ข้าวโพดหวาน
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ต้องการน้ำสม่ำเสมอเหมือนผักสวนครัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำ ทุก 2-3 วัน ซึ่งต่างจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการน้ำน้อยพอน้าดินชื้นเท่านั้น
* ดอกตัวผู้ของข้าวโพด เรียกว่า ดอกยอด อยู่ที่ปลายยอดของต้น ส่วนดอกตัวเมียเรียกว่า "ไหม" อยู่ที่ปลายฝักของแต่ละฝัก.......ดอกตัวผู้เกิดก่อนดอกตัวเมีย 7-10 วัน
* แช่เมล็ดพันธุ์ใน "โบรอน" เมื่อนำไปปลูกจะให้ "ดอกยอด" มากกว่าปกติ 2-3 เท่า
* จังหวะที่เกสรดอกตัวผู้พร้อมผสมมักตรงหรือใกล้เคียงกับเกสรตัวเมียของฝักแรก กับช่วงต้นๆของฝักที่ 2 เท่านั้น ครั้นดอกตัวเมียของฝักที่ 3 หรือ 4 ออกมาจึงไม่มีละอองเกสรตัวผู้เข้าผสม ทำให้ฝักที่ 3 หรือ 4 ไม่ติดเป็นฝัก
* แนวทางแก้ไข คือ หลังจากหยอดเมล็ดข้าวโพดรุ่นแรกไปแล้ว 10-15 วัน ให้หยอดเมล็ดรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 อีกรุ่นก็ได้ โดยให้แต่ละรุ่นห่างกัน 7-10 วัน ทั้งนี้เพื่ออาศัยเกสรตัวผู้ของต้นรุ่นหลังไปผสมด้วยมือให้แก่ฝักที่ 2-3-4 ของต้นรุ่นแรกนั่นเอง
ปลูกข้าวโพดรุ่น 2-3 เพื่อเอาเกสรตัวผู้นี้ ใช้วิธีปลูกแซมแทรกระหว่างต้นรุ่นแรก กระจายทั่วแปลงปลูกโดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่ออาศัยสายลมช่วยพัดละอองเกสรส่วนหนึ่ง กับช่วยผสมด้วยมืออีกส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ต้นรุ่น 2-3 ก็สามารถเอาฝักได้เพราะมี ฝัก + เกสรตัวเมีย เช่นกัน สำคัญแต่ว่าจะหาละอองเกสรตัวผู้จากที่ไหนมาช่วยผสมด้วยมือให้เท่านั้น
กรณีที่ไม่ได้ปลูกต้นข้าวโพดต่างรุ่นไว้ในแปลงปลูกของตนเอง ก็อาจจะขอแบ่งปันจากแปลงข้างเคียงก็ได้แต่ต้องเป็นข้าวโพดสายพันธุ์เดียวกันมาใช้ช่วยผสมด้วยมือแทนก็ได้
* ตรวจสอบลักษณะเกสรตัวผู้ที่พร้อมผสมโดยเคาะเบาๆใส่แผ่นกระดาษแล้วมีละอองเกสรร่วงลงมา และตรวจสอบลักษณะเกสรตัวเมียที่พร้อมผสมโดยสัมผัสเบาๆด้วยปลายนิ้วมือมือ ถ้าเป็นยางเหนียวติดปลายนิ้วแสดงว่าพร้อมผสมแล้ว
* วิธีช่วยผสมด้วยมือ ให้ตัดก้านดอกยอดเบาๆ นำไปป้ายเบาๆใส่ให้กับไหมที่ปลายฝัก 2-3 รอบ (เหมือนผสมเกสรสละ) หรือเคาะละอองเกสรตัวใส่กระบอกพลาสติกแห้งสะอาด ผสมกับแป้งทาตัวเด็ก อัตราส่วน 1: 1 แล้วใส่ในกระบอกฉีดพ่นเกสร (เครื่องมือละอองเกสรทุเรียน) นำไปฉีดพ่นใส่ไหมที่ปลายฝักก็ได้ ทั้งนี้ไหมของฝักใดได้รับละอองเกสรดอกยอดก็จะติดเป็นฝักสมบูรณ์และไม่เป็นข้าวโพดฟันหลอได้ทุกฝัก
* ข้าวโพดมีเมล็ดไม่เต็มฝัก เรียกว่า "ฟันหลอ" เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น เกสรตัวเมียกับเกสรตัวผู้ (ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย) ไม่สมบูรณ์แข็งแรงแล้วผสมกัน หรือเกสรตัวผู้หมดอายุ หรือสภาพอากาศไม่เหมาะสม (ร้อน/ชื้น) หรือขาดสารอหาร
* ธรรมชาติชาติข้าวโพดทุกสายพันธุ์ออก ฝัก + ดอก ได้ต้นละหลายๆฝัก ตราบเท่าที่ได้รับสารอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ก่อนฝักแรกจนถึงฝักสุดท้าย
* แปลงปลูกที่ผ่านการเตรีมดินมาอย่างดี ปฏิบัติต่อเนื่องมาหลายๆรุ่นปลูก กับต้นข้าวโพดที่ได้รับการบำรุงด้วยธาตุอาหารครบถ้วนสม่ำเสมอ เมื่อต้นนั้นโตขึ้นจะมีกิ่งแขนงงอกออกมาตามข้อ แต่ละกิ่งแขนงสามารถออกดอกแล้วติดเป็นฝักคุณภาพดีได้
* การจัดระยะปลูกห่าง ลมพัดผ่านเข้าไปในใจกลางแปลงได้ทั่วถึง ใบไม่เกยทับซ้อนกันและรับแสงแดดได้เต็มที่ จะได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพเหนือกว่าแปลงที่ปลูกชิดกันมาก
* ข้าวโพดหวานที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในพื้นที่หนึ่ง เมื่อนำไปปลูกในอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งภูมิอากาศค่อนข้างแตกต่างกัน คุณภาพผลผลิตมักจะแตกต่างกันด้วย ดังนั้น จึงควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่เกิดจาการผสมพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือแหล่งสร้างเมล็ดพันธุ์ที่มีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน
* เก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานช่วงเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นแล้วนำไปนึ่งทันทีจะได้รสชาติของข้าวโพดหวานดีมาก หากต้องการเก็บไว้นานหลังเก็บเกี่ยวเมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วควรเก็บในที่เย็น (ตู้เย็น) ซึ่งความหวานจะลดลงน้อยกว่าการเก็บในที่แจ้ง......ข้าวโพดหวานนึ่งให้รสชาติดีกว่าการต้ม
* เมื่อต้นโตได้ความสูงประมาณ 1 ม. หรือเริ่มมีรากเหนือพื้นดินงอกออกมาจากข้อเหนือพื้นดิน ให้ เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ระบบรากเหนือพื้นดินจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ดีมาก นอกจากนี้ยังทำให้ข้าวโพดต้นนั้นแตกยอกจากข้อแล้วพัฒนาเป็นกิ่ง ซึ่งกิ่งนี้สามารถออกฝักได้เหมือนลำต้นประธาน และเมิ่อบำรุงดี ฝักจากกิ่งนี้ก็จะเจริญพัฒนาเป็นฝักสมบูรณ์ได้เช่นกัน
สายพันธุ์
ข้าวเหนียว. ตักหงาย. แปดแถว. เทียน. ข้าวโพดหวาน. ข้าวเหนียวหวาน.
เตรียมดิน
1. เริ่มจากไถดินตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อกำจัดเชื้อโรคและวัชพืช ระหว่างตากแดดถ้ามีฝนตกต้องไถดินใหม่และเริ่มตากแดดใหม่
2. ใส่อินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดิน (ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. ปุ๋ยคอก. เศษพืชแห้ง.)
3. ไถด้วยโรตารี่คลุกอินทรีย์วัตถุกับเนื้อดินให้เข้ากันดี
4. คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆ
5. บ่มดินโดยรดด้วยน้ำจุลินทรีย์หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ทุก 15 วัน ติดต่อกันนาน 1-2 เดือน
เตรียมแปลง
- ยกร่องแห้งลูกฟูก สันร่องสูง 30-50 ซม.โค้งหลังเต่า กว้าง 1-1.20 ม. ร่องระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึกจากพื้นระดับ 25-30 ซม. ก้นสอบ
เตรียมเมล็ดพันธุ์
- เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารเคมีกำจัดโรคให้ล้างน้ำจนสารเคมีนั้นออกให้หมดก่อน ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบสารเคมีไว้ก่อนให้ดำเนินการได้เลย
- นำเมล็ดแช่ในน้ำเปล่า คัดทิ้งเมล็ดลอย เก็บไว้เฉพาะเมล็ดจม
- นำเมล็ดจมที่เลือกได้ลงแช่ใน น้ำ + โบรอน (10 PPM) นาน 6-12 ชม. นำขึ้นผึ่งลมจนแห้ง แล้วจึงนำไปหยอดในแปลงจริง เมื่อโตขึ้นจะมีเกสรตัวผู้เพิ่มขึ้น 100-200 %เหมาะสำหรับแปลงปลูกเพื่อสร้างเมล็ดพันธํ
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 75 X 75 ซม.
- ระยะชิด 50 X 75 ซม.
วิธีปลูก
- หยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด หลังจากต้นกล้าได้ 2-3 ใบ ถอนแยกต้นไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้ 1-2 ต้น การเหลือต้นสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น/1 หลุมให้พิจารณาระยะห่างจากต้นข้างเคียง ถ้ามีพื้นที่ว่างระหว่างต้นพอก็ให้ไว้ 2 ต้นได้
- รองก้นหลุมด้วย กากสะเดาแห้ง หรือใบสาบเสือแห้ง หรือใบยูคาแห้ง บดละเอียด หลุมละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับดินก้นหลุม เพื่อป้องกันแมลงกัดกันเมล็ดพันธุ์
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อข้าวโพด
(ทุกสายพันธุ์)
1. ระยะต้นเล็ก
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 อัตรา 100-200 กรัม/ต้น/20 วัน หว่านรอบโคนต้นแล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ย
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้หลังจากแตกใบอ่อนได้ 3-4 ใบ
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
2. ระยะสะสมตาดอก – บำรุงดอก
ทางใบ :
ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 100 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด
ทางราก :
ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 100-200 กรัม/ต้น/20 วัน หว่านรอบโคนต้นแล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ย
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุต้น 30 วัน หลังปลูก
- นิสัยข้าวโพดทุกสายพันธุ์ออกดอกเองได้เมื่ออายุต้นเจริญเติบโตครบกำหนดโดยไม่ต้องเปิดตาดอกโดยเฉพาะ
- การจัดช่วงเวลาให้ “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” สลับกับ “ฮอร์โมนไข่ + เอ็นเอเอ.” ทุก 5-7 วัน นอกจากจะทำให้ต้นเตี้ยแล้วยังทำให้ต้นได้สะสมตาดอกดียิ่งขึ้น ดังนั้น เมื่อให้สูตรนี้ 1 ครั้งจะทำให้มีฝักออกมา 1 ฝักเสมอ หรือถ้าให้ตลอด 1 เดือนก็จะทำให้ได้ข้าวโพด 3-4 ฝัก/ต้น
3. บำรุงฝักเล็ก – ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ไคโตซาน 10 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุ 2-3 วัน
ทางราก :
ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (100-200 กรัม)/ต้น/20 วันละลายน้ำแล้วรดโคนต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อเกสรฝักสุดท้ายได้รับการผสมแล้ว 5-7 วัน
- การใช้ปุ๋ยทางใบสำหรับไม้ผลสูตร บำรุงผล-ขยายขนาด กับข้าวโพดที่ขึ้นฝักแล้ว จะช่วยบำรุงให้ได้ฝักขนาดใหญ่ น้ำหนักดี
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 ครั้ง โดยแบ่งให้ตลอดระยะฝักเล็กถึงเก็บเกี่ยว จะช่วยบำรุงให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้ผลผลิตคุณภาพดี
- ก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน อาจจะพิจารณาให้ “น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบก็จะทำให้คุณภาพฝักดีขึ้น
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง