ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในเขตภาคใต้ที่มีฝนตกชุก ดินดำร่วน เนื้อดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำและอากาศถ่ายเทดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้างนาน
* เป็นพืชสกุลเดียวกันกับขนุนซึ่งสามารถทาบกิ่งหรือเปลี่ยนยอดไปมาซึ่งกันและกันได้
* ออกดอกติดผลทั้งที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่ขนาดใหญ่ ผลที่เกิดตามลำต้นคุณภาพดีกว่าผลใต้ท้องกิ่ง ผลที่ลำต้นเกิดต่ำใกล้พื้นดินคุณภาพดีกว่าผลที่เกิดตามลำต้นแต่อยู่สูงขึ้นไป และผลใต้ท้องกิ่งอยู่ชิดโคนกิ่งมากกว่าจะคุณภาพดีกว่าผลที่อยู่ถัดไปทางปลายกิ่ง
* รูปร่างภายนอกคล้ายขนุนมาก จนบางครั้งเรียกว่า “ขนุนจำปาดะ” เพียงแต่จำปาดะขนาดผลเล็กกว่า เปลือกบางกว่า หนามตื้นกว่า
* เนื้อพูหรือยวงจำปาดะค่อนข้างเหลวเละ เหมือน “ขนุนละมุดหรือ ขนุนปุด”
* รับประทานโดยนำพูหรือยวงมาชุบแป้งทอด เหมือนกล้วยแขก......นิยมรับประทานกันมากในหมู่คนไทยภาคใต้
* วิธีการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องกันหลายๆปีจนต้นสมบูรณ์เต็มที่จะออกดอกติดผลดกมาก การซอยผลออกเหลือเป็นผลเดี่ยวที่โคนกิ่งและโคนลำต้นแต่ละผลอยู่ห่างกันเพื่อให้ได้รับน้ำเลี้ยงสม่ำเสมอจะช่วยให้ได้ผลขนาดใหญ่และคุณภาพดี
* ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยแต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ ถ้าช่วงมีดอกผลขาดน้ำจะไม่มียวงและเมล็ดเล็กลีบ
* ตอบสนองต่อยิบซั่มธรรมชาติและกระดูกป่นดีมาก จึงควรใส่ยิบซั่มธรรมชาติปีละ 2 ครั้งและกระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง
* ต้นที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 7-8 ปี ส่วนต้นที่ปลูกจากกิ่งตอน.ทาบหรือเพาะเมล็ดเสริมรากเปลี่ยนยอดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปี
* ลักษณะทรงพุ่มเหมือนขนุนแต่กิ่งก้านมากกว่าและทรงพุ่มทึบกว่า
* ผลขั้วเดียวตรงขนาดใหญ่จะมีคุณภาพดีกว่าผลเป็นพวงมีขั้วเดียว
* ผลแก่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วบ่มเหมือนขนุนจะไม่สุก ดังนั้นจึงต้องเก็บผลแก่ที่สุกคาต้นเท่านั้น
* จำปาดะมีกลิ่นจัดมากจึงกลายเป็นตัวล่อให้แมลงวันผลไม้และแมลงวันทองเข้าหา วิธีป้องกันต้องห่อผลด้วยทางมะพร้าวหรือถุงปุ๋ยเมื่อผลใกล้สุกเท่านั้น
* ผลสุกสีเปลือกมีสีเหลืองชัดเจน
สายพันธุ์
จำปาดะขนุน :
เนื้อนิ่มเหลว สุกงอมแล้วรสหวานเข้มกลิ่นจัด ยวงมักไม่เต็มผล (ผลแป้ว) แกะยวงจากเปลือกค่อนข้างยาก ติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ขนาดผลโตกว่าจำปาดะบ้าน
จำปาดะบ้าน :
ขนาดต้นใหญ่กว่าขนุนจำปาดะ ออกดอกช่วงหน้าแล้งและติดผลปีละรุ่น มียวงเต็มผลหรือไม่แป้ว ติดผลดกมากบางครั้งติดผลเต็มรอบลำต้น เปลือกหนาแต่ฉีกหรือแกะจากยวงได้ง่าย รสหวาจัดกลิ่นแรง เนื้อเหลว เมล็ดกลมและต้มสุกแล้วรับประทานอร่อยกว่าจำปาดะขนุน
ทั้งสองสายพันธุ์ยังแยกเป็นพันธุ์มีเมล็ดและพันธุ์ไร้เมล็ดด้วย
การขยายพันธุ์
ตอน. ทาบกิ่ง. เสียบยอด. เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์). เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด).
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 6 X 6 ม. หรือ 6 X 8 ม.
- ระยะชิด 4 X 4 ม. หรือ 4 X 6 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
- จำปาดะออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งขนาดใหญ่ ดกมากหรือดกน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการปฏิบัติบำรุง
- ไม่ว่าสายพันธุ์ใดจะออกดอกติดผลที่ส่วนใดของต้นมากก็ตาม ทุกสายพันธุ์ไม่ควรมีกิ่งขนาดเล็กภายในทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแล้วเรียกใบชุดใหม่เฉพาะปลายกิ่งเท่านั้น ช่วงตัดแต่งกิ่งควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี
- ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
- ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
- ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
- นิสัยการออกดอกของจำปาดะไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
ตัดแต่งราก :
- จำปาดะระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อจำปาดะ
1.เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 หรือ 25-5-5(สูตรใดสูตรหนึ่ง) 100 กรัม + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วเร่งต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายเพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย
- เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่หนา มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม
- จำปาดะต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลยใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ.......ถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก.....แก้ไขโดยบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหาร และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้นกับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) ช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน ในห้วง 2 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่นจากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี.(อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดเอ็น.(อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้นก่อนลงมือเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด
- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานกว่าสวนพื้นรายยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะระยะให้หน้าดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี
5.เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1....ให้น้ำ 100 ล.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
สูตร 2....ให้น้ำ 100 ล.+ 13-0-46(500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24(½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
6.บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วันฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม
- ให้ 8-24-24( ½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมนเอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะมีผึ้งและแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
7.บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(400)ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
8.บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 14-7-21(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยังต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้แม็กเนเซียม 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
9.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(400 กรัม)หรือ 0-21-74(400 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นแล้วงดน้ำ
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรสูตรหนึ่ง (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- ถ้ามีฝนตก หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 5-10 วัน จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในจะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกระยะหนึ่งจึงเก็บเกี่ยว
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
จำปาดะ (chempedak) เป็นไม้ผลสกุลเดียวกับ ขนุน คืออยู่ในวงศ์ Moraceae แต่ขนาดของผลเล็กกว่า กลิ่นแรงกว่า และเนื้อเละกว่า มีการกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยนิยมปลูกทางภาคใต้ จัดให้เป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpusinteger Merr ผลนำมากินสดๆ ได้ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารหลากหลายได้ทั้งของหวานและของคาว ทั้งไม้ของมันยังใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ด้วย
จำปาดะมีดอกตัวผู้และ ตัวเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ออกผลตามลำต้นและกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่สีเขียวเป็นมัน มีขนเล็กๆ สีน้ำตาลบนใบ ขนาดของใบ 5-12 x 2.5-12 เซนติเมตร ลักษณะดอกตัวผู้เป็นทรงกระบอก ขนาด 3-3.5 เซนติเมตร สีขาวหรือเหลือง ก้านช่อดอกตัวผู้ยาว 3-6 เซนติเมตร เกสรตัวเมียมีขนาด 1.5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีน้ำตาลปนเหลือง ขนาด 20-35 x 15 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่น (หอม) รุนแรง
การขยายพันธุ์ เป็นไม้ที่ถ้าขยายพันธุ์จากเมล็ดจะให้ผลภายใน 3-6 ปี แต่ก็สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่งจากพืชชนิดเดียวกัน เช่น ขนุนใช้ต้นตออายุ 8-11 เดือน จัดเป็นไม้ผลที่ปลูกง่ายเช่นเดียวกับขนุน พันธุ์ที่ดี มีผลใหญ่ สีเนื้อสวย เช่น พันธุ์ CH29 มีเนื้อสีส้ม และพันธุ์ CH26, CH27 และ CH28 ให้ผลผลิตสูง ส่วนราคานั้นอยู่กับขนาดของผลและคุณภาพของเนื้อ ซึ่งทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดีมาก
จำปาดะมีน้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 600-3,500 กรัม น้ำหนักของเนื้อ 100-1,200 กรัม น้ำหนักแห้งของเนื้อ 100 กรัม คุณค่าทางอาหารมีโปรตีน 3.5-7 กรัม ไขมัน 0.5-2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 84-87 กรัม กาก 5-6 กรัม เถ้า 2-4 กรัม และในเนื้อสดจะมีน้ำอยู่ 58-85% ส่วนน้ำหนักแห้งของเมล็ดมีโปรตีน 10-13% ไขมัน 0.5-1.5% คาร์โบไฮเดรต 77-81% กาก 4-6% เถ้า 3-4% เมล็ดสดจะมีน้ำผสมอยู่ 46-78% ใน 1 ผลมีน้ำหนัก 65-880 กรัม
การใช้ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นวัสดุในการก่อสร้าง และทำอุปกรณ์การเกษตร แก่นของลำต้นนำไปต้มย้อมจีวรพระ ใบอ่อนเป็นผักจิ้มหรือกินกับส้มตำ ผลอ่อนใช้ปรุงอาหาร ผลสุกรับประทานสด หรือประยุกต์เป็นขนม ดังนี้
จำปาดะ กวน นำส่วนผสมได้แก่เนื้อจำปาดะบดละเอียด 3 ถ้วยตวง เมล็ดจำปาดะต้มสุกบดละเอียด 2 ถ้วยตวง หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง ใส่เนื้อและเมล็ดจำปาดะที่บดแล้วในกระทะทองเหลือง ใส่กะทิและน้ำตาลทรายขาว คนให้เข้ากัน ตั้งกระทะทองเหลืองบนไฟอ่อนปานกลาง กวนด้วยช้อนไม้ขนาดใหญ่จนเหนียวดี ลองปั้นดูไม่ติดมือจึงใช้ได้ ยกลงจากเตา ตักขนมใส่ถาดทิ้งไว้ให้เย็นแล้วตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ เทคนิคคือควรใช้จำปาดะสุกดี เพื่อจะได้เนื้อสีเหลืองแก่ สวย
..................................................................................................
จำปาดะ มีชื่อสามัญว่า Champeak ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus integer (Thunb.) Merr. พม่าเรียกว่า sonekadat อินโดนีเซียเรียกว่า chempedak มาเลเซียเรียกว่า bankong ถิ่นกำเนิดของจำปาดะอยู่ในคาบสมุทรมลายูแถมประเทศ มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย
* จำปาดะอยู่ในวงศ์ Moraceae เช่นเดียวกับขนุนและ สาเก ใบสีเขียว หน้าใบเป็นมัน ตามกิ่งอ่อนมีขนอ่อนขึ้นคลุมรอบ ผลคล้ายกับขนุน แต่มีขนาดเล็กกว่า ผลกลมยาวคล้ายผลฟัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 12-15 ซม. ยาว 25-30 ซม. เปลือกบาง ผลดิบเปลือกแข็ง มียางสีขาวขุ่นแทรกซึมอยู่ตามเปลือก ผลสุกเปลือกนิ่ม และมียางน้อยลง เนื้อยวงเหลว รสหวานแหลม มีกลิ่นหอมมากกว่าขนุในแต่ยวงมีเมล็ด 1 เมล็ด
* ช่วงที่จำปาดะสุกอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ปลูกมากแถบภาคใต้ เป็นผลไม้ขึ้นขื่อของอำเภอเกาะยอ จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ยวงเนื้อของจำปาดะพร้อมเมล็ดนำมาชุบแป้งทอง คล้ายกล้วยแขก เนื้อแป้งกรอบ หอมเนื้อจำปาดะ และมันด้วยเมล็ดที่สุก เนื้อล่อน จำปาดะกินยวงเนื้อสด ๆ รสหวานจัด เนื้อเละเหนียว กลิ่นหอมแรง ส่วนเมล็ดนำไปต้มกิน หรือเอามาแกงไตปลาก็ได
คุณค่าอาหารและสรรพคุณ
จำปาดะ มีเส้นใยแบบละลายน้ำ ซึ่งเป็นเส้นใยที่สามารถขับไขมันและสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนและน้ำตาลสูง เนื้อผลอ่อน ช่วยฝาดสมาน แก้ท้องเสีย เนื้อผลสุก บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อน ๆ เมล็ด ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด และบำรุงร่างกาย