เก๋าลัด (ไทย)
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ขนาดพุ่มกว้าง สูงปานกลางและโปร่ง ดอกสีชมพูสวยกลิ่นหอมอ่อนๆ จึงเหมาะทั้งสำหรับปลูกเป็นไม้กินผลรับประทานและไม้ผลประดับสวน ในประเทศไทยมีปลูกกันมากมานานแล้วในเขต จ.น่าน จ.แพร่
* เก๋าลัดจีนใช้วิธีคั่วด้วยทราย แต่เก๋าลัดไทยใช้วิธีต้มให้สุกธรรมดาๆ
* เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดินร่วน เนื้อดินลึก อินทรียวัตถุมากๆ น้ำและอากาศถ่ายสะดวก ชอบความชื้นสูง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้าง ดินเหนียวจัด
* ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยแต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ
* เก๋าลัดไทยมีดอกสมบูรณ์เพศผสมกันเองได้ แต่เก๋าลัดจีนแยกต้นเป็นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นกระเทย และต้องอาศัยการผสมเกสรข้ามต้น
* เก๋าลัดในไทยออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น แต่เก๋าลัดจีนออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่นเท่านั้น
* ต้นที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดให้ให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 4-5 ปีหลังปลูก ส่วนต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนจะให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 2-3 ปีหลังปลูก และต้นที่ได้รับการเสริมรากก็จะให้ผลผลเร็วกว่าต้นกิ่งตอน
* ระบบรากไม่ค่อยแข็งแรง แก้ไขด้วยการเสียบยอดเก๋าลัดบนตอต้นก่อและเสริมรากด้วยรากก่อ จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีขึ้น
* ในแปลงปลูกเก๋าลัดไร้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมักจะมีเห็ดตะไคล หรือตะไคลหลังเขียว (รับประทานได้) เกิดขึ้นเสมอ และถ้านำหน้าดินบริเวณที่มีเห็ดตะไคลเคยเกิดขึ้นมาหว่านในเขตทรงพุ่มเก๋า ลัด เชื้อเห็ดที่นำมาหว่านนั้นสามารถเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดได้ และจะมีเห็ดเกิดขึ้นทุกปีเป็นประจำตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมยังเหมาะสม
สายพันธุ์
พันธุ์พื้นเมืองหรือเก๋าลัดไทย ปลูกง่าย โตเร็วและให้ผลผลิตเร็ว
พันธุ์วาวี-2 หรือเก๋าลัดจีน ปลูกกันมากที่ดอยวาวี
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์). ใช้เมล็ดแก่จัดร่วงจากต้นใหม่ๆแล้วนำลงเพาะทันที เพราะเมล็ดเก๋าลัดไม่มี ระยะพักตัว ต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ด ช่วง 1 ปีแรกจะโตเร็วมากเพราะได้รับสารอาหารและจุลินทรีย์ไมโครไรซ่าที่ติดมากับ เมล็ด เมื่ออาหารและจุลินทรีย์กลุ่มนี้หมดไปต้นจะโตช้ามาก แนวทางแก้ไข คือ ใส่อินทรีย์วัตถุหมักข้ามปีและเปลือกถั่วลิงสงซึ่งมีจุลินทรีย์ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. และไมโครไรซ่า.อยู่ด้วย ผสมดินปุ๋ยคอกแล้วหมักจนกว่าเปลือกถั่วลิสงเปื่อยยุ่ย รองก้นหลุมปลูก ก็จะช่วยอาการชะงักการเจริญเติบโตได้ จากนั้นให้ใส่เปลือกถั่วลิสงปีละครั้ง
- เสียบยอดบนตอต้นก่อ (ดีที่สุด). ตอน.
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 6 X 6 ม. หรือ 6 X 8 ม.
- ระยะชิด 4 X 4 ม. หรือ 4 X 3 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา..แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
- เก๋าลัดออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติด ผลเพื่อสร้างใบใหม่สำหรับให้ออกดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไป
- ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
- ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออกดอกติดผลในรุ่นปีต่อ ไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
- ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ ให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อน ยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
- นิสัยเก๋าลัดมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการ บำรุงต่อไปตามลำดับ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไป ก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง
ตัดแต่งราก :
- ระยะเก๋าลัดต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธี ล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรียวัตถุ 1 ส่วน
- ต้นที่อายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงเก๋าลัด
1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 46-0-0 (400 กรัม) หรือ 25-7-7 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบ 2 ด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การ เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการ ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก...........แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
- ไม่ควรตัดแต่งรากเพราะเก๋าลัดมีรากจำนวนน้อยอยู่แล้ว แต่ให้ใช้วิธีล่อรากแล้วบำรุงด้วยปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียด และฮอร์โมนบำรุงรากจะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี
- ก่อนตัดแต่งกิ่งให้บำรุงก่อนจนต้นเริ่มผลิตาใบก่อน แล้วจึงลงมือตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้ต้นแตกใบอ่อนชุดใหม่ดีกว่าตัดแต่งกิ่งแล้ว จึงลงมือบำรุง
- รักษาใบอ่อนแตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่
- เก๋าลัดต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (400 กรัม) หรือ 0-39-39 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแกมีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยบำรุงให้ใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสม อาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
- ขั้นตอนนี้มีความสำคัญต่อการออกดอกอย่างมาก กล่าวคือ เก๋าลัดต้องอาศัยอากาศหนาวเย็นเพื่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช.ก่อนการออกดอก ถ้าต้นสะสม ซี. และ เอ็น.ไม่มากพอ จะส่งผลให้ออกดอกน้อยหรือไม่ออกก็ได้
4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ
- ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกับรอบละ5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น
ทางราก
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่ม อีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้น (อั้นตาดอก) ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด
- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำ ใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
5. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1
ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ (ทำเอง) 100 ซีซี. +
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
สูตร 2
ให้น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับกัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- ถ้าอากาศหนาวเย็นไม่พอให้เปิดตาดอกด้วย “น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 100 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ก็อาจจะช่วยให้ดอกออกมาได้
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
6. บำรุงดอก
ทางใบ :
ให้ น้ำ 00 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ.100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก...มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตาม ความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- การไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลงเลยติดต่อกันมาเป็นเวลานานๆจะมีผึ้งหรือมีแมลง ธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น
7. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภารพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/
เดือน
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
8. บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/
เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล
- การบำรุงเก๋าลัดระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้างโคน ต้น ถ้าได้รับน้ำน้อยนอกจากจะทำให้เนื้อแข็งประด้าง ผลไม่โต และหากมีฝนตกหนักลงมาอาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้เหมือนกัน
- เริ่มลงมือบำรุงระยะผลขนาดกลางเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่ง
ให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก ช่วยบำรุงเมล็ดให้
ใหญ่และคุณภาพดีขึ้น
9. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (400 กรัม) หรือ 0-21-74 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- เลือกให้ทางใบสูตรใดสูตรหนึ่ง
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะ ช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย