สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ขนุนสำปะลอ



ขนุนสำปะลอ

               ลักษณะทางธรรมชาติ

         * เป็นไม้ยืนต้นอายุหลายสิบปี  ทรงพุ่มขนาดกลางถึงใหญ่  ไม่ผลัดใบ  ลักษณะทั่วๆไปคล้ายสาเก  ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ ชอบดินเหนียวร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้างนาน  เจริญเติบโตดีในสภาพที่มีความชื้นสูง
         * อายุต้นให้ผลผลิต 2-3 ปีหลังปลูก  ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ออกดอกช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.  บางต้นได้รับการบำรุงดีสามารถออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้
         * ออกดอกติดผลปีละ  1 รุ่น  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้นได้

         * บริโภคส่วนเมล็ดโดยนำมาต้ม รสชาติคล้ายเมล็ดขนุนหรือเก๋าลัดจีนรวมกัน  ส่วนใหญ่นิยมทำไส้ขนม…….ดอกตากแห้งแล้วนำมาจุดไฟให้เกิดควันใช้ไล่ยุงได้
        
* นิยมปลูกไว้เป็นไม่ร่มเงาในบ้านมากกว่าปลูกเพื่อเศรษฐกิจ

               สายพันธุ์
         ปัจจุบันมีพันธุ์พื้นเมืองเพียงพันธุ์เดียว

              การขยายพันธุ์
         ตอน (ดีที่สุด).   แยกหน่อที่งอกขึ้นมาจากตาราก.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).
                               
              เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ

         - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
        
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง
         - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง
        
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
         หมายเหตุ  :
         - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี  เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปี  จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่......การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ ระบาดของเชื้อราได้
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่และการให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ ระบาดของเชื้อราได้
         - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน........ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น
         - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง

               เตรียมต้น

         ตัดแต่งกิ่ง :
         - ขนุนสำปะลอออกดอกที่ซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี   การตัดแต่งกิ่งด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตามต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก  เพราะกิ่งของขนุนสำปะลอมีไส้กลวง  หลังจากตัดกิ่งแล้วน้ำเข้าในไส้ได้ทำให้กิ่งเน่าเสียหาย  ส่วนใหญ่ผู้ปลูกขนุนสำปะลอไม่นิยมตัดแต่งกิ่งแต่ปล่อยต้นเจริญเติบโตอย่าง นั้นก็สามารถออกดอกติดผลดกได้
         - ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ลำต้นควรมีลำเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 1-1.20 ม. ความสูง  3-5 ม. กว้าง 3-4 ม.  มีกิ่งประธาน 3-5 กิ่งแผ่กระจายออกรอบทิศ
         ตัดแต่งราก  :
         - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธี ล่อรากโดยพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรียวัตถุ 1 ส่วน
         -  ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 โดยพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. แล้วให้ฮอร์โมนบำรุงราก 1-2 รอบ ห่างกันรอละ 15-20 วัน ต้นก็จะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดี กว่าเดิม   

                                 ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อขนุนสำปะลอ

      1.  เรียกใบอ่อน
         ทางใบ :
         -  ให้น้ำ 100 ล. + 46-0-0 (400 กรัม) หรือ 25-5-5 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ   ทุก 5-7 วัน  ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น
         -  ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
         ทางราก :
         - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
         หมายเหตุ :
         - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
         - ถ้าต้องการใบอ่อนมากขึ้นให้ฉีดพ่นซ้ำด้วยสูตรเดิมหลังจากฉีดพ่นครั้งแรก 5-7 วัน

      2.  สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
         ทางใบ :
         -  ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.     ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบ  แล้วให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    สลับ 1 รอบ   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
         ทางราก :
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +  8-24-24  หรือ  9-26-26  สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
         - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
         หมายเหตุ  :
         - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
         - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
         - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น  หมายถึง  การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น  เช่น  จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
         - ขนุนสำปะลอไม่จำเป็นต้องปรับ ซี/เอ็น เรโช. เมื่อเห็นว่าใบแก่จัดเขียวเข้มดีให้ลงมือเปิดตาดอกต่อได้เลย

         
          3. เปิดตาดอก
         ทางใบ  :
         สูตร 1...........น้ำ 100 ล. + ไธโอยูเรีย (500- 1,000 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
         สูตร 2..........น้ำ 100 ล. + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล  50 กรัม + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
         สูตร 3..........น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
         ทางราก  :
         - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
         - ให้  8-24-24   หรือ  9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
         หมายเหตุ  :
         - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
         - ระหว่างสูตร 1-2 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 3 โดยให้ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกันเพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อ จนเปิดตาดอกไม่ออก

      4. บำรุงดอก
         ทางใบ :
         - ให้น้ำ  100 ล. + 10-45-10 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียก  ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
         -  ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
         ทางราก  :
         - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
         - ให้  8-24-24  หรือ  9-26-26  สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         -  ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
         หมายเหตุ  :
         - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมนเอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
         - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน
         - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
         - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกแล้วให้ดอกออกมาไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก........มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
         - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมนทำเอง  ซึ่งจะได้ผลดีกว่าเพราะเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นแน่นอนกว่า
         - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตาม ความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
         - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
         - การไม่ใช้สารเคมีใดๆเลยติดต่อกันมานาน จะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น
        
          5. บำรุงผลเล็ก
              ทางใบ :
         - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
         ทางราก :
         - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
         - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
         - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7  (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
         หมายเหตุ  :
         เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
       
      6.  บำรุงผลกลาง
         ทางใบ :
         ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก
7-10 วัน   ฉีดพ่นพอเปียกใบ
         -  ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
         ทางราก :
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
         หมายเหตุ  :
         - ขนุนสำปะลอไม่ต้องให้ทางใบด้วย 14-7-21 หรือไม่ต้องบำรุงด้วยสูตร  “หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ”  แต่ให้บำรุงด้วยสูตร  “สร้างเมล็ด-หยุดเนื้อ” นั่นคือให้ใส่ 8-24-24  เสริมด้วยมูลค้างคาวก็จะช่วยให้ขนาดเมล็ดใหญ่ขึ้น
         - การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง  ถ้าได้รับน้ำน้อยจะทำให้ผลแคระแกร็น
         - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50 เปอร์เซ็นต์
         - ให้ฮอร์โมนสมส่วน,  ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.,  ฮอร์โมนไข่. 2-3 รอบ  โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
         - ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ. กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่ง
ให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น

       7. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
         ทางใบ :
         - ให้น้ำ 100 ล. +  0-21-74 (400 กรัม) หรือ 0-0-50 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  หรือ   น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว   ฉีดพ่นพอเปียกใบ
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
         ทางราก :
         - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
         - ให้  8-24-24  (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         หมายเหตุ  :
         -  เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
         - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะ ช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติ บำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

view