ขนุน
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ไม่ผลัดใบ เหมาะสำหรับเป็นไม้ผลเศรษฐกิจและไม้ร่มเงา เนื้อไม้จากต้นแก่เป็นเนื้อไม้ชั้นดี ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ต้องการความชื้นสูงทั้งความชื้นผิวหน้าดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ในสวนขนุนควรมีไม้ผลยืนต้นหลากหลายแซมแทรกสลับ มีพืชพุ่มเตี้ยอายุสั้นคลุมหน้าดิน การปลูกกล้วยเอารากกระจายทั่วแปลงจะช่วยให้ต้นขนุนสดชื่นอยู่ เสมอ
* เป็นผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่ที่สุดในบรรดาผลไม้ด้วยกัน ขนุนพันธุ์ทองนาทวีมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ครองแชมป์ผลไม้ยักษ์ ชนะเลิศการประกวดในงานเกษตรแห่งชาติด้วยน้ำหนักถึง 87 กิโลกรัม ปัจจุบันยังไม่มีผลไม้ใดแม้แต่ขนุนด้วยกันลบสถิตินี้ได้
* สายพันธุ์ดีที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว คือ ฟ้าถล่ม. ทองสุดใจ. และจำปากรอบ. ส่วนพันธุ์อื่นๆที่แม้จะไม่ได้รับการรับรองพันธุ์แต่ได้รับความนิยมทั้งจาก ผู้ปลูกและผู้บริโภค ได้แก่ เพชรราชา (ทะวาย). ศรีบรรจง (ทะวาย). ทองประเสริฐ (ทะวาย). แม่กิมไน้ (ทะวาย). แม่เนื้อหอม (ทะวาย). แม่น้อยทะวาย (ทะวาย). จำปาเมืองระยอง. เหลืองเมืองระยอง. เหลืองบางเตย (ทะวาย). เหลืองตานาก (ทะวาย).
เหลืองพิชัย (ทะวาย). ทองสมบัติ. เหรียญทอง (ทะวาย). เหรียญบาท. หนึ่งในพัน.
ทองส้ม (ทะวาย). เป็นต้น
* ข้อเสียของขนุนอย่างหนึ่ง คือ เมื่อช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตกลงมาจะทำให้คุณภาพผลเสีย รสจืดชืดหรืออมเปรี้ยว เมล็ดงอกในทำให้มีกลิ่นเหม็น แต่ขนุนพันธุ์ ทองสุดใจ กับพันธุ์ เหรียญบาท คุณภาพผลไม่เสีย ทุกลักษณะคงเป็นปกติเหมือนเดิม
* ตอบสนองต่อปุ๋ยซากสัตว์และยิบซั่มธรรมชาติดีมาก โดยปุ๋ยซากสัตว์สดจะช่วยให้ติดผลดก เนื้อหนา กลิ่นดี ซังน้อย คุณภาพดี ในขณะที่ยิบซั่มธรรมชาติช่วยให้สีจัด
* ไม่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซลและยาฆ่าหญ้า ถ้าได้รับสารพาโคลบิวทาโซลแม้แต่เพียงละอองปลิวมากับลมจะเกิดอาการใบเล็ก กิ่งลีบเป็นกิ่งหางหนู แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก (ทำสาว) พร้อมกับตัดปลายรากบริเวณชายพุ่ม จากนั้นบำรุงเรียกรากและเรียกใบอ่อนชุดใหม่ตาม ปกติ
นอกจากนี้สารโปแตสเซียม คลอเรต. โซเดียม ไนเตรท. ที่ใช้ในการบังคับลำไยก็ไม่สามารถนำมาใช้กับขนุนได้เช่น กัน
* ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีหรือฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ใดๆ บังคับให้ขนุนออกนอกฤดูกาลได้ ดังนั้นการบังคับขนุนให้ออกนอกฤดูกาลจึงต้องทำกับขนุนสายพันธุ์ทะวายเท่า นั้น
* มีความทนทานต่อท่วมขังค้างนานได้น้อยกว่ามะม่วง แก้ไขด้วยการเสริมรากให้มีรากแก้ว ซึ่งรากแก้วจะรอดพ้นจากน้ำท่วมขังค้างนานได้เพราะอยู่ลึกกว่าระดับน้ำที่ซึม ลงดิน จึงสามารถหาอาหารส่งไปเลี้ยงต้นระหว่างน้ำท่วมแทนรากฝอย ได้
* ดอกเรียกว่า ส่า เพราะเมื่อดอกแก่จัดมีกลิ่นเหมือนส่าเหล้า ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียแยกกันคนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน จำนวนดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย การผสมเกสรอาศัยลมและแมลงเป็นหลัก ถ้าช่วยผสมด้วยมือในช่วงเช้า (09.00-11.00 น.) โดยการนำดอกตัวผู้พร้อมผสมไปถูกสัมผัสเบาๆกับดอกตัวเมียที่พร้อมรับการผสม เหมือนกันก็จะช่วยให้การผสมติดเป็นผลดีขึ้น
ดอกตัวผู้มักอยู่ตามง่ามกิ่ง อยู่สูงกว่าดอกตัวเมีย ก้านดอกเล็กกว่าก้านดอกดอกตัวเมีย มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 4 กลีบแต่ไม่มีกลีบดอก เมื่อเกสรตัวผู้ได้ผสมกับเกสรตัวเมียแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำร่วงหล่นไป เอง
ดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายหนามเป็นกระจุก แต่ละดอกมีรังไข่เดียว มีกลีบเลี้ยงเท่ากับดอกตัวผู้ เกสรตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะไม่เปลี่ยนสีแต่ติดเป็นผล
* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว หรือผลแป้ว
* อายุผลตั้งแต่ดอกผสมติดหรือดอกเริ่มโรยถึงเก็บเกี่ยวได้ พันธุ์เบาอายุ 100-120 วัน พันธุ์หนักอายุ 160-180 วัน...........ขนุนที่ออกดอกในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ควรตัดดอกทิ้งเพราะเป็นขนุนปี ราคาไม่ดี จากนั้นให้เริ่มบำรุงใหม่ อีกประมาณ 3-4 เดือน จะมีดอกชุดใหม่ออกมาเป็นขนุนนอกฤดู
การไว้ดอกและเลี้ยงผลต้องรู้ให้แน่ว่าขนุนสายพันธุ์ที่ปลูกนั้นมี อายุผลนานเท่าใด ช่วงผลแก่ตรงกับหน้าฝนหรือไม่ ถ้าผลแก่ตรงกับหน้าแล้งให้เลี้ยงไว้แต่ถ้าผลแก่แล้วตรงกับหน้าฝนก็ไม่ควร เลี้ยงให้เด็ดทิ้งตั้งแต่ยังเป็นดอก
* ผลติดเป็นพวงตั้งแต่ 2 ผลขึ้นไป ให้พิจารณาขั้วและปริมาณผลใกล้เคียง ถ้าขั้วผลของทั้งสองผลตรง สมบูรณ์ แข็งแรงดี มีผลใกล้เคียงน้อยให้บำรุงเลี้ยงไว้ทั้งสองผล แต่หากขั้วผลคดและมีผลใกล้เคียงจำนวนมาก ให้ตัดผลขั้วคดทิ้งเหลือไว้เฉพาะผลขั้วตรง ทั้งนี้ขั้วคดมักลำเลียงน้ำเลี้ยงไปบำรุงผลไม่ดี
คุณลักษณะของขนุนพันธุ์ดี
1. ลำต้นทรงเปล้าสูงตรงหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 80-100 ซม.ขึ้นไป ลำต้นแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงดี
2. ใบใหญ่หนาเขียวเข้ม เส้นใบใหญ่นูนชัดเจน
3. การผสมเกสรดี ติดผลดก ให้ผลทะวายปีละ 2 รุ่น หรือทยอยออกเป็นหลายรุ่น
4. รูปทรงผลกลมยาว โดยเส้นผ่าศูนย์กลางความกว้างเท่ากับ 3 ใน 4 ของความสูง ผิวเรียบหรือแป้วน้อยที่สุด
5. น้ำหนักผลไม่น้อยกว่า 10 กก. และให้เนื้อไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมทั้งผล
6. ขั้วผลขนาดเล็กตรงแข็งแรง แกนหรือไส้ในเล็กยาวเรียวสม่ำเสมอ ฐานผลตั้งฉากกับขั้ว
7. หนามห่างยกสูงจากผิวและเปลือกบาง
8. ยวงใหญ่ยาว เนื้อหนา มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งผล สีเหลืองเข้มถึงสีจำปา เนื้อแห้งหวานกรอบ กลิ่นหอมจัด เนื้อที่แกะออกมาแล้วเก็บในตู้เย็นอยู่ได้นานโดยเนื้อไม่เละ แฉะ
9. ปลายยวงทั้งด้านเปลือกและด้านแกนตั้งฉาก ตรงไม่คดงอหรือพับ เนื้อบริเวณสัมผัสเปลือกหรือแกนมีขนาดเล็ก
10. เนื้อมาก ซังน้อย ซังหวานรับประมานได้ เมล็ดเล็กลีบ
11. ช่วงแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนชุก รสชาติต้องไม่เปลี่ยนแปลงและเมล็ดไม่งอกใน
เทคนิคการเลือกสายพันธุ์ขนุน
1. มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในวงการผู้ปลูกไม้ผล
2. มีประวัติเคยชนะเลิศการประกวด
3. พิสูจน์ลักษณะและคุณภาพผลจากต้นแม่โดยตรง
เทคนิคการเลือกต้นกล้าพันธุ์
1. เป็นต้นกล้ากิ่งทาบ เพราะจะได้ต้นที่ระบบรากแข็งแรงดีกว่าต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตอน
2. เป็นต้นกล้าขยายพันธุ์มาจากกิ่งกระโดง ลักษณะกิ่งหรือลำต้นสูงตรงตั้งฉากกับพื้น ช่วงระหว่างข้อหรือปล้องยาว เปลือกหนาติดแกะยาก (ไม่ล่อน) อายุกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ สีเปลือกยังอ่อนสีเขียวสดหรือเริ่มมีลายงาเล็กน้อย อวบอ้วนสมบูรณ์ ใบล่างสุดใหญ่ หนา เขียวเข้ม เป็นมันวาวสดใส ซึ่งเมื่อนำไปปลูกแล้วโตเร็ว ทรงพุ่มสวย อายุยืน ระยะเวลาการให้ผลผลิตสั้นและคุณภาพผลผลิตตรงตามสาย พันธุ์
3. ต้นกล้าพันธุ์ที่เป็นกิ่งแก่ คดงอ ข้อหรือปล้องสั้น เปลือกหนา แกะง่ายหรือล่อน เปลือกสีน้ำตาลแก่หรือเทาอมดำ แสดงว่าเป็นต้นกล้าที่ขยายพันธุ์มาจากกิ่งข้างชี้ลง เมื่อนำไปปลูกจะโตช้าแต่ให้ผลผลิตเร็วกว่ากิ่งกระโดง ทั้งๆที่เป็นขยายพันธุ์ออกมาจากต้นแม่เดียวกัน......ต้นกล้าที่ขยายพันธุ์ จากกิ่งข้างเมื่อโตแล้วจะมีทรงพุ่มไม่สวยเหมือนต้นกล้าที่ขยายพันธุ์จากกิ่ง กระโดง......ต้นกล้าทั้งที่ขยายพันธุ์มาจากกิ่งกระโดงและกิ่งข้างต่างให้ผล ผลิตตรงตามสายพันธุ์เหมือนๆกัน
* ปลูกขนุนเพื่อบริโภคในบ้าน ถ้าขนุนสุก 1 ผล น้ำหนักทั้งผล 20 กก. (สมมุติ) จะมีเนื้อประมาณ 10 กก. (50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักทั้งผล) เนื้อขนุนสุก 10 กก.คงไม่มีบ้านใดเพียงบ้านเดียวรับประทานได้หมด แนะนำให้ปลูกขนุนพันธุ์ ทะวายปีเดียว น้ำหนักทั้งผล 6-7กก.จะได้เนื้อประมาณ 3-4 กก.ซึ่งพอดีสำหรับรับประทานในบ้าน นอกจากนี้ขนุนทะวายปีเดียวยังมีคุณสมบัติเป็นทะวายออกดอกติดผลตลอดปี ให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 1-1 ปีครึ่ง ผลขนาดเล็กแต่ดก เนื้อเหลืองเข้ม หนา ซังหวาน เปลือกบาง ผลแป้วน้อย และปลูกง่ายโตเร็วอีกด้วย
* ธรรมชาติของขนุนออกดอกติดผลจากลำต้นหรือใต้ท้องกิ่งใหญ่แก่อายุหลายๆปี ดังนั้นการเลือกต้นกล้าพันธุ์ที่มีส่วนเปล้าหรือลำต้นสูงๆมาปลูก หลังจากนำลงปลูกในแปลงจริงแล้วต้องเร่งบำรุงให้เปล้าหรือลำต้นพุ่งสูงขึ้นไป อีก ทั้งนี้ให้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า เมื่อต้นโตขึ้นถึงอายุให้ผลผลิตแล้วกิ่งง่ามแรกจะต้องสูงจากพื้นระดับไม่ น้อยกว่า 80-100 ซม.
* เมื่ออายุต้นใกล้ให้ผลผลิตแล้ว ให้พิจารณาตำแหน่งของกิ่งทั้งหมดว่า ในอนาคตเมื่อต้นโตเต็มที่หรือให้ผลผลิตแล้ว กิ่งไหนจะบังแสงแดดกิ่งอื่นบ้าง โดยให้ต้นมีกิ่งสำหรับออกดอกติดผลจำนวนเพียง 5-6 กิ่งต่อความสูงต้น 5 ม.เท่านั้น ช่วงที่ต้นยังไม่ให้ผลผลิตหรือใกล้ให้ผลผลิตแล้วนี้ควรเลือกตัดกิ่งที่ไม่ เหมาะสมออกทิ้งไปโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นกิ่งขนาดเล็กหรือใหญ่ แม้ต้องตัดกิ่งขนาดใหญ่ทิ้งแต่เมื่อต้นมีน้ำเลี้ยงมากๆ (เพราะไม่ต้องส่งไปเลี้ยงกิ่งใหญ่แล้ว) กิ่งขนาดเล็กที่เหลือจะโตเร็วเป็นกิ่งขนาดใหญ่ขึ้นมาแทนเอง ทั้งนี้ กิ่งที่เหลือเก็บไว้ให้เป็นกิ่งสำหรับให้ออกดอกติดผลผลนั้นต้องชี้ออกรอบทิศ ทางทุกด้านเท่าๆกัน หรือเป็นกิ่งที่ออกจากลำต้นประธานสม่ำเสมอกัน และระหว่างกิ่งบนกับกิ่งล่างต้องไม่ซ้อนกันจนบังแสงแดดซึ่งกันและ กัน
* ต้นขนุนที่ออกดอกติดผลจากใต้ท้องกิ่ง เมื่อต้นโตเต็มที่หรือให้ผลผลิต 3-5 รุ่นแล้ว ถ้ากิ่งที่เคยออกดอกติดผลนั้นทำมุมแคบกับลำต้น (ชี้เฉียงขึ้น) ให้ดัดกิ่งโดยใช้ถุงทรายหรือก้อนหินผูกกับกิ่งเพื่อค่อยๆโน้มกิ่งนั้นให้ โน้มลงระนาบกับพื้น ซึ่งจะส่งผลให้การออกดอกติดผลดีขึ้น กิ่งแก่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 นิ้วอาจต้องใช้เวลาดัดกิ่งด้วยการถ่วงน้ำหนักนานข้ามปี.......ส่วนต้นที่ออก ดอกติดผลตามลำต้น ถ้าไม่โน้มกิ่งลงให้โน้มระนาบกับพื้นก็จะยังคงออกดอกติดผลตามลำต้นต่อไป ครั้นเมื่อได้โน้มกิ่งลงให้ระนาบกับพื้นก็จะเปลี่ยนมาเป็นออกดอกติดผลจาก ท้องกิ่งได้ ซึ่งเท่ากับว่าขนุนต้นนั้นออกดอกติดผลได้ทั้งที่ลำต้นและท้องกิ่ง........ สายพันธุ์ที่เมื่อต้นโตขึ้นแล้วจะโน้มกิ่งลงระนาบกับพื้นเองตามธรรมชาติ คือ แม่น้อยทะวาย ซึ่งมีนิสัยออกดอกติดผลที่ท้องกิ่งแล้วน้ำหนักผลเป็นตัวถ่วงให้กิ่งโน้มลง ระนาบกับพื้นเอง
* ขนุนอายุต้น 2 ปียังไม่ให้ผลผลิต ให้ใช้เชือกผูกกิ่งแล้วค่อยๆโน้มลงทุก 3-4 เดือน เมื่อขนุนต้นนั้นโตขึ้นจะมีกิ่งโน้มลงระนาบกับพื้น เอง
ลักษณะผลแก่จัด
1. หนามห่าง ปลายทู่ ร่องระหว่างหนามห่าง
2. ผลที่เปลือกเขียวหรือเขียวอมเหลือง สีเปลือกจะเปลี่ยนเป็นเหลืองเข้ม
3. ใบเลี้ยงที่ติดอยู่กับขั้วผลซีดเหลือง
4. น้ำยางจากขั้วผลจางใส
5. เคาะผลฟังเสียงหลวม
* อายุต้นเริ่มให้ผลผลิตได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ กล่าวคือ บางสายพันธุ์เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้นเพียง 1 ปีหลังปลูก ในขณะที่บางสายพันธุ์เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-5 ปีหลังปลูก
อายุต้นขนุนกับการไว้จำนวนผล
- อายุต้น 3-5 ปี ไว้ผล 5-7 ผล/ต้น/ปี หรือ/รุ่น
- อายุต้น 5-10 ปี ไว้ผล 20-25 ผล/ต้น/ปี หรือ/รุ่น
- อายุต้น 15-20 ปี ไว้ผล 30-40 ผล/ต้น/ปี หรือ/รุ่น
- อายุต้น 20 ปีขึ้นไป ไว้ผล 40-50 ผล/ต้น/ปี หรือ/รุ่น
* ขนุนออกดอกช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย.พร้อมกันแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน เม.ย.เป็นขนุนพันธุ์เบา คุณภาพดีและขายได้ราคาดี ส่วนที่แก่เก็บเกี่ยวได้ในเดือน มิ.ย.เป็นขนุนพันธุ์หนัก ขนุนชุดนี้เป็นขนุนปีหรือขนุนในฤดูมักมีปริมาณออกสู่ตลาดมาก กอร์ปกับออกตรงกับช่วงหน้าฝนด้วยคุณภาพมักไม่ดีจึงจำหน่ายไม่ได้ ราคา
* ขนุนออกออกดอกช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. แล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน พ.ย.เป็นขนุน
พันธุ์เบา ส่วนที่แก่เก็บเกี่ยวได้ในเดือน ธ.ค.เป็นขนุนพันธุ์หนัก ขนุนชุดนี้เป็นขนุนนอกฤดู มี
ปริมาณออกสู่ตลาดน้อย ผลแก่จัดตรงกับช่วงฝนแล้ง คุณภาพจึงดี ส่งผลให้ได้ราคาดีไป
ด้วย
* ขนุนทะวาย คือ ขนุนที่ออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น หรือทยอยออกจนไม่เป็นรุ่นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ส่วนขนุนปีเป็นขนุนที่ออกดอกติดผลเพียงปีละ 1 รุ่นแม้จะได้บำรุงอย่างดีแล้วก็ตาม
หมายเหตุ :
ผู้บริโภคมักไม่สนใจว่าเป็นขนุนสายพันธุ์ใด ถ้าเห็นว่าคุณภาพดีตามต้องการก็จะซื้อทันที นั่นคือ ผู้ปลูกจะต้องรู้ถึงวิธีการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้อง เพราะขนุนทุกสายพันธุ์ตอบสนองดีมากต่อปุ๋ยและฮอร์โมนซึ่งจะส่งผลให้ได้ คุณภาพดีเอง
* ขนุนละมุดเป็นขนุนอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ชาวสวนไม่นิยมปลูกเพราะเมื่อสุกจัด เนื้อเละเปียกแฉะ ไม่น่ารับประทาน แม้ว่าจะมีกลิ่นหอมรสหวานจัดก็ตาม..........ขนุนละมุดต้องรับประทานช่วงที่ ผลเริ่มสุก (ห่าม) ซึ่งนอกจากเนื้อไม่เละเปียกแฉะแล้วยังหวานมันและกรอบดีอีกด้วย
* ขนุนใบแฉกเมื่อโตแล้วจะไม่ออกดอกติดผล
การขยายพันธุ์
ตอน. ทาบกิ่ง . เสียบยอด. เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์). เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด).
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 8 X 8 ม. หรือ 8 X 10 ม.
- ระยะชิด 4 X 4 ม. หรือ 6 X 6 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อรา ได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
ขนุนออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งขนาดใหญ่ บางสายพันธุ์ออกติดผลตามลำต้นส่วนที่อยู่สูงจากพื้นมากๆ บางสายพันธุ์ออกดอกติดผลตามลำต้นสูงจากพื้นไม่มากหรือกองดินเลยก็มี บางสายพันธุ์ออกดอกติดผลเฉพาะตามท้องกิ่งโดยไม่ออกตามลำต้น แต่บางสายพันธุ์ออกดอกติดผลได้ทั้งที่ลำต้นและท้อง กิ่ง
ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด หรือออกดอกติดผลที่ส่วนใดของต้นก็ตาม ไม่ควรมีกิ่งขนาดเล็กภายในทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแล้วเรียกใบชุดใหม่เฉพาะปลายกิ่งเท่านั้น ช่วงตัดแต่งกิ่งควรตัดให้เหลือใบประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การออกดอกติดผลดี
ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้น ได้
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสง แดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
- นิสัยการออกดอกของขนุนไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อ ไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วง อื่น
ตัดแต่งราก :
- ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่มีประสิทธิภาพ ในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมี ประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อขนุน
1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
ให้น้ำ 100 ล. + 46-0-0 (400 กรัม) หรือ 25-5-5 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้ น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- การบำรุงต่อขนุนปี (ออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น) ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด
- ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วควรเร่งให้เป็นใบแก่เร็วๆ และต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบให้ดี เพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายก็ต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีก ด้วย
- เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนา มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การ เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการ ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ ได้
- ขนุนต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเริ่มๆเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุดที่ 2 ต่อได้เลย ใบชุดที่ 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็ไม่ควรออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 เริ่มเพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (400 กรัม) หรือ 0-39-39 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสม อาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย
3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุด 2 เพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้ เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบ 2ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
- ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกดอก ควรเน้นสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล หรือ ซี.(คาร์บอน-คาร์โบไฮเดรท) และสารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น หรือ เอ็น. (ไนโตรเจน) ให้มากที่สุดทั้ง 2 อย่างเท่าที่จะมากได้
- ถ้าสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยให้งดน้ำหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช. เช่น ฝนตกชุกหรือยังไม่ถึงกำหนดทำให้ออกดอกแล้วเป็นผลรุ่นใหญ่ทั้งต้นที่เก็บ เกี่ยวได้ตรงกับช่วงที่ตลาดต้องการก็ให้บำรุงต้นด้วยสูตร “กดใบอ่อน-สะสมอาหาร” ต่อไปอีก
- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุด เดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่น กันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้น จึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่น เอง
4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดี
- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช นั้นจะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. จะได้ผลสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากขึ้นส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้นก่อนเปิดตาดอกสังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบ อ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด
- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้นอย่าให้โชกจนลงถึงพื้นเพราะจะ กลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำ ใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่อง แห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ซึ่งอาจจะส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยกะระยะเวลาให้หน้าดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี
6. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1......ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
สูตร 2..... ให้น้ำ 100 ล. +13-0-46 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- ให้ 8-24-24 โดยละลายน้ำราดโคนต้นจะได้เร็วกว่าการหว่านแล้วตามด้วย
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
6. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + แคลเซียม โบรอน. 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม
- ให้ 8-24-24 (½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกันแต่คนละดอก บางสายพันธุ์ผสมกันเองแล้วติดเป็นผลดีแต่บางสายพันธุ์ผสมกันเองแล้วติดผลไม่ ดีนัก ก็ให้ช่วยผสมเกสรด้วยมือมือโดยนำช่อดอกตัวผู้พร้อมผสมสายพันธุ์เดียวกันหรือ ต่างสายพันธุ์จากต่างต้นมาเคาะเบาๆ ใส่ช่อดอกตัวเมียพร้อมรับผสมของต้นที่ต้องการให้ติดผล ช่วงเช้า (08.30-12.00 น.) จะช่วยให้การติดเป็นผลดีขึ้น
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดได้เช่น กัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆ แปลงปลูก..........มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะ ช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตาม ความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น
7. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการให้เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน
- คลุมโคนต้นหนาๆด้วยเศษพืชแห้ง
หมายเหตุ :
- การให้น้ำต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณเพื่อให้ต้นปรับตัวทันจนกระทั่งถึงอัตราปกติ
- ระยะผลเล็ก ถ้าถูกแมลงปากกัด/ปากดูด (เพลี้ย ไร) เข้าทำลายจะทำให้รูปทรงผลและคุณภาพภายในผลเสียไปจนกระทั่งเป็นผล ใหญ่
- พิจารณาตำแหน่งติดผลแล้วตัดแต่งช่อผลโดยเลือกผลตัดทิ้งหรือคงไว้
8. บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + ไคโตซาน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1/2 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยผลจะแคระแกร็น หากมีฝนตกหนักลงมากระทันหันอาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้
- ให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ฮอร์โมนไข่ 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยให้ต้นเขียวสดอยู่เสมอ
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผล มาก
9. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ช่วงหน้าแล้ง :
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (400 กรัม) หรือ 0-0-50 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือน้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้น
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำจนเก็บเกี่ยว
หมายเหตุ :
- การให้ปุ๋ยเร่งหวาน (0-21-74 หรือ 0-0-50) ทางใบช่วงฝนแล้งจะทำให้มีรสหวานจัดขึ้นไปอีก จนเรียกได้ว่า “หวานทะลุองศาบริกซ์”
- การให้ “มูลค้างคาวสกัด” ในอัตราเข้มข้นเกินไปอาจทำให้ผลแตกได้ ดังนั้น ช่วงบำรุงผลขนาดกลางจะต้องสร้างเปลือกให้หนาไว้ก่อนด้วยปุ๋ยทางรากสูตร 21-7-14 ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาปุ๋ยแรงจนผลแตกได้
- หากต้องการให้รสหวานพอดีๆ หรือแน่ใจว่าบำรุงเร่งหวานทางรากดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งหวานด้วยปุ๋ยทางใบอีกก็ได้ ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
- ขนุนที่ให้ผลผลิตเป็นรุ่นเดียวทั้งต้น (อายุผลเท่ากันทุกผล) ถ้าให้ 13-13-21 ต้นจะโทรมจนเห็นได้ชัดเจน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์ กลับคืนมาทันที เพื่อเตรียมการบำรุงสร้างผลผลิตรุ่นต่อไป แต่ถ้าให้ทางรากด้วย 8-24-24 คู่กับให้ทางใบด้วย 0-21-74 ต้นจะไม่โทรม
- ในต้นที่มีผลหลายรุ่น (ผลไหนแก่ก่อนเก็บก่อน-ผลไหนแก่ทีหลังเก็บทีหลัง) แนะนำให้ทางรากด้วย 8-24-24 คู่กับทางใบ 0-21-74 ระหว่างนี้ผลแก่จะหวาน ในขณะที่ผลรองลงมาจะชะงักการเจริญเติบโตแต่ไม่มีปัญหาเพราะหลังจากเก็บ เกี่ยวผลแก่ไปแล้วให้กลับมาบำรุงผลที่เหลือต่อไปตามปกติ
ช่วงหน้าฝน :
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. หรือ 0-21-74 (400 กรัม)หรือ 0-0-50 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกลงถึงพื้นเพราะกระทบกระเทือนต่อการงดน้ำ
- ให้สารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- งดการให้น้ำเด็ดขาดพร้อมกับควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นโดยทำช่องทางระบายน้ำฝนที่ตกลงมาให้ได้
หมายเหตุ :
- ในน้ำฝนและน้ำที่รดมีไนโตรเจน ส่งผลกระทบต่อผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวอย่างมาก กล่าวคือ ทำให้แก่ช้าหรืออายุเก็บเกี่ยวต้องยืดออกไป. รสชาติไม่หวานหรืออมเปรี้ยว. กลิ่นเนื้อในยวงเหม็น. เมล็ดงอก. ผลแตก. ผลร่วง. เปลือกหนา. ซังเหนียว. เนื้อเหนียวและเสี้ยนมาก.
- การปรับปรุงคุณภาพผลช่วงแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วตรงกับช่วงที่มีฝนชุกเป็น สิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังนั้นทุกครั้งก่อนเปิดตาดอกจะต้องคำนวณวันที่ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่ควรให้ ตรงกับช่วงฝนชุก และเตรียมมาตรการควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นให้ดีก่อนเสมอ
- การเลือกสายพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบในเรื่องของคุณภาพผลเมื่อผลแก่จัดใกล้เก็บ เกี่ยวแล้วมีฝนชุก เช่น ทองสุดใจ. เหรียญทอง. หรือเลือกปลูกขนุนสายพันธุ์ทะวายแล้วควบคุมการปฏิบัติบำรุงให้ผลแก่ไม่ตรง กับช่วงฝนชุก ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด
- หลังจากหมดฝนแน่นอนแล้วให้บำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” แบบเดิมต่อไปอย่างน้อย 15-20 วัน จากนั้นตรวจสอบด้วยการสุ่มเก็บมาผ่าดูภายในซึ่งก็จะรู้ว่าสมควรเก็บเกี่ยว ได้แล้วหรือยัง
วิธีทำขนุนนอกฤดู :
- ราคาดีในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. เนื่องจากมีผลไม้ยอดนิยมออกสู่ตลาดน้อย
- ขนุนเป็นไม้ผลที่ไม่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซลหรือสารบังคับใดๆให้ออกนอก ฤดูทั้งสิ้น นอกจากไม่ตอบสนองแล้วยังเป็นอันตรายต่อต้นจนถึงตายได้อีกด้วย ดังนั้นการทำขนุนให้ออกนอกฤดูกาลจึงต้องทำจากขนุนสายพันธุ์ทะวายเท่า นั้น แม้แต่ขนุนทะวายสายพันธุ์เดียวกันแต่เป็นคนละต้น ยังมีนิสัยออกดอกติดผลไม่พร้อมกันหรือไม่เหมือนกันอีกด้วย แต่นิสัยที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือออกดอกปีละ 2 รุ่นหรือมากกว่าเสมอ ดังนั้น เมื่อจะทำขนุนให้ออกนอกฤดูก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับนิสัยการออกดอกของขนุนต้น ที่ปลูกให้ละเอียดลึกซึ้งถึงขนาดรู้ว่าต้นไหนออกดอกเดือนไหนของปีบ้าง ซึ่งอาจต้องมีการจดบันทึกไว้เพื่อป้องกันความผิดพลาดเรื่องการกะเก็งระยะ เวลา และเมื่อรู้แน่แล้วว่าดอกแต่ละชุดซึ่งเป็นดอกนอกฤดูจะออกเมื่อใดก็ให้เริ่ม บำรุงตามขั้นตอนดังนี้
- ขนุนสายพันธุ์ทะวายต้นนั้นมีนิสัยออกดอกปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นใดรุ่นหนึ่งตรงกับขนุนปีแล้วอีกรุ่นหนึ่งจะไม่ตรงกับขนุนปี ดอกรุ่นที่ออกมาตรงกับขนุนปีให้เด็ดทิ้งทั้งหมด จากนั้นให้เริ่มลงมือบำรุงตามขั้นตอนตั้งแต่ เรียกใบอ่อน – สะสมอาหารเพื่อการออกดอก - ปรับ ซี/เอ็น เรโช. - และเปิดตาดอก ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงจะมีดอกออกมาให้เห็น ทั้งนี้ขนุนสายพันธุ์ทะวายมักออกดอกติดผลง่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้วกับยิ่งถ้า ได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องติดต่อกันมานานนับหลายปีด้วยแล้วจะออกดอกติดผลได้ไม่ยาก นัก
เมื่อปรับช่วงการออกดอกในขนุนทะวายครั้งแรกสำเร็จจะส่งผลไปถึงการออกดอกติด ผลของรุ่นที่ 2 ด้วย นั่นคือ ขนุนต้นนั้นจะออดอกในช่วงระยะเวลาที่ปรับไว้แล้วตลอดไปตราบเท่าที่ต้นยัง สมบูรณ์
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 สลับกับ 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้น
ทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน
- ให้น้ำสม่ำเสมอ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ขนุนที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันนั้นค่อนข้างยุ่งยากต่อการบำรุง แนวทางแก้ไขอย่างหนึ่ง คือ เก็บผลไว้ 2 รุ่นกับดอก 1 รุ่น ส่วนผลที่โตระหว่างรุ่นแรกกับรุ่น 2 ให้เก็บจำหน่ายเป็นขนุนอ่อนหรือจัดรุ่นโดยเด็ดดอกทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมา ให้เห็นก็ได้
- ให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ. ฮอร์โมนไข่. 1-2 รอบ/2-3 เดือน
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ/3-4 เดือน
จะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
วิธีเก็บเกี่ยวขนุน :
1. ตรวจอายุผล ลักษณะผล และสุ่มเก็บลงมาผ่าผลตรวจภายในก็จะรู้ว่าผลชุดนั้นสมควรเก็บเกี่ยวได้แล้ว หรือยัง
2. ตัดผลลงมาจากต้นแล้ววางผลเอียงลงบนพื้นให้น้ำยางในผลไหลออกมาตามขั้วจนหมด จากนั้นจึงนำไปบ่มตามปกติ ระหว่างการบ่มถ้าต้องการเร่งให้ผลสุกเร็วขึ้นให้ใช้ไม้ปลายแหลม ขนาดเล็ก 1 ใน 4 ของขั้วผล แทงเข้าไปในขั้วผลจนสุดขั้วและลึกถึงแกนในพอประมาณ แล้วนำไปบ่มตามปกติ การใช้ไม้แทงขั้วผลแบบนี้แม้ขนุนผลนั้นแก่ไม่จัดจริงก็สุกได้เหมือนกันแต่รส ชาติอาจไม่เต็มร้อยเท่าผลแก่จัด
3. ตัดผลลงมาจากต้นแล้ววางผลเอียงไล่ยางออกจากผลจนหมด ตัดขั้วทางขวางแล้วใช้ ฮอร์โมน อีเทฟอน ชนิดเดียวกันกับที่ใช้เร่งให้ทุเรียนสุก (ผลแก่ไม่จัดก็สุก) หรือใช้เร่งสับปะรดเพื่อให้เนื้อฉ่ำ (แต่เปรี้ยว) ทาบนขั้วที่รอยตัด จากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ขนุนก็สุกได้เหมือนกัน