แคนตาลูป
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นพืชตระกูลเถาเลื้อยขึ้นค้างแต่ไม่มีมือเกาะ อายุสั้น (75-85 วัน) ฤดูกาลเดียว ชอบดินดำโปร่งร่วนซุยหรือดินปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ เนื้อดินไม่อุ้มน้ำแต่ต้องไม่แห้ง ระบายน้ำดี อากาศผ่านสะดวก ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์
* ชอบความชื้นในดินสูง ถ้าขาดน้ำหรือน้ำไม่พอและถ้าน้ำมากเกินไปหรือแฉะต้นจะชะงักการเจริญเติบโต การให้ด้วยระบบน้ำหยดซึ่งจะทำให้ดินปลูกชุ่มชื้นตลอดเวลาจึงเป็นทางเลือกที่ ดีที่สุด
* เทคนิคการบำรุงด้วยระบบ "น้ำหยด + ปุ๋ย" ให้ต้นได้รับสารอาหารแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชม. แล้วเสริมด้วยฮอร์โมนโดยให้ทางใบตามระยะพัฒนาการ ตั้งแต่เกิดถึงผลแก่เก็บเกี่ยว
จะช่วยให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพดีมาก
* บำรุงรักษาไม่ให้ใบแรกร่วงเลยแม้แต่ใบเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผลแก่เก็บเกี่ยว จะช่วย
ให้ผลผลิตคุณภาพดีมาก
* แคนตาลูปใบใหญ่หนาเขียวเข้ม เถาใหญ่ ช่วงระหว่างข้อยาว จะให้ผลผลิตคุณภาพดี
มาก
* สันแปลงปลูกควรสูงกว่าพื้นระดับ 30-50 ซม. และร่องทางเดินระหว่างสันแปลงลึก 20-30 ซม. กว้าง 50-80 ซม. พื้นก้นร่องราบ...........ช่วงหน้าแล้งให้ใส่น้ำในร่องทางเดินเพื่อสร้าง ความชุ่มชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
* ปกติเป็นพืชเมืองร้อนแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม แต่ครั้นประเทศเขตหนาวและเขตอบอุ่นนำไปปลูกแล้วพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีขึ้น เนื่องจากตลาดให้ความนิยมสูง แคนตาลูปจึงกลายเป็นพืชเขตหนาวและเขตอบอุ่นไปโดยปริยาย จากนั้นย้อนกลับมาปลูกในเขตร้อนอีกครั้งทั้งๆที่เป็นถิ่นกำเนิดเดิมกลับไม่ เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นหากคิดจะปลูกแคนตาลูปต้องพิจารณาสายพันธุ์ด้วยว่าเป็นสายพันธุ์ที่มา จากเขตหนาว เขตอบอุ่นหรือเขตร้อน ปัจจุบันแคนตาลูปในประเทศไทยได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนจนกระทั่งเหมาะสม กับสภาพอากาศเมืองร้อนจึงสามารถเจริญเติบโตและให้คุณภาพที่ตลาดต่างประเทศ ยอมรับมากขึ้น...........สายพันธุ์ที่ผ่านการพัฒนาในประเทศไทย ถ้าปลูกในพื้นที่อากาศเย็นนานติดต่อกัน อายุเก็บเกี่ยวจะช้ากว่าปลูกในเขตร้อนชื้น 7-10 วัน แต่คุณภาพไม่ต่างกัน
* แคนตาลูปที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศไม่สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้ เพราะเป็นสายพันธุ์ไฮบริด (ลูกผสม/เป็นหมัน) แต่สายพันธุ์ในประเทศสามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อไป
* ปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศและปลูกได้ทุกฤดูกาลแต่ต้องมีระบบจัดการดี
* ต้นที่ได้รับการบำรุงดี มีสารอาหารกินอย่างสม่ำเสมอตลอด 24 ชม.จนได้เถาใหญ่ ใบใหญ่หนาเขียวเข้ม และใบไม่ร่วงเลยตั้งแต่เริ่มงอกถึงเก็บเกี่ยวจะได้ผลผลิตดี
* นิสัยออกดอกง่ายและออกมากหรือเกือบทุกข้อใบ
* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
* ตอบสนองต่อธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมน.ดีมาก จึงควรให้บ่อยๆ
* ห่อผลด้วยถุงยังเคราะห์หรือกระดาษถุงปูนซิเมนต์เมื่อขนาดเท่าไข่เป็ด หรืออายุผลได้ 40 วันหลังผสมติดจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช รักษาสีผิวเปลือกให้สวยนวลและเพิ่มคุณภาพ
การ ห่อด้วยถุงห่อขนาดเล็กจะต้องเปลี่ยนถุงห่อเมื่อขนาดผลโตคับถุง การใช้ถุงขนาดใหญ่นอกจากจะใช้ได้จนผลขนาดใหญ่โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ แล้ว ยังทำให้ถุงไม่เสียดสีกับผิวจนทำให้ผิวเสียและอากาศถ่ายเทสะดวกซึ่งจะส่ง ผลดีต่อผลอีกด้วย........พื้นที่ลมแรง อาจจะพิจารณาใช้ตาข่ายโฟมห่อผลก่อนแล้วจึงห่อซ้อนด้วยถุงอีกชั้นหนึ่งก็ได้
* ผลที่มีลักษณะขั้วใหญ่ ก้านยาว อวบอ้วน น้ำหนักดีจะมีคุณภาพ (เนื้อ กลิ่น รส) ดี
* แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่เก็บเกี่ยวแล้วไม่ต้องบ่ม เพราะฉะนั้นจึงต้องเก็บช่วงผลแก่จัดคาต้น ผลแก่ไม่จัด เมื่อเก็บลงมาแล้วคุณภาพผลเป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้นจนกระทั่งเน่าไปเลย
* ขนาดผลเท่ากันแต่ผลที่น้ำหนักมากกว่า กลิ่นดีกว่า จะคุณภาพดีกว่าเสมอ
* ตลาดเมืองไทยนิยมผลขนาดใหญ่มากกว่าผลขนาดเล็ก
สายพันธุ์
พันธุ์ผิวลายตาข่าย :
- ซันไรซ์ ผิวสีเหลืองอ่อน เนื้อสีส้มอ่อน ผลดก อายุเก็บเกี่ยวสั้น กลิ่นหอม
- นิวเซนทูรี่ ผิวสีเหลืองอมเขียวอ่อน เนื้อหนาสีส้มอ่อน รสหวานมาก กลิ่นหอม น้ำหนัก 1-1.5 กก.
- สกายร็อกเก็ต (ผิวสีเขียว เนื้อสีเขียว อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง ติดผลดก รสหวาน
มาก
- เดลิเกต ปลูกได้ทั้งในโรงเรือนและกลางแจ้ง เถาสั้น เนื้อหนาสีเขียว น้ำหนัก 1-1.2 กก. รสหวานจัด กลิ่นหอม
- ซันไรท์ (ชอบทั้งอากาศร้อนและเย็น เนื้อหนาชุ่ม สีส้มอ่อน น้ำหนัก 1-1.5 กก. อายุเก็บเกี่ยวสั้น กลิ่นหอม
- คาร์โก- 434 ทนต่ออากาศร้อนได้ดี ผิวสีเขียว เนื้อหนา รสชาติดี กลิ่นหอม อายุเก็บเกี่ยวสั้น น้ำหนัก 1-1.5 กก.
- เอ็มเมิร์ลดิง(ผิวสีเขียวอ่อน เนื้อเหลืองอ่อน รสหวาน กลิ่นหอมอ่อนๆ อายุเก็บเกี่ยวสั้น น้ำหนัก 1-1.5 กก.)
พันธุ์ผิวเรียบ :
- สโนว์ชาร์ม ชอบอากาศเย็น ผิวสีเหลืองครีม เนื้อหนาสีส้มอ่อนอมชมพู กรอบอ่อนนุ่ม น้ำหนัก 1-1.5 กก. อายุเก็บเกี่ยวสั้น ติดผลดก รสหวานจัด กลิ่นหอม
- ซันเลดี้ ปลูกง่าย ผิวขาวครีม ติดผลดก เนื้อหนานุ่มสีส้ม รสหวานจัด กลิ่นหอม
- เรดควีน เถาสั้น สีผิวเหลืองครีม รสหวานจัด อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง กลิ่นหอม น้ำหนัก 1 กก.
- เจดดิว สีผิวเขียวอมเหลือง อายุเก็บเกี่ยวสั้น เนื้อหนาสีเขียว น้ำหนักผล 1-1.5 กก. รสชาติดีมากหวานจัด กลิ่นหอม
- สวอน (ปลูกง่ายอายุเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลดก 7-8 ผล/ต้น น้ำหนัก 700-800 กรัม เนื้อสีขาว รสหวาน กลิ่นหอม
- ซิลเวอร์ สตาร์ (สีผิวครีมอ่อน อายุเก็บเกี่ยวสั้นมาก น้ำหนัก 1.5-2 กก. เนื้อสีเขียวอมขาว รสชาติดีหวานจัด กลิ่นหอม
- ซิลเวอร์ ไรท์ อายุเก็บเกี่ยวสั้น ทนต่ออากาศร้อนดี น้ำหนัก 400-500 กรัม เนื้อสีเขียวอ่อน รสหวานปานกลาง กลิ่นหอม
- ซัน บิวตี้ ชอบอากาศเย็น สีผิวเขียวอมเหลือง เนื้อสีขาวอมเหลือง น้ำหนัก 1-1.2กก. รสชาติดีหวานจัด กลิ่นหอม
- ซูการ์บอลล์ อายุเก็บเกี่ยวสั้น สีผิวครีมอ่อน สีเนื้อเขียวหยก น้ำหนัก 800-900 กรัมรสชาติดีมากหวานจัด กลิ่นหอม
- ฟาร์เมอริส นัมเบอร์ทรู (ทนต่ออากาศร้อนดี อายุเก็บเกี่ยวสั้น สีผิวเหลืองสดใส เนื้อขาวหนาปานกลาง
- เจด นิยมปลูก ปลูกง่าย ผลดก สีผิวเขียวอมเหลือง น้ำหนัก 500-700 กรัม เนื้อสีเขียวอ่อนหนาปานกลาง รสหวานจัด กลิ่นหอม
หมายเหตุ :
ในญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียวปลูกแคนตาลูปมากกว่า 50 สายพันธุ์ ทุกสายพันธุ์ต่างก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์)
เตรียมแปลง
- ยกร่องแห้งลูกฟูก สันร่องสูง 30-50 ซม.โค้งหลังเต่า กว้าง 1-1.20 ม. ร่องระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึกจากพื้นระดับ 25-30 ซม. ก้นสอบ
- ปลูกในถุงหรือภาชนะปลูก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-24 นิ้ว สูง 30-50 ซม. เจาะรูด้านล่างและด้านข้างเพื่อระบายน้ำ จัดวางถุง ณ ตำแหน่งที่ต้องการปลูกให้แน่นอนมั่นคง หลังจากลงมือปลูกแล้วไม่ควรย้ายตำแหน่งวางถุงอีกเด็ดขาดเพราะอาจจะกระทบกระเทือนรากหรือเถา (ต้น) ได้ การปลูกในช่วงฤดูฝนหรือแปลงปลูกที่น้ำท่วมแนะนำให้ทำยกร้านแล้ววางถุงปลูกบนยกร้านนั้น
เตรียมดิน
ปลูกลงแปลง :
1. เริ่มจากไถดินตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อกำจัดเชื้อโรคและวัชพืช ระหว่างตากแดดถ้ามีฝนตกต้องไถดินใหม่และเริ่มตากแดดใหม่
2. ใส่อินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดิน (ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก เศษพืชแห้ง)
3. ไถด้วยโรตารี่คลุกอินทรีย์วัตถุกับเนื้อดินให้เข้ากันดี
4. คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆ
5. บ่มดินโดยรดด้วยน้ำจุลินทรีย์หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ทุก 15 วัน ติดต่อกันนาน 1-2 เดือน
ปลูกในถุง :
1. เตรีมวัสดุปลูก (ดินปลูก) เหมือนดินที่เตรียมปลูกแบบปลูกลงแปลง
2. บรรจุวัสดุปลูกหมักได้ที่แล้วลงถุงให้เต็ม อัดแน่นพอประมาณ คลุมปากถุงด้วยหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ
หมายเหตุ :
- เกษตรกรอิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี กับอีกหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีการเกษตรสูงและมีความเข้าใจเรื่องพืชอย่าง แท้จริง ปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น แคนตาลูป แตงโม แตงกวา ฯลฯ ในถุง (ภาชนะปลูก) ด้วยดิน (วัสดุปลูก) ที่สามารถควบคุมชนิด/ปริมาณสารอาหาร/น้ำได้ และปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ (อิสราเอลร้อน-แล้ง.......ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี หนาว)
เกษตรกร ไทยไม่มีปัญหาร้อน-หนาว-แล้งจึงเหลือเพียงปัญหา “ดินหรือวัสดุปลูกและสารอาหาร” เท่านั้น การนำแนวทางบางอย่างของเกษตรกรในกลุ่มประเทศดังกล่าวมาประยุกต์ใช้บ้าง จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แนวทางเลือกแบบไทย-ไทย ต่อการปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว คือ........
- เตรียมดินปลูกหรือวัสดุปลูกปริมาณ 1 ตัน ด้วย.......เศษพืช (แกลบเก่าหรือรำหยาบ. ขุยมะพร้าว. ทะลายปาล์ม. เปลือกถั่วลิสง. ต้นถั่วหรือซังข้าวโพด. ฟาง. ฯลฯ) หลายๆ อย่างๆละเท่าๆกัน เพื่อความหลากหลาย บดป่นตากแห้ง 300 กก. ........ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม 100 กก. มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา 30 กก. มูลค้างคาว 5 กก.) แห้งเก่าค้างปีหมักชีวภาพ .......ยิบซั่มธรรมชาติ 50 กก. .......กระดูกป่น 10 กก. ........ ฮิวมิค แอซิด 100 กรัม. .......ดินดำร่วนหน้าดินตากแห้ง 500 กก.
- เตรียมน้ำสารอาหาร จุลินทรีย์ และฮอร์โมน 100 ล. ด้วย........น้ำ 100 ล. + จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล. + ฮอร์โมนไข่ 2 ล. + เลือดสัตว์สด 1 ล. +
นมสัตว์สดหรือกลูโคส 3 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (ซื้อ) 1 ล. + ยูเรีย 10 กก.
- ผสมคลุกวัสดุปลูกทุกอย่างให้เข้ากันดีพร้อมกับพรมด้วยน้ำสารอาหารฯ ให้ได้ความชื้น 50-75 เปอร์เซ็นต์ เสร็จแล้วทำกอง หมักทิ้งไว้ 3-6 เดือน ระหว่างหมักช่วงนี้ถ้าอุณหภูมิในกองจะสูงถึงขนาดมีควันลอยขึ้นมา (ถือว่าดี) ให้กลับกองบ่อยๆ แต่ถ้าอุณหภูมิไม่สูงหรือไม่มีควัน (ถือว่าไม่ดี) ให้เติมยูเรียและจุลินทรีย์แล้วหมักต่อไปตามปกติ
- อุณหภูมิในกองเย็นลงหรือหมดควันแล้วให้กลับกองทุก 7-10 วันเพื่อถ่ายเทอากาศ หมักครบกำหนดแล้วได้ “วัสดุหรือดินหมักชีวภาพ” พร้อมใช้งาน
- บรรจุวัสดุปลูกหรือดินปลูกที่ผ่านการหมักดีลงถุงหรือภาชนะปลูกแล้วลงมือปลูก พืช(แคนตาลูป แตงโม แตงกวา ฯลฯ) ที่ต้องการต่อไป
ระบบให้น้ำ :
1. ติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำและสารอาหารทางราก
2. ติดตั้งระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นสำหรับให้สารอาหารและสารสกัดสมุนไพรทางใบ
หมายเหตุ :
- กรณีปลูกในแปลงแล้วไม่มีระบบน้ำหยด เมื่อต้องการให้น้ำหรือสารอาหารทางรากสามารถทำได้โดยการปล่อยน้ำไปตามร่อง ระหว่างแปลงปลูก แล้วเพิ่มเติมด้วยน้ำพ่นฝอยจากสปริงเกอร์เหนือต้นฉีดพ่นน้ำลงพื้นเพื่อสร้าง ความชื้นหน้าดิน
- กรณีปลูกในถุงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยสปริงเกอร์เท่านั้น แม้แต่สปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเหนือต้นก็ไม่เหมาะสม เพราะน้ำที่ผ่านปากถุงลงไปถึงดินปลูกไม่เพียงพอ ต้องใช้สปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้น 1 หัว แล้วติดหัวสปริงเกอร์ที่ปากถุงอีกถุงละ 1 หัวเท่านั้น
เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
ตรวจ สอบวันหมดอายุและภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์........นำเมล็ดพันธุ์ลงแช่ในน้ำ เกลือเจือจาง คัดเมล็ดลอยทิ้งเพราะเสื่อมสภาพ เลือกใช้เฉพาะเมล็ดจมน้ำ นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง.........นำเมล็ดพันธุ์ที่เลือกได้แล้วลงแช่ใน น้ำ + ไคตินไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม นาน 12 ชม. นำขึ้นมาหุ้มผ้าชื้น (ห่ม) เก็บในที่เย็นชื้นอีกรอบนาน 24 ชม. หรือจนกระทั่งเมล็ดเริ่มปริและเริ่มมีรากแทงออกให้เห็นจึงนำไปปลูก
เตรียมหลักค้าง :
แคนตาลูปเป็นพืชเลื้อยไม่มีมือเกาะ การปลูกแบบให้เลื้อยขึ้นหลักเถา (ต้น) ละ 1 หลัก ระยะห่างระหว่างหลักเท่ากับระยะปลูก
กรณี ปลูกในแปลงยกร่องให้กำหนดจุดที่จะปลูกจริงแล้วปักหลัก ณ จุดนั้น ส่วนการปลูกในถุงให้ปักลงกลางปากถุงทะลุลงดินลึกพอประมาณเพื่อให้หลักมั่นคง
ปัก หลักแบบตั้งฉากกับพื้นหรือเอียงเล็กน้อยให้พิจารณาตามความเหมาะสมหรือความ สะดวกในการเข้าไปทำงานที่สำคัญก็คือหลักนั้นต้องปักแน่นมั่นคง
ระยะปลูก :
- ปลูกลงแปลง ปลูกริมแปลงทั้ง 2 ด้านสลับฟันปลา ห่างจากขอบริมแปลง 20-30 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น (หลุม) 50-75 ซม.ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
- ปลูกในถุง วางถุงห่างกัน 50-75 ซม. หรือตำแหน่งที่เหมาะสมตามความต้องการ
วิธีปลูก :
1. หยิบเมล็ดจากถุงห่มเบาๆอย่าให้รากที่เริ่มงอกออกมาแล้วนั้นหัก กระทบกระเทือน หรือช้ำมากนัก เทคนิคอย่างหนึ่ง คือ ระหว่างที่ห่มเมล็ดให้หมั่นเปิดถุงห่มดูเป็นระยะๆ เมื่อเห็นว่ารากเริ่มปริ่มออกมาแล้วให้นำลงปลูกทันที ไม่ควรปล่อยให้รากออกมายาวเกินไปเพราะรากจะพันกันจนแกะไม่ออกหรือฉีกหักได้
2. ใช้ปลายไม้เล็กๆขุดหลุมลึก 1-1.5 ซม. วางเมล็ดลงไปแล้วเกลี่ยดินที่เป็นฝอยละเอียดกลบเบาๆ ไม่ต้องกดเพราะอาจจะทำให้รากขาดหรือหักได้
3. คลุมหลุมปลูกด้วยหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ ถ้าเป็นฟางหมักหมักชีวภาพจนเปื่อยยุ่ยจะดีมาก
4. ถ้ามั่นใจเปอร์เซ็นต์งอกให้หยอดหลุมละ 1 เมล็ด แต่ถ้าไม่มั่นใจให้หยอดหลุมละ 2 เมล็ด เมื่อต้นกล้าโตขึ้นได้ใบ 2-3 คู่แล้วให้เลือกคัดออก 1 ต้นด้วยการใช้กรรไกคมๆตัดต้นนั้นทิ้งไปแล้วทาแผลด้วยปูนกินหมาก ไม่แนะนำให้ถอนด้วยเมือเพราะจะกระทบกระเทือนต่อรากของต้นที่คงไว้
หมายเหตุ :
- การปลูกแคนตาลูปทำได้ 3 วิธี คือ ปลูกในถุง (มีค้าง). ปลูกในแปลง (มีค้าง). และปลูกบนพื้น(ไม่ต้องมีค้าง ปล่อยให้เลื้อยไปบนพื้น).
- ปลูกโดยเพาะเมล็ดในกระบะเพาะกล้าก่อนเมื่อกล้าโตได้ 4-5 ใบจึงย้ายลงปลูกในแปลงจริง หรือปลูกโดยหยอดเมล็ดลงในแปลงปลูก/ถุงปลูกโดยตรง วิธีปลูกให้หยอดเมล็ดในแปลงปลูก/ถุงปลูกโดยตรงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว กว่าวิธีปลูกแบบเพาะเมล็ดแล้วย้ายต้นกล้า 10-15 วัน
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแคนตาลูป
1. ระยะต้นกล้า
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นด้วยระบบน้ำหยด
หมายเหตุ :
- ช่วงกล้าตั้งแต่เริ่มงอก ถึง ได้ใบ 4-5 คู่ ยังไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางราก ปล่อยให้ต้นรับสารอาหารจากดินปลูกที่เตรียมไว้ก็พอ
- หลุมที่หยอด 2 เมล็ด ถ้างอกเป็นต้นทั้ง 2 เมล็ดให้ตัดออก 1 ต้น โดยใช้กรรไกตัดโคนต้น ไม่ควรถอนเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนรากของต้นที่เหลือ
2. ระยะต้นเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 25-5-5 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
-ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 โดยการผ่านไปกับระบบน้ำหยดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นด้วยระบบน้ำหยด
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบหลังจากต้นโตได้ใบ 4-5 คู่แล้ว
- แคนตาลูปเป็นพืชเลื้อยไม่มีมือเกาะ เมื่อเถาเริ่มยาว (สูง) ขึ้นให้ใช้เชือกผูกเข้ากับหลักหรือไม้ค้าง พร้อมกับใช้เชือกอีกเส้นหนึ่งผูกหลวมๆที่ยอดแล้วยกขึ้นเพื่อนำยอดขึ้นสูง เมื่อเถายาวขึ้นก็ให้ยกยอดสูงตามขึ้นไปเรื่อยๆ พยายามรักษาให้เถาตรงอยู่เสมอ
- ผลจาการเตรียมดินดีทำให้ได้ใบและเถาขนาดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลไปถึงผลผลิตที่คุณภาพดีอีกด้วย
การตัดยอดเพื่อเอาผล
ปลูกขึ้นค้างแบบ 2 กิ่งแขนง :
- หลังจากต้นกล้าโตได้ใบ 5-7 ใบแล้วให้เด็ดยอดเหนือข้อของใบสูงสุดประมาณ ½ ซม. ทาแผลรอยด้วยปูนกินหมากเพื่อป้องกันเชื้อโรค
- หลังจากตัดยอดแล้วให้ปุ๋ยทางราก 25-7-7 อัตรา 1-2 ช้อนชา/ต้น โดยละลายน้ำรดหรือโรยแล้วรดน้ำตามโชกๆเพื่อละลายปุ๋ยก็ได้.........จากนั้น ต้นจะแตกยอดใหม่จากข้อใต้รอยตัด 2-3 ยอด เรียกว่า ยอดแขนง
- พิจารณาตัดทิ้งยอดแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกแล้วเก็บยอดแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 2 ยอด ซึ่งยอดแขนงนี้ คือ ยอดที่จะเอาผลในอนาคต เริ่มจัดระเบียบยอดแขนงให้เลื้อยไปในทิศทางที่จะไม่ชิดกับกิ่งแขนงข้างเคียง จนผลเบียดกันและเพื่อให้ใบทุกใบได้รับแสงแดดด้วย
- เมื่อยอดแขนงทั้งสองโตจะแตกยอดพร้อมกับดอกออกมาใหม่ตามข้อ (ที่ข้อมีใบ) ทุกข้อ ให้เด็ดยอดและดอกตั้งแต่แรกล่างสุดถึงยอดที่ 9 ทิ้งทั้งหมดแต่ให้คงเหลือใบไว้ วิธีเด็ดยอดและดอกทิ้งเหลือแต่ใบนี้วัตถุประสงค์หลัก คือ การไว้เถาและใบสำหรับเลี้ยงผลนั่นเอง
- หลังจากเด็ดยอดครบทั้ง 9 ยอดแล้วให้เก็บดอกระหว่างข้อที่ 10 ถึงข้อที่ 13 ไว้ รอจนกระทั่งดอกพัฒนาเป็นผลจึงพิจารณาตัดทิ้งผลไม่สมบูรณ์ออก 2 ผลแล้วเก็บผลที่สมบูรณ์ไว้เพียง 1 ผล..........จากเถาต้นตอ 1 เถาหรือ 1 ต้นแล้วแตกแขนงเป็น 2 แขนง ใน 1 แขนงไว้ผล 1 ผล จึงเท่ากับเถาต้นตอ 1 ต้นหรือ 1 เถาได้ผล 2 ผลนั่นเอง
ปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง :
- การบำรุงระยะกล้า. การเด็ดยอดกับดอก. การไว้ผล. ปฏิบัติเหมือนการปลูกแบบขึ้นค้าง
- ระยะที่เถาเจริญเติบโตเลื้อยไปกับพื้นนั้น ให้จัดระเบียบเถาไม่ให้ทับซ้อนกัน
- แคนตาลูปพันธุ์เบา (ซันเลดี้.เรดควีน.) ไว้ผลกิ่งแขนงละ 2 ผลได้ โดยให้แต่ละผลห่างกัน 8-10 ข้อใบ
- หลังจากติดเป็นผลแล้ว ให้จัดหาวัสดุรองรับผลไม่ให้ผิวสัมผัสพื้นโดยตรง พร้อมกับห่อผลเพื่อรักษาสีผิวให้สวย
ปลูกขึ้นค้างแบบ 3 กิ่งแขนง :
- การปฏิบัติเหมือนการปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง ต่างกันที่ให้ไว้กิ่งแขนงที่เกิดจากการตัดยอดครั้งแรก 3 กิ่ง
- ไว้ผลจากกิ่งแขนงทั้ง 3 นี้ ณ ข้อใบที่ 13-14 กิ่งแขนงละ 1 ผล เท่ากับเถาต้นตอ 1 เถาได้ 3 ผล
หมายเหตุ :
- สายพันธุ์ติดผลดกสามารถไว้ผลมากกว่า 1 ผล/1 กิ่งแขนงได้ โดยไว้ผลที่ 2 สูงหรือห่างจากผลแรก 8-10 ข้อใบ ทั้งนี้จะต้องเลี้ยงเถาให้มีความยาวรอไว้ก่อน
- หลังจากได้จำนวนผลไว้ตามต้องการแล้ว ให้หมั่นเด็ดยอดแตกใหม่จากข้อที่อยู่สูงกว่าผลขึ้นไปทุกยอดเพื่อไม่ให้เกิด ดอกจนเป็นผลซ้อนขึ้นมาอีก และเมื่อเถาโตจนถึงใบที่ 24-25 ก็ให้ตัดยอดเพื่อหยุดการเติบโตของเถา และเพื่อบังคับให้ต้นส่งธาตุอาหารไปเลี้ยงผลที่ไว้อย่างเต็มที่
- แคนตาลูปมีช่วงพัฒนาการทุกช่วงค่อนข้างสั้น การให้สารอาหารต่างๆผ่านทางใบนั้นให้ได้เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่พอเพียง แนวทางแก้ไขคือ เตรียมสารอาหารต่างๆให้พร้อมไว้ในดินหรือวัสดุปลูกก่อนลงมือปลูก ทั้งนี้สารอาหารที่แคนตาลูปต้องใช้จริงจำนวน 3 ใน 4 ส่วนได้จากดินหรือวัสดุปลูก กับ 1 ใน 4 ส่วนได้จากทางใบ
3. ระยะออกดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์
โมนไข่ 25 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่น
พอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นด้วยระบบน้ำหยด
หมายเหตุ :
- ธรรมชาติของแคนตาลูปออกดอกเองเมื่อโตได้อายุโดยไม่ต้องเปิดตาดอก ก่อนถึงช่วงออกดอก 7-10 วัน ถ้าได้รับสารอาหารทางใบกลุ่มสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (0-42-56 หรือ กลูโคส หรือ นมสัตว์สด อย่างใดอย่างหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) เพียง 1 รอบเท่านั้นก็จะช่วยให้ดอกที่ออกมาสมบูรณ์ดีกว่าไม่ได้ให้เสียเลยหรือปล่อย ให้ออกแบบตามมีตามเกิด นอกจากนี้ต้น (เถา) ยังเขียวเข้มอวบอ้วนและเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเข้าไปทำงานอีกด้วย
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตาม ความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- การช่วยผสมเกสรด้วยมือโดยเด็ดดอกตัวผู้ ตัดกลีบดอกออกทิ้งเหลือแต่ก้านเกสรตัวผู้ นำไปผสมกับเกสรตัวเมียของดอกที่คงไว้จะช่วยให้ดอกนั้นพัฒนาเป็นผลคุณภาพดี
4. ระยะผลเล็ก
ทางใบ :
ให้ น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการให้เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.) ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำหยดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
หมายเหตุ :
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้แคลเซียม โบรอน, เอ็นเอเอ., ฮอร์โมนไข่, 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลเล็ก เมื่อผลใหญ่ขึ้นจะมีคุณภาพดี
5. ระยะผลกลาง
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล, + 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ทุก 5-7 วัน
- ให้สารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 สลับกับ 8-24-24 ทุก 15-20 วัน โดยผ่านไปกับระบบน้ำหยดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
หมายเหตุ :
- ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลและทำให้ผลมีคุณภาพดี
- ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50 เปอร์เซ็นต์
- ให้ฮอร์โมนสมส่วน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วันเพื่อขยายขนาดผล
6. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (400 ซีซี.) หรือ 0-0-50 (400 ซีซี.) สูตรใดสูตรหนึ่ง + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + กำมะถัน 25 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.(เน้น กำมะถัน) + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำหยด
หมายเหตุ :
- ถ้าการบำรุงดีถูกต้องสมบูรณ์แบบจริงๆ อายุผลตามสายพันธุ์ของแคนตาลูปจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นั่นคือ สามารถเก็บเกี่ยว ณ วันครบอายุได้เลย
- มาตรการงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวมีความสำคัญมากต่อคุณภาพ (เนื้อ กลิ่น รส)ของแคนตาลูป กรณีที่ให้น้ำผ่านระบบน้ำหยดจะต้องหยุดให้ก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ขั้นตอนนี้อาจเปิดหน้าดินโคนต้นเสริมด้วย
- แคนตาลูปไม่ใช่ผลไม้รสหวานจัด ดังนั้นการให้ปุ๋ยเพื่อเร่งหวานทั้งทางใบและทางรากจะช่วยให้รสหวานจัดขึ้น
- ให้กำมะถัน 1 รอบจะช่วยบำรุงให้กลิ่นดีขึ้น
- พิสูจน์คุณภาพผลด้วยการดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นหอมแสดงว่าดี ถ้าไม่มีกลิ่นหอมแม้จะเก็บเกี่ยวมาแล้วหลายวันก็ไม่กลิ่น
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง