สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เนียง

เนียง

       ลักษณะทางธรรมชาติ

     * เป็นไม้ป่ายืนต้นอายุยืนนานหลายสิบปี เจริญเติบโตดีในเขตป่าดิบที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำตลอดปี ตั้งแต่นราธิวาส ผ่านแนวเทือกเขาตะนาวศรีไปจนถึงแม่ฮ่องสอน ส่วน
ใหญ่เป็นไม้ที่เกิดเอง ปัจจุบันยังไม่มีใครปลูกเป็นสวนไม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่
            
     * ปลูกง่ายโตเร็ว เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปีหลังปลูก ติดผลปีละ 1 รุ่น

     * ปกติเนียงออกดอกช่วงเดือน ธ.ค.- เม.ย. ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.โดยเนียงในเขตยะลา.นราธิวาส.เก็บเกี่ยวช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. แต่เนียงในเขตชุมพร. สุราษฎร์ธานี. เก็บเกี่ยวช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. คาดว่าสาเหตุมาจากการปลูกในพื้นที่ต่างเส้นรุ้งกัน
                                    
       สายพันธุ์
            
       เนียงธรรมดา :
   
        
       ลักษณะฝักตรง ข้อระหว่างเมล็ดคอดเว้าชัดเจน ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลอมม่วงขนาดผลใหญ่  เยื่อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลอมแดง
           
            
       เนียงนก :   
         
       ลักษณะฝักเกือบตรงหรือข้อระหว่างเมล็ดคอดเว้าน้อยกว่า ขนาดฝักเล็กกว่าเนียงธรรมดาออกดอกช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค. ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน พ.ค.- ก.ค. ผิวผลสีแดงอมส้มเยื่อหุ้มเมล็ดสีสีม่วง  รสชาติด้อยกว่าเนียงธรรมดา  นิยมบริโภคได้ทั้งเปลือกหุ้มเมล็ดเพราะจะไม่มีกลิ่นติดปาก  จึงราคาดีกว่าเนียงธรรมดา
 
            
       เนียงคาน  :
 ไม่มีข้อมูล           
       เนียงข้าว  : ไม่มีข้อมูล 
            
       เนียงเพาะ :
 
เป็นลูกเนียงที่นำไปเพาะให้งอกเป็นต้นอ่อนก่อน ซึ่งก็คือวิธีการถนอมอาหารนั่นเอง หลังจากงอกแล้วจึงใช้บริโภค รสมันกรอบ กลิ่นแรง ขนาดโตกว่าเนียงธรรมดา
                            
       ขยายพันธุ์            
            
       ตอน.   เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์).
             

       เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
            
     - ใส่ปุ๋ยคอก(มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา(แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
  
   - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง            
     - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
            
     - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
            
       หมายเหตุ :
            
     - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
            
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  และการให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
            
     - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
             

       เตรียมต้น
            
       ตัดแต่งกิ่ง :
            
     - เนียงออกดอกจากซอกของใบแก่ที่ร่วงแล้ว  
            
     - ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้รำไรทั่วภายในทรงพุ่ม  กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
     - ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป
     
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย            
     - ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ลำต้นควรมีลำเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 1-1.20 ม. ความสูง 3-5 ม. กว้าง 3-4 ม.  มีกิ่งประธาน 3-5 กิ่งแผ่กระจายออกรอบทิศ
       
ตัดแต่งราก :                    
     - เนียงต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่หากต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากโดยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
     
- ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม 

              
  ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อลูกเนียง        

      1.เรียกใบอ่อน
            
        ทางใบ : 
            
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(200 กรัม)หรือ 25-5-5(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น
 
            
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
            
        ทางราก :
            
      - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. เดือนละ 1 ครั้ง  ฉีดพ่นบริเวณทรงพุ่ม
 
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน            
        หมายเหตุ :
            
      - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
            
      - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม 
            
      - ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี
            
      - รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้  ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่ทำให้เสียเวลา
                   
      2.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก               
            
        ทางใบ :
            
      - ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ทุก 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
        ทางราก :
           
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
            
      - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
            
        หมายเหตุ :
            
      - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนเพสลาด
            
      - ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้นแต่ถ้ารุ่นปีที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
            
      - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น  จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง   
            
      - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง 

     3.เปิดตาดอก               
       ทางใบ :
            
       สูตร 1
....น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500- 1,000 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
            
       สูตร 2....น้ำ 100 ล.+ 0-52-34(500 กรัม)+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
  
     สูตร 3....น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.            
       ทางราก :
            
     - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
            
     - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
            
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
            
       หมายเหตุ :
            
     - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
            
     - ระหว่างสูตร 1 และ 2 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 3 โดยให้ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกันเพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อจนเปิดตาดอกไม่ออก
            
     - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอและระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
        

     4.บำรุงดอก   
            
       ทางใบ :
            
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียก  ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
            
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
            
       ทางราก :
            
     - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
            
     - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
            
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
            
       หมายเหตุ :
            
     - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมนเอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
            
     - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน
            
     - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
            
     - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
            
     - การไม่ใช้สารเคมีใดๆเลยติดต่อกันมานาน จะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
            
     - ช่วงออกดอกต้องการน้ำสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอ
เพียงดอกจะแห้งและร่วง             

     5.บำรุงผลเล็ก
            
       ทางใบ : 
            
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
  
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
       ทางราก :
            
     - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม  
            
     - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
            
     - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
            
     - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
            
       หมายเหตุ :         
            
       เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
       

     6.บำรุงผลกลาง    
            
       ทางใบ :
            
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
       ทางราก :
            
     - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
  
   - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                   
       หมายเหตุ :
            
     - ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่ม 1 รอบ จะช่วยบำรุงเมล็ดให้มีขนาดใหญ่และคุณภาพดีขึ้น
            
     - ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ. กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น
       
     7.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
            
       ทางใบ :
            
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-0-50(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
            
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน   
            
       ทางราก :
            
     - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
     - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.            
       หมายเหตุ :
            
     - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน    
            
     - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

view