวัดตราด ซึ่งในระยะต่อมาถนนเส้นนี้ คือ ถนนสุขุมวิท นั้นเอง การ เกิดของ ถนนสุขุมวิท ทำให้คนต่างจังหวัดเข้ามาอาศัยอยู่ในระยองมากขึ้น มีการขนส่งสินค้าทางบกมากขึ้น ในขณะที่แม่น้ำระยองเริ่มตื้นเขิน เพราะมีการสร้างสะพานเปี่ยมพงศ์ศานต์ข้ามเเม่น้ำไปสู่ปากน้ำระยอง ทำให้น้ำทะเลเข้าไม่ถึง เรือสำเภาเข้าไม่ได้ ผู้คนเริ่มไปสร้างบ้านอยู่ริมถนนสุขุมวิท และบริเวณใกล้เคียงมากขึ้น ก่อเกิดตลาดและแหล่งชุมชนแห่งใหม่ บริเวณถนนชุมพล เรียกว่า "ตลาดบน"มรดกยมจินดา ทุกวันนี้ "ยมจินดา" ที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต เป็นเพียงถนนสายเล็ก ๆ และแคบ สองข้างทางเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องที่เก่าแก่ บ้านไม้ที่ถึงแม้จะเก่าแก่ทรุดโทรม แต่เต็มไปด้วยศิลปกรรมที่หาดูได้ยากยิ่ง หลายหลังถูกปิดตาย เพราะ เจ้าของซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นหลังที่สืบทอดมรดกได้ย้ายไปอยู่ต่างถิ่น แต่มีอยู่หลายหลังที่ยังมีผู้คนอาศัยทำมาค้าขายอยู่ตราบจนปัจจุบัน ซึ่งบ้านทุกหลังจะต่อเติมไปจนติดริมแม่น้ำระยอง ยายมาลี วัย 80 ปีเศษ อาศัยอยู่บ้านไม้สองชั้น มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 มีอาชีพขายหนังสือแบบเรียน และขายหมอน ที่ถือว่าคุณภาพดีที่สุดในระยอง เพราะเป็นของทำด้วยมือ ยัดนุ่นแล้วเย็บกับมือ ล้วนทำเองทั้งสิ้น ทุกวันนี้ ยายมาลีอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้อย่างมีความสุข หน้าเทศกาลจะมีลูกหลานซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพ เดินทางมาเยี่ยม ทำให้บ้านที่เคยเงียบเหงาคึกคับขึ้นมาบ้าง นอก จากบ้านไม้แล้ว บ้านตึกที่รูปทรงแปลกตา ในอดีตเป็นบ้านของคหบดีที่เต็มไปด้วยอำนาจบารมี แต่ทุกวันนี้คงเหลือเพียงร่องรอยของความเก่าแก่ที่แฝงด้วยมนต์ขลังของ ศิลปกรรม ผม กวาดสายตามองหาร้านขนมอร่อย จากคำบอกเล่าในอดีตของผู้เฒ่า แต่ก็หาไม่เจอ กวาดสายตาไปริมแม่น้ำระยองก็พบกับสายน้ำที่แคบลง (ผมเคยมาระยองครั้งแรกปี 2522 แม่น้ำระยองกว้างและลึกกว่านี้มาก) น้ำตื้นเป็นสีขุ่น ไม่มีคนลงไปซักผ้า ไม่มีการแข่งเรือ ภาพเก่าเล่าขาน ถนนยมจินดา ณ บริเวณ ศาลเจ้าแม่ทับทิมในวันนั้น ภาพเก่า ๆ จำนวนมากที่บอกกล่าวถึงความเป็น "ยมจินดา" ในอดีต ถูกนำไปติดบอร์ด ผู้คนหลั่งไหลเข้าสู่ศาลเจ้าแม่ทับทิม คนแก่หลายคนมองดูรูปแล้วพูดคุยกันถึงอดีตกันอย่างออกรสชาด คนรุ่น 40 ปี ที่พอจะนึกอะไรออกบ้างก็เข้าไปผสมโรงพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ส่วนเด็ก ๆ 30 กว่าชีวิต ขมักเขม้นอยู่กับการวาดภาพ ยมจินดาที่พวกเขารู้จักและอยากจะให้เป็น นายสุรพงษ์ ภู่ณะพิบูลย์ นายกเทศบาลนครระยอง กล่าวท่ามกลางชาวยมจินดาหลายร้อยคนถึงความเป็นมาของโครงการว่างานครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างเทศบาล ชาวชุมชนสะพานราษฎร์ ตลาดเก่า และ โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ ในอันที่จะพัฒนาชุมชนย่านถนนยมจินดา ให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งว่า การนำภาพเก่ามาแสดงในวันนี้ จะทำให้คนรุ่นเก่ารำลึกประวัติศาสตร์ของตนเอง และคนรุ่นใหม่ได้รู้จักความเป็นมาของตนเอง ก่อน หน้านี้ ได้มีการพูดคุยกับชาวบ้านหลายครั้ง หลายคนเห็นว่า จะปรับปรุงถนนยมจินดา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทุกบ้านต้องปรับปรุงบ้านตัวเอง ทำศิลปะอันสวยงามของบ้านให้โดดเด่น บ้างก็ว่า ต้องทำเป็นถนนคนเดิน ปรับปรุงบ้าน ทางเดินเท้าให้เป็นระเบียบ ชาวบ้านต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งการทักทายขึ้นมา ในขณะที่ นักวิชาการ อย่างอาจารย์ ปิติ กุลศิโรรัตน์ แห่งประชาคมบางลำพู ที่ไปร่วมงานในวันนั้น ให้ข้อคิดเห็นว่า การฟื้นฟูศิลปกรรมโบราณ มิใช่ทำเพียงสนองค่านิยมอย่างนักสะสมของเก่า แต่ศิลปกรรมเหล่านี้ มันมีคุณค่าทางจิตใจ มันเป็นศักดิ์ศรี มีความสืบเนื่องทางอารยธรรม " ถ้าเรามีความคิดว่า ศิลปกรรม วัฒนธรรม ที่เราเห็นอยู่ หากต้องสูญเสียไปเเล้ว เหมือนกับขาดอะไรในชีวิตไปซักอย่างหนึ่ง" นั้นแหละคือ ภาระที่เราจะต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ มิใช่แปรบ้านเก่าให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ภาพเก่าเล่าขาน ถนนยมจินดา จึงเป็นภาพสะท้อนตัวตนคนระยองจึงเป็นสิ่งที่คนระยองจะต้องร่วมกันทำให้เกิดขึ้นเป็นจริง อย่างมีชีวิตจริง ผลที่จะเกิดขด้านการท่องเที่ยว คือ ประเด็นรอง และ ผลพลอย |