สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กาแฟ

ต้นกาแฟ
กาแฟ                 

      ลักษณะทางธรรมชาติ            
    * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ออกดอกติดผลปีละครั้งและยังไม่มีฮอร์โมนหรือสารสังเคราะห์ใดๆบังคับให้ออก นอกฤดูกาลได้                
    * เป็นพืชทรงพุ่มโปร่ง  ลำต้นขนาดเล็ก   เมื่อต้นอายุมากขึ้นจะแตกกิ่งยาวออกไปรอบทรงพุ่มจนดูเกะกะเก้งก้าง  ออกดอกติดผลจากตาที่อยู่ตามข้อใบทุกใบของกิ่ง  ดอกสีขาวกลิ่นหอมเหมือนมะลิป่า   เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนสีเปลือกจากเขียวเป็นเหลืองก่อน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นแดงเมื่อแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยว การที่กาแฟออกดอกดก มีกลิ่นหอม และติดผลดกกับทั้งสีของผลก็สวยนี้ อาจจะพิจารณาปลูกเป็นไม้ประดับประเภทยืนต้นได้เช่นกัน                
    * เป็นพืชเมืองร้อนสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ   สวนกาแฟที่มีพืชอื่นแซมแทรกจะเจริญเติบโตดีกว่าสวนที่ปลูกกาแฟเดี่ยวๆ เพราะธรรมชาติของกาแฟชอบความชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศค่อนข้าง สูงและสม่ำเสมอ               
    * อายุให้ผลผลิต 3 ปีหลังปลูก และให้ผลผลิตต่อเนื่องนาน 20-30 ปี
    * อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยว 9 เดือน  ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีอายุผลนานที่สุด 
    * ออกดอกติดผลได้ตลอดปีโดยไม่มีฤดูกาล  ถ้าบำรุงต้นได้สมบูรณ์ดีเต็มที่ต่อเนื่องนานหลายๆปี  เมื่อตัดแต่งกิ่งใดก็จะแทงยอดใหม่แล้วออกดอกติดผลได้ทันที               
    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิด จากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนจัดหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผล จะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว             

      สายพันธุ์               
      โรบัสต้า :
                   
      ชอบฝนชุก ปลูกได้ดีในเขตภาคใต้ที่มีฝนชุก  ช่วงที่โรบัสต้าเริ่มดอกบานแล้วมีฝนชุก  น้ำฝนจะทำให้เกสรชื้นแฉะจนไม่อาจผสมได้ทำให้ผลผลิตลดลง               
      อราบิก้า :                 
      ชอบอากาศหนาวเย็น พื้นที่เหนือระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง ต้องการความชุ่มชื้นในดินปานกลาง จึงเหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขาระบายน้ำได้ดี
      โรบัสต้ามีเนื้อ (เมล็ด) ขนาดเมล็ดใหญ่กว่าอราบิก้า ในขณะที่อราบิก้ามีขนาดเมล็ดเล็กกว่าแต่มีกลิ่นหอมแรงกว่า  ผู้จำหน่ายกาแฟจึงใช้ทั้งสองสายพันธุ์ผสมกันทำให้คุณภาพดีขึ้นจึงได้รับความ นิยมสูง                

      การขยายพันธุ์               
      เพาะเมล็ด :
                   
      เลือกผลสดแก่จัดคาต้นจนเป็นสีแดง  นำลงแช่น้ำเปล่า คัดผลลอยออกทิ้งเพราะเป็นผลไม่สมบูรณ์ขยำผลจมน้ำเอาเนื้อและเปลือกออกจน เหลือแต่เมล็ดใน  พยายามอย่าให้เมล็ดในช้ำหรือแตก  เสร็จแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง  แห้งแล้วนำลงแช่ในไคตินไคโตซานหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยนาน 12-24 ชม.  เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ดูดซับสารอาหารและให้จุลินทรีย์กำจัดเชื้อโรคที่ปน เปื้อนอยู่กับเมล็ดพันธุ์  จากนั้นจึงนำไปเพาะในกระบะเพาะตามปกติ                 
      ผลกาแฟเกิดจากดอกสมบูรณ์เพศ เมื่อนำเมล็ดไปขยายพันธุ์ต่อจึงมักไม่กลายพันธุ์แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไปเพราะ อาจจะมีเกสรตัวผู้ต่างสายพันธุ์จากต้นหรือแปลงข้างเคียงเข้าผสม เมื่อนำผล นั้นไปขยายพันธุ์จึงกลายพันธุ์ได้เช่นกัน                 
      เมล็ดกาแฟไม่มีระยะพักตัวจึงไม่ควรเก็บทิ้งไว้นาน  เกษตรกรนิยมเพาะเมล็ดเพราะทำได้ครั้งละมากๆ  และต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 3 ปีหลังปลูก
      ทาบกิ่ง. ติดตา. เปลี่ยนยอด.:                   
      ปฏิบัติเหมือนการขยายพันธุ์ไม้ผลทั่วๆไป  ต้นพันธุ์ที่ได้นอกจากจะตรงตามสาย พันธุ์เหนือกว่าการเพาะเมล็ดแล้วยังให้ผลผลิตเร็วกว่าอีกด้วย  แต่เป็นวิธีการที่ไม่ค่อยนิยมเพราะได้ครั้งละน้อยต้น ใช้ต้นพื้นเมืองหรือ พันธุ์ที่มีระบบรากแข็งแรงเป็นตอแล้วเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีก็จะช่วยให้ได้ ต้นที่ไม่กลายพันธุ์ สมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดี อายุต้นยืนนาน และระยะให้ผลผลิตนานยิ่งขึ้น
             
      ระยะปลูก             
    - แปลงปลูกพื้นราบ 2 X 2 ม.               
    - แปลงปลูกยกร่องแห้งลูกฟูก  2 X 4 ม.            

      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                 
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา...แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                 
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                   
      หมายเหตุ :                                           
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้น ตอน             
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้                  
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                           

      เตรียมต้น               
      ตัดแต่งกิ่ง :
            
    - ธรรมชาติการออกดอกติดผลของกาแฟนั้นสามารถออกได้ทั้งกิ่งชายพุ่มและกิ่งในทรง พุ่ม ทั้งนี้ทรงพุ่มต้องโปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วเข้าถึงภายในทรงพุ่ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะกิ่งในทรงพุ่ม  รวมไปถึงกิ่งกระโดงแตกใหม่  กิ่งคด  กิ่งงอ  กิ่งไขว้  กิ่งชี้ลง  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค               
    - ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก  ทำทรงพุ่มให้โปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงทุกกิ่ง  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดด น้อย
    - นิสัยการออกดอกของกาแฟไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมี ความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น                
      ตัดแต่งราก :                         
    - อายุต้นยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้ วิธีล่อรากโดยพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรียวัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก10-15 ซม. แล้วใส่อินทรีย์วัตถุ ให้ฮอร์โมนบำรุงราก ให้น้ำสม่ำเสมอ จากนั้นต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ ดีกว่าเดิม  

  

         ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อกาแฟ     

     1.เรียกใบอ่อน               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(400 กรัม)หรือ 25-5-5(400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร  250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                         
       ทางราก :               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
เดือน               
     - ให้น้ำเปล่า  ทุก 2-3 วัน                
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มปฏิบัติทันทีในวันรุ่งขึ้นหลังตัดแต่งกิ่ง                 
     - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม               
     - กาแฟต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย  ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ          

     2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่             
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 (400 กรัม)หรือ 0-39-39 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม +สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :           
       ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน            
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มให้เมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้               
     - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงประเภทปากกัดปากดูด
     - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหาร เพื่อการออกดอกได้อีกด้วย
        
    3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก              
      ทางใบ :                                 
    - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่                 
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - ให้ 8-24-24 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน               
    - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน            
      หมายเหตุ :               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด                
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้ เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน                

     4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช           
     - กรณีกาแฟไม่ต้องงดน้ำเหมือนไม้ผลทั่วๆไปแต่ยังคงให้น้ำตามปกติ
     - การทำให้ต้นอั้นตาดอกด้วยวิธีโน้มกิ่งให้ระนาบกับพื้นก่อน แล้วรูดใบแก่ออกประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนใบในกิ่งนั้น (เด็ดใบออกทิ้งใบเว้นใบ) เหลือใบยอดไว้ 2-3 คู่  จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอก  แล้วออกดอกได้ดีกว่าไม่ได้โน้มกิ่งเด็ดใบ           
     - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่ม อีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
             
     5.เปิดตาดอก           
       ทางใบ :               
       สูตร 1
.....ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  100
ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
       สูตร 2.....ให้น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.                   
       เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน  ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ            
       ทางราก :               
     - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.                
     - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน            
       หมายเหตุ :               
     - เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
     - เปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ  ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
     - เปิดตาดอกแล้วมีทั้งใบอ่อนและดอกออกมาพร้อมกัน ให้เปิดตาดอกด้วยสูตรเดิมซ้ำอีก  1-2 รอบ  นอกจากช่วยกดใบอ่อนที่ออกมาพร้อมกับดอกแล้วยังดึงช่อดอกที่ยังไม่ออกให้ออก มาได้อีกด้วย 

       
     6.บำรุงดอก              
       ทางใบ :               
       ให้น้ำ 00 ล. + 15-45-15(400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน                 
       ทางราก :               
     - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
       หมายเหตุ :                            
     - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม    แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อ ดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
     - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี               
     - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้นเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชจนถึงช่วงดอกบาน               
     - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ               
     - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด กรณีนี้แก้ไขด้วยกะระยะเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่า นั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆ แปลงปลูก......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอตั้งแต่ เริ่มต้นจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก                 
     - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
     - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตาม ความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ ได้               
     - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้               
     - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะทำให้มีผึ้งหรือแมลงธรรมชาติ อื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น                   

     8.บำรุงผลเล็ก              
       ทางใบ :                               
       ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 7-10 วัน
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :           
     - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
     - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น มูลค้างคาว)+ 25-7-7(½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม
3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน                 
       หมายเหตุ :           
       เริ่มเมื่อกลีบดอกเริ่มร่วงหรือเกสรผสมติดเป็นผลแล้ว       

     9.บำรุงผลกลาง             
       ทางใบ :                
     - ห้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 7-10 วัน
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้นมูลค้างคาว) + 8-24-24 สลับครั้งกับ 21-
7-14 หรือให้ 8-24-24 สองรอบแล้วให้ 21-7-14 หนึ่งรอบ (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม
3-5 ม./เดือน               
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มบำรุงเมื่อเมล็ดในเริ่มเข้าไคล               
     - ผลไม้ทั่วไปเมื่อถึงระยะผลเริ่มเข้าไคลให้บำรุงด้วยสูตร “หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ”  เพราะเป็นผลไม้บริโภคส่วนเนื้อแต่กรณีกาแฟจะต้องบำรุงด้วยสูตร  “สร้างเมล็ด-หยุดเนื้อ”  เพราะเป็นผลไม้บริโภคส่วนเมล็ด                
     - เนื่องจากอายุผลของกาแฟนานมาก ช่วงผลกลางต้องใช้เวลา 6-7 เดือน การบำรุงช่วงผลกลางแนะนำให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน/3 ครั้ง โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางนอกจากช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่แล้วยัง บำรุงให้เนื้อแน่นและน้ำหนักดีขึ้นอีกด้วย
     - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผล
กลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก  ช่วยบำรุงคุณภาพเมล็ดให้ใหญ่และคุณภาพ
ดีขึ้น
     - ให้กำมะถัน 1 รอบ แบ่งให้ตลอดระยะผลกลางหรือให้ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งกลิ่นให้จัดขึ้น
     - ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้น โดยละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่ม 3-4 เดือน/ครั้ง  จะช่วยบำรุงเมล็ดให้มีขนาดใหญ่และคุณภาพดีขึ้น                

    10.บำรุงผลแก่                    
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(400 ซีซี.)หรือ 0-21-74 (400 ซีซี.) สูตรใดสูตรหนึ่ง 400 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน                 
       ทางราก :               
     - ให้ 13-13-24  หรือ  8-24-24 (½-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                 
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มบำรุงก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน           
     - ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนตกชุก   แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบเพื่อป้องกันต้นสะสมไนโตรเจน (จากน้ำฝน) มากเกินไปซึ่งจะทำให้รสและกลิ่นไม่ดี
     - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะ ช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ  นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติ บำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย   

view