กระเจี๊ยบเขียว
ชื่อสามัญ กระเจี๊ยบเขียว Okra, Gumbo, Lady’s finger, Quimbamto (อัฟริกา)
ชื่อท้องถิ่น กระเจี๊ยบเขียว กระต้าด (แถบจังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรปราการ), มะเขือมอญ (ภาคกลาง)
มะเขือมื่น (ภาคเหนือ), ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์กระเจี๊ยบเขียว Abelmochus esculentus L. Moench
สกุล Malvaceae (Mallow family)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชผักยืนต้น อายุประมาณ 1 ปี มีความสูง 40 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ลำต้น มีขนสั้น ๆ มีหลายสี แตกต่างตามพันธุ์
ใบกระเจี๊ยบเขียว มีลักษณะกว้างเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่ง แต่ก้านใบจะสั้นกว่า ดอกมีสีเหลือง โคนดอกด้านในสีม่วง เมื่อบานคล้ายดอกผ้าย มีเกสรตัวผู้ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
ฝักกระเจี๊ยบเขียว มีรูปเรียวยาว ปลายฝักแหลม มีทั้งชนิด ฝักกลมและฝักเหลี่ยม ซึ่งมีเหลี่ยม 5-10 เหลี่ยม ขึ้นกับพันธุ์ในแต่ละฝักมีเมล็ด 80-200 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมรี ขนาดเดียว กับถั่วเขียว เมล็ดอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่มีสีเทา ฝักแก่สีฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกออกตามแนวรอยสัน เหลี่ยมทำให้เห็น เมล็ดที่อยู่ข้างใน
สภาพแวดล้อมของกระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว เป็นผักที่ปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกและเติบโตคือ 20-30 องศาเซลเซียส กระเจี๊ยบเขียวขึ้นได้ที่อุณหภูมิต่ำสุด 18 องศาเซลเซียส ซึ่งในอุณหภูมิต่ำจะเจริญเติบโตช้าลง และถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส จะไม่เจริญเติบโตเลย กระเจี๊ยบเขียวเติบโตได้ดี ในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีน้ำขังแฉะหรือระบายน้ำยากและดินที่เป็นกรดจัด พีเอสควรอยู่ระหว่าง 6.0-6.8
พันธุ์และแหล่งพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว มีพันธุ์ต่าง ๆ มากมายซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งความสูงของต้น ความยาวของฝักและสีฝัก พันธุ์พื้นเมืองเดิมจะมีเหลี่ยมบนฝักมากประมาณ 7-10 เหลี่ยม พันธุ์กระเจี๊ยบเขียวที่ใช้ปลูกเพื่อการส่งออกฝักสด และแช่แข็ง จะต้องเป็นพันธุ์ที่มีฝัก 5 เหลี่ยม สีฝักเขียวเข้ม มีเส้นใยน้อย ลำต้นเตี้ย ผิวฝักมีขนละเอียด ฝักดกให้ผลผลิตสูง ซึ่งพันธุ์ที่ใช้ปัจจุบันได้แก่
1. พันธุ์ของประเทศไทยปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะฝักมีสีเขียวปานกลาง ฝักเมื่อตัดตามขวางเป็นรูปห้าเหลี่ยม ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง ราคาเมล็ดพันธุ์ 50-80 บาทต่อกิโลกรัม พันธุ์เหล่านี้ผู้ส่งออกและแปรรูปสามารถนำไปทดสอบตลาดได้ โดยเฉพาะตลาดยุโรป หรืออื่น ๆ
2. พันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง จากประเทศญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ที่มีคุณสมบัติฝักอ่อนที่ตลาดญี่ปุ่นนิยมมาก ลักษณะฝักสีเขียวเข้มมาก ปลายฝักไม่มีจงอยยาว เมื่อตัดตามขวางของฝักเป็นรูป 5 เหลี่ยม ซึ่งมีเหลี่ยมเห็นได้ชัดเจน ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง ราคาเมล็ดพันธุ์แพงมากประมาณ 2,000-5,000 บาทต่อกิโลกรัม
3. พันธุ์ผสมเปิดจากต่างประเทศ ได้แก่ เคลมสัน สปายน์เลส ซึ่งฝักกลมป้อมและพันธุ์ดวอร์ฟกรีน สปายน์เลส ซึ่งมีฝักเรียวยาว เป็นพันธุ์ที่มี 8 เหลี่ยม สีเขียวปานกลางใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง
4. พันธุ์ที่เกษตรกรเก็บพันธุ์เอง ซึ่งต้องทำอย่างถูกวิธีจะมีผลต่อคุณภาพฝักมาก อย่างไรก็ตามพันธุ์ที่จะใช้ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อกำหนดเป็นประการสำคัญ ซึ่งผู้ปลูกต้องทำการตกลงกับผู้ซื้อก่อนปลูก
ฤดูปลูก กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว สามารถปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย แต่การปลูกเพื่อส่งออกต่างประเทศ จะปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคมเท่านั้น เนื่องจากตลาดหลักคือประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถปลูกได้ในช่วงนี้ ญี่ปุ่นจะปลูกกระเจี๊ยบเขียวทางตอนใต้ของประเทศและจะหยุดปลูกในช่วงฤดูหนาวและเริ่มปลูกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ซึ่งผลผลิตจะออกราวเดือนพฤษภาคม การจะเริ่มปลูกเมื่อใดเกษตรกรต้องคำนึงถึงตลาดรับซื้อ ซึ่งจะต้องกำหนดแผนร่วมกันโดยมากจะหยอดเมล็ดราวเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เพื่อเก็บเกี่ยวประมาณตุลาคมถึงเมษายน หรือตามผู้ซื้อต้องการ
ระยะปลูกกระเจี๊ยบเขียวและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้
การปลูกอาจทำได้ทั้งแบบร่องสวนและแบบไร่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกจำนวน 1-2 ต้นต่อหลุม
เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว 100 เมล็ดหนัก 6-7 กรัม เมล็ดหนัก 1 กิโลกรัม = 16,666-14,285 เมล็ด อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ = 1 กิโลกรัม
การเตรียมแปลงปลูกกระเจี๊ยบเขียวและการปลูก
กระเจี๊ยบเขียว เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง การเตรียมดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตนานถึง 6 เดือน ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสม
การเตรียมแปลงปลูกและการปลูกแบบไร่คือปลูกในสภาพพื้นที่ซึ่งเคยปลูกอ้อยหรือปลูกข้าวโพดอ่อนไม่มีร่องน้ำ ดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี การเตรียมแปลงใช้แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ 1-2 ครั้ง แล้วยกร่องไถดิน ตากดิน 3-5 วัน ไถครั้งที่ 2 พรวนดิน แล้วยกร่องด้วยแทรกเตอร์ ยกร่องกว้าง 75 เซนติเมตร (ให้น้ำแบบร่อง) ใช้จอบปรับร่องให้เสมอเพื่อน้ำจะได้เข้าแปลงได้ดี ใช้จอบตีหลุมซึ่งหลุมปลูกจะอยู่ต่ำกว่าขอบแปลงประมาณ 1 คืบ ปลูกแถวคู่ ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ เตรียมหลุมปลูก 8,480 หลุม
ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ด เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น โรคฝักจุดหรือฝักลายโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเอาเมล็ดพันธุ์มาผึ่งให้แห้งพอหมาดคลุกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคในกลุ่มของเบนโนมิลและไทแรม เช่น เบนเลทที อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือสาวในกลุ่มไทอะเบนดาโซน เช่น พรอนโต อัตรา 120 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
การให้น้ำกระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว ชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ
การให้ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว
เนื่องจากระยะเวลาในการปลูกกระเจึ๊ยบเขียวยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
อายุการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่โตเร็ว เมื่ออายุได้ 40 วัน จะเริ่มออกดอก หลังดอกบาน 5 วัน ฝักจะยาว 4-9 เซนติเมตร ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตฝักสดได้ มีขนาดและคุณภาพฝักดี คือ ฝักกระเจี๊ยบมีความอ่อนนุ่มมีรสชาด และเนื้อสัมผัสที่ผู้บริโภคพอใจ อ่อน ไม่มีเส้นใยตรงตามที่ตลาดต้องการ ฝักกระเจี๊ยบเขียวโตเร็วมากโดยเฉพาะอากาศร้อนจะเติบโตวันละ 2-3 เซนติเมตร เกษตรกรจึงต้องเก็บเกี่ยวทุกวัน และไม่ควรปล่อยทิ้งฝักที่สามารถตัดได้ให้หลงเหลืออยู่บนต้น เพราะต้นจะต้องส่งอาหารมาเลี้ยง ทำให้ผลผลิตต่ำ เกษตรกรจะสามารถเก็บฝักที่มีคุณภาพดีได้ประมาณ 1 ฝ -2 เดือน ฝักที่แตกยอดจะเริ่มหมดและไม่แข็งแรง สังเกตจะมีกิ่งแขนงออกจากต้น 2-3 กิ่ง ควรตัดต้นทิ้ง เพื่อให้แตกแขนงใหม่ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้อีกประมาณ 2 เดือน ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยตลอดฤดูปลูก 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน หรือประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก (ก.ย.-พ.ค.) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และความยาวนานในการเก็บผลผลิต
การเด็ดใบกระเจี๊ยบเขียว
ในแปลงที่กระเจี๊ยบเขียวเจริญและมีใบมากเกินไป ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงฝักด้านล่าง ฝักจะมีสีซีด ซึ่งตลาดไม่ต้องการ ควรตัดใบทิ้งบ้างเพื่อให้ต้นโปร่งการเด็ดใบทิ้งจะได้ผลมากในกรณีที่ปลูกแบบแน่นขนัด เพราะช่วยให้อากาศไหลเวียนดีขึ้น ป้องกันการเกิดโรค แมลงรบกวนและง่ายต่อการปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วย การตัดใบอาจทำได้โดยสะดวก โดยระหว่างเก็บเกี่ยวให้ตัดใบทิ้งทีละใบพร้อม ๆ กับการตัดฝักทุกครั้ง จนกระทั่งเหลือใบใต้บริเวณที่จะติดผลไว้ต้นละ 2-3 ใบ อย่างไรก็ตามการเด็ดใบมากเกินไป จะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโต และทำให้ฝักพองโต การเด็ดใบจึงขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย
การตัดต้นกระเจี๊ยบเขียว
เมื่อเก็บเกี่ยวได้ 1 1/2 เดือน ผลผลิตจะเริ่มลดลง ควรตัดต้นทิ้งให้แตกกิ่งด้านข้าง ซึ่งจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และมีปริมาณมากกว่าเดิม การตัดต้นต้องตัดให้เหลือตาสำหรับแตกกิ่งแขนงด้านข้างหลังจากตัดแล้ว 6-7 ตา ซึ่งมักจะตัดให้เหลือตอสูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร จากพื้นดิน หลังจากตัดต้นแล้วควรใส่ปุ๋ยและดูแลรักษาอย่างดี เพื่อให้แตกแขนง การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้จำเป็นมากเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นแก่ชรา สามารถปลูกระยะยาวได้
แมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียว
หนอนกระทู้หอม (หนอนหลอดหอม หนอนหอม หนอนหนังเหนียว)
Beet Armyworm
Spodoptera exigua
ลักษณะ
เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มสีขาว หนอนโตเต็มที่มีขนาด 3 เซนติเมตร สีของหนอนมีแตกต่างกันได้ เช่น สีเขียวอ่อนเทา น้ำตาล น้ำตาลดำ เป็นต้น ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือ หนอนมีลำตัวอ้วนผนังลำตัวเรียบ มีแนวสีขาวพาดไปตามความยาวด้านข้างของลำตัวเมื่อโตเต็มที่จะเคลื่อนย้ายมาบริเวณโคนต้น เพื่อเข้าดักแด้ในดิน
การระบาด
พบระบาดรุนแรงในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ในแหล่งปลูกผักทั่วไปในเขตภาคกลาง หนอนกระทู้หอม มีพืชอาหารมากมาย นอกจากทำลายกระเจี๊ยบเขียวแล้วยังพบระบาดในพืชหลายชนิด เช่น พืชตระกูลกะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง หอม มันเทศ องุ่น และไม้ดอกต่าง ๆ การระบาดมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น หากเกษตรกรปล่อยปละละเลย เนื่องจากมีพืชอาหารตลอดปี
การทำลาย
กัดกินทุกส่วนของพืช เช่น กิ่ง ก้าน ใบ และฝัก ทำให้ฝักเป็นรูไม่ได้คุณภาพ
การป้องกันกำจัด
หนอนชนิดนี้ได้พัฒนาต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมากมายหลายชนิด การป้องกันกำจัด
ในพืชผักส่งออกที่ต้องเก็บเกี่ยวทุกวันการใช้สารฆ่าแมลง จะต้องคำนึงถึงพิษตกค้างของสารฆ่าแมลงในผลผลิตให้มาก ซึ่งแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
1. วิธีกล วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด หากมีแรงงานเพียงพอนั่นคือเมื่อพบกลุ่มไข่หรือหนอนกระทู้หอมในแปลงปลูก ให้เก็บทำลายเสียทันที วิธีนี้ช่วยลดการระบาดได้มาก
2. ชีววิธี โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ ไวรัส (เอ็น พี วี) ของหนอนกระทู้หอม ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบในอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นทุก 5 วัน/ครั้ง ในช่วงเวลาเย็น เมื่อมีการระบาด
3. การใช้สารฆ่าแมลง โดยการฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis) เช่น เดลฟิน ดับบลิวจี อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือเซนทารี ดับบลิวดีจี อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมกับสารจับใบ ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น 5 วัน/ครั้ง จนกว่าการระบาดจะลดลง
เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย
Cotton leafhopper
Amarasca biguttula Ishida
ลักษณะ
ตัวอ่อนมีสีเขียวอมเหลืองจาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนตัวเต็มวัย มีสีเขียวจาง ปีกโปร่งใส ขนาดลำตัวยาว 2.5 มิลลิเมตร บินเร็วมากเมื่อถูกรบกวน
การระบาด
พบตามแหล่งปลูกทั่ว ๆ ไประบาดระหว่างฝนตกทิ้งช่วง นาน ๆ ช่วงที่พบระบาดจั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม
การทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบกระเจี๊ยบเขียวและจะพบจำนวนเพลี้ยจั๊กจั่นมากจากใบที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ผลจากการทำลายจะทำให้ขอบใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จนกระทั่งแดงและงอ ใบจะเหี่ยวแห้งและร่วงในที่สุด ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตลดต่ำลงมาก
การป้องกันกำจัด
เมื่อพบจำนวนตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายมากกว่า 1 ตัว/ใบ ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่
1. พ่นสารฆ่าแมลง เมทามิโดฟอส (methamidophos) เช่น ทามารอน 600 เอสแอล อัตรา 40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือไดเมทโธเอท (Dimethoate) เช่น โฟลิแมท 800 เอสแอล ควรพ่นในช่วงกระเจี๊บยเขียวยังเล็ก หรือช่วงที่ไม่ติดฝัก หรือในช่วงอายุกระเจี๊ยบเขียวไม่เกิน 45 วัน
2. กรณีที่กระเจี๊ยบเขียวติดฝักแล้ว ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงพวกสารไพรีทรอยด์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ไซฮาโลทริน (cyhalothrin) เช่น คาราเต้ 2.5% อีซี อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัลฟ่า ไซเปอร์เมทริน (alpha cypermethrin) เช่น คอนคอร์ด 10% อีซี อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือเฟนโพรพาทริน (fenpropathrin) เช่น แดนนิตอล 10% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 วันครั้ง
หนอนกระทู้ผัก
Cotton Leaf Worm
Spodoptera litura E.
การระบาด
มักพบทำลายกระเจี๊ยบเขียวเสมอ ๆ ไม่จำกัดฤดูกาลการทำลาย แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มใหญ่ นับร้อยฟอง คลุมด้วยขนสีฟางข้าวบริเวณใบพืชหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่กันเป็นกลุ่มแทะกินผิวใบ
ลักษณะ
ลักษณะหนอนจะมีลำตัวอ้วนผิวหนังเรียบ ลายสีดำจะสังเกตเห็นแถบดำที่คอชัดเจน ตัวโตเต็มที่ประมาณ 3-4 ซม. เคลื่อนไหวช้า
การทำลาย
ความเสียหายมักพบในระยะหนอนโต โดยทำลายดอกและฝักทำให้เกิดเป็นรอยเจาะเสียคุณภาพ
การป้องกันกำจัด
1. หนอนกระทู้ผักสามารถป้องกันจำกัดได้ไม่ยาก เมื่อพบกลุ่มไข่หรือหนอนที่ฟักออกจากไข่ควรเก็บทำลาย หากปล่อยให้หนอนโตจนหนอนจะแยกย้ายหลบซ่อนตัว กัดกินเจาะเป็นรูสึก ในใบ ดอก และฝัก
2. กรณีที่มีการระบาดรุนแรง ควรพ่นด้วยสารเมทโธมิล (methomyl) เช่น แลนเนท 18% แอลซี อัตรา 40-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือสาร ไพรีทรอยด์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไซฮาโลทริน (cyhalothrin) คาราเต้ 2.5% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ช่วงพ่น 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง
หนอนเจาะสมอฝ้าย
Cotton bollworm
Heliothis armigera Hubner
ลักษณะ
เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง วางไข่ฟองเดี่ยวตามบริเวณสวนของพืช เช่น ใบ ดอกตูม และฝัก ไข่มีสีขาวนวล ลักษณะกลมคล้ายฝาชี หนอนโตเต็มที่ ขนาด 4 ซม. มีสีสรร แตกต่างกัน ผิวลำตัวมีเส้นขนเล็ก ๆ ทั่วไปตรงรอยต่อระหว่างปล้อง
การระบาด
ระบาดรุนแรงในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ในแหล่งปลูกกระเจี๊ยบเขียวทั่วไป เนื่องจากมีพืชอาหารมากมาย เช่น ฝ้าย ยาสูบ ข้าวโพด ส้ม เป็นต้น การทำลาย จะกัดกินส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และฝัก ทำให้ฝักเป็นรูไม่ได้คุณภาพ
การป้องกันกำจัด
1. เก็บหนอนและกลุ่มไข่ที่พบในแปลงปลูก
2. ใช้เชื้อไวรัสของหนอนเจาะสมอฝ้าย อัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร 4 วันติดต่อกัน 4-5 วัน/ครั้ง หากพบระบาดรุนแรง
3. ควรพ่นสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งได้แก่ เมทโธมิล (methomyl) เช่น แลนเนท 18% แอลซี อัตรา 40-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือกลุ่มไพรีทรอยด์ พวกไซฮาโลทริน (cyhalothrin) เช่น คาราเต้ 5% อีซี อัตรา 10-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือสารระงับการลอกคราบได้แก่ คลอฟลูอะซูลอน (chlorfluazuron) เช่น อทาบรอน 5% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4 วันติดต่อกัน 4-5 ครั้ง หากระบาดรุนแรง
เพลี้ยไฟ Thrips palmi karny
การระบาด พบระบาดทั่วไปตามแหล่งปลูก ส่วนมากระบาดในสภาพอากาศแห้งแล้ง
ลักษณะ
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีขนาดไม่เกิน 1.5 ซม. สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
การทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายพืชโดยใช้ปากเขี่ยดูดน้ำเลี้ยงที่ฝักทำให้กระเจี๊ยบเขียวมีตำหนิ และเป็นปุ่มปม เสียคุณภาพ
การป้องกันกำจัด
ถ้ามีการระบาดรุนแรงควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้ คือ คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) พอสซ์ 20% อีซี อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 50 ลิตร หรือ เมทธิโอคาร์บ (methiocarb) เช่น เมซูโรล 50 % ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทำการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทุก 5 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง และควรพ่นในช่วงเช้า เพราะเพลี้ยไฟมีช่วงการบิน เวลา 8.00-13.00 น.
ยังมีแมลงศัตรูอีกหลายชนิดที่พบทำลายกระเจี๊ยบเขียว ได้แก่ เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยแป้ง, หนอนคืบ เป็นต้น ซึ่งการทำลายยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในขณะนี้ จึงยังไม่กล่าวถึงรายละเอียด ในที่นี้จากที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น ถึงแม้ว่าการปลูกกระเจี้ยบเขียวในการส่งออกในปัจจุบันจะประสบกับปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมากมายหลายชนิด หากผู้ปลูกได้รู้จักชนิดของแมลงศัตรูพืชสำคัญตลอดจนถึงวิธีการป้องกันกำจัดที่ถูกต้อง และมั่นสำรวจแมลงศัตรูในแปลง อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอก็จะช่วยลดปริมาณการระบาดลงได้
โรคกระเจี๊ยบเขียว
โรคใบจุด (Leaf spot)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora abelmoschi (Ell’ & Ev.) Deighton
ลักษณะอาการ
มักจะเป็นกับต้นกระเจี๊ยบเขียวที่มีอายุตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ในระยะเริ่มแรกเชื้อราจะเข้าทำลายที่ใบล่างของลำต้น และจะลุกลามขึ้นไปสู่ยอดเมื่อพลิกด้านล่างของใบดูพบว่าจะมีเชื้อราสีขาวเป็นผงคล้ายแป้ง หรือถ้าระบาดรุนแรงจะมีสีเทาปนดำ ด้านหน้าใบจะเป็นแผลสีเหลืองปนน้ำตาล ต้นทรุดโทรมเร็ว ใบร่วงและแห้งตายในที่สุด กระเจี๊ยบเขียวไม่ติดฝักหรือติดฝักน้อย ไม่สมบูรณ์ คดงอ แคระแกร็น ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็วในปลายฤดูฝน โรคจะทวีความรุนรงมากขึ้น ในฤดูหนาวตามแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เนื่องจากหมอกและน้ำค้าง เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมหหรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกระเจี๊ยบเขียว
การป้องกันกำจัด
1. เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทำลายเสีย ทั้งนี้รวมถึงเศษพืชที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดินด้วย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจาย และเป็นการลดปริมาณของเชื้อราในแปลงปลูก
2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มโปรปิแน็บ (propineb) เช่น แอนทราโคล (Antracol 70% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น เอซินแมก (Azinmag 80% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดมาก แต่ถ้าอาการของโรคลดลงควรพ่นให้ห่างออกไปเป็น 10-15 วันครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
โรคฝักจุดหรือฝักลาย (Pod spot)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ
เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์จะแสดงอาการเมื่อกระเจี๊ยบเขียวเริ่มติดฝักเมื่ออายุ 45-50 วันหลังจากปลูก ทำให้เกิดเป็นจุดสีดำหรือสีน้ำตาลเล็ก ๆ เท่าปลายเข็มหมุดที่ผิวของฝัก แผลเหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วไป จำนวนแผลจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมื่อระบาดรุนแรงแผลบนฝักจะขยายมองเป็นจุดใหญ่หรือแผลติดต่อเป็นทางยาวสีน้ำตาลเข้ม
การแพร่ระบาด
เนื่องจากโรคนี้ติดมากับเมล็ดพันธุ์และจะแพร่ระบาดได้รวดเร็วในฤดูฝนถึงฤดูหนาว โดยโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เชื้อราจะแพร่ไปตามน้ำที่รดหรือปลิวไปกับลมทำให้โรคระบาดรุนแรงกว้างขวางขึ้นในบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้
1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มของเบนโนมิล + ไทแรม (benomyl + thiram) เช่น เบนเลท ที (Benlate T 20% W.P.) ในอัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์ หรือสารในกลุ่มไทอะเบนดาโซล (thiabendazole) เช่น พรอนโต้ (Pronto 45% W.P.) อัตรา 60 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์ พรมน้ำบนเมล็ดพอเปียกแล้วโรยสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว ข้างต้นลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว ผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำเมล็ดไปปลูก
2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มไอโปรไดโอน (iprodione) เช่น รอฟรัล (Rovral 50% W.P.) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน หลังจากกระเจี๊ยบเขียวติดฝัก แต่มีข้อจำกัดของการใช้สารชนิดนี้ คือ ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรใช้สารชนิดอื่นพ่นสลับกันไป เช่น ใช้สารในกลุ่ม โปรพีเนบ + ไซมอกซานิล (propineb + cymoxanil) ซึ่งมีชื่อว่าไดอะมีเทน (Diametane 75% W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน สลับกับรอฟรัล
3. ฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรค หลังจากคัดทิ้งแล้วควรเก็บรวบรวมไปเผาทำลายเสีย ไม่ควรเอาไปทิ้งไว้ตามขอบแปลงหรือบริเวณรอบ ๆ แปลงปลูก จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น
โรคฝักจุดหรือโรคแอนแทรคโนส (Antracnose)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp.
ลักษณะอาการ
โรคนี้จะเข้าทำลายบนฝักกระเจี๊ยบเขียวร่วมกับโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. แต่ลักษณะอาการของโรคแอนแทรคโนสจะรุนแรงกว่า ทำให้เกิดแผลสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เป็นขีด ๆ สั้น ๆ ไม่กลมเหมือนแผลของโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. แผลกระจายทั่วไปบนฝักกระเจี๊ยบเขียว ขอบแผลจะมีรอยช้ำคล้ายน้ำร้อนลวก แผลจะบุ๋มหรือยุบตัวลงไปจากเนื้อเยื่อของฝัก
การแพร่ระบาด
โรคนี้ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วในฤดูฝน และในฤดูหนาวที่มีหมอกและน้ำค้างหรือแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะการปลูกแบบร่องจีนตามสวนผักทั่ว ๆ ไป แถบหนองแขม นครชัยศรี สามพราน เชื้อราจะแพร่ไปกับน้ำที่ใช้รดหรือปลิวไปตามลม ระบาดได้รุนแรงติดต่อไปยังบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้
1. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มของแมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น ไดเทน เอ็ม-45 (Dithane M-45) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15 วัน สลับกับสารในกลุ่มของไทอะเบนดาโซล (thaibendazole) เช่นพรอนโต (Pronto 45% W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน
2. เก็บรวบรวมฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรคคัดทิ้งส่งตลาดไม่ได้ไปเผาทำลายให้หมด เพื่อไม่ให้เชื้อราแพร่ระบาดต่อไป ไม่ควรนำไปกองไว้รอบบริเวณแปลงปลูก จะทำให้โรคนี้แพร่ระบาดรวดเร็ว
โรคกระเจี๊ยบเขียว
โรคใบจุด (Leaf spot)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora abelmoschi (Ell’ & Ev.) Deighton
ลักษณะอาการ
มักจะเป็นกับต้นกระเจี๊ยบเขียวที่มีอายุตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ในระยะเริ่มแรกเชื้อราจะเข้าทำลายที่ใบล่างของลำต้น และจะลุกลามขึ้นไปสู่ยอดเมื่อพลิกด้านล่างของใบดูพบว่าจะมีเชื้อราสีขาวเป็นผงคล้ายแป้ง หรือถ้าระบาดรุนแรงจะมีสีเทาปนดำ ด้านหน้าใบจะเป็นแผลสีเหลืองปนน้ำตาล ต้นทรุดโทรมเร็ว ใบร่วงและแห้งตายในที่สุด กระเจี๊ยบเขียวไม่ติดฝักหรือติดฝักน้อย ไม่สมบูรณ์ คดงอ แคระแกร็น ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็วในปลายฤดูฝน โรคจะทวีความรุนรงมากขึ้น ในฤดูหนาวตามแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เนื่องจากหมอกและน้ำค้าง เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมหหรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกระเจี๊ยบเขียว
การป้องกันกำจัด
1. เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทำลายเสีย ทั้งนี้รวมถึงเศษพืชที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดินด้วย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจาย และเป็นการลดปริมาณของเชื้อราในแปลงปลูก
2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มโปรปิแน็บ (propineb) เช่น แอนทราโคล (Antracol 70% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น เอซินแมก (Azinmag 80% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดมาก แต่ถ้าอาการของโรคลดลงควรพ่นให้ห่างออกไปเป็น 10-15 วันครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
โรคฝักจุดหรือฝักลาย (Pod spot)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ
เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์จะแสดงอาการเมื่อกระเจี๊ยบเขียวเริ่มติดฝักเมื่ออายุ 45-50 วันหลังจากปลูก ทำให้เกิดเป็นจุดสีดำหรือสีน้ำตาลเล็ก ๆ เท่าปลายเข็มหมุดที่ผิวของฝัก แผลเหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วไป จำนวนแผลจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมื่อระบาดรุนแรงแผลบนฝักจะขยายมองเป็นจุดใหญ่หรือแผลติดต่อเป็นทางยาวสีน้ำตาลเข้ม
การแพร่ระบาด
เนื่องจากโรคนี้ติดมากับเมล็ดพันธุ์และจะแพร่ระบาดได้รวดเร็วในฤดูฝนถึงฤดูหนาว โดยโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เชื้อราจะแพร่ไปตามน้ำที่รดหรือปลิวไปกับลมทำให้โรคระบาดรุนแรงกว้างขวางขึ้นในบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้
1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มของเบนโนมิล + ไทแรม (benomyl + thiram) เช่น เบนเลท ที (Benlate T 20% W.P.) ในอัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์ หรือสารในกลุ่มไทอะเบนดาโซล (thiabendazole) เช่น พรอนโต้ (Pronto 45% W.P.) อัตรา 60 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์ พรมน้ำบนเมล็ดพอเปียกแล้วโรยสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว ข้างต้นลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว ผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำเมล็ดไปปลูก
2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มไอโปรไดโอน (iprodione) เช่น รอฟรัล (Rovral 50% W.P.) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน หลังจากกระเจี๊ยบเขียวติดฝัก แต่มีข้อจำกัดของการใช้สารชนิดนี้ คือ ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรใช้สารชนิดอื่นพ่นสลับกันไป เช่น ใช้สารในกลุ่ม โปรพีเนบ + ไซมอกซานิล (propineb + cymoxanil) ซึ่งมีชื่อว่าไดอะมีเทน (Diametane 75% W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน สลับกับรอฟรัล
3. ฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรค หลังจากคัดทิ้งแล้วควรเก็บรวบรวมไปเผาทำลายเสีย ไม่ควรเอาไปทิ้งไว้ตามขอบแปลงหรือบริเวณรอบ ๆ แปลงปลูก จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น
โรคฝักจุดหรือโรคแอนแทรคโนส (Antracnose)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp.
ลักษณะอาการ
โรคนี้จะเข้าทำลายบนฝักกระเจี๊ยบเขียวร่วมกับโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. แต่ลักษณะอาการของโรคแอนแทรคโนสจะรุนแรงกว่า ทำให้เกิดแผลสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เป็นขีด ๆ สั้น ๆ ไม่กลมเหมือนแผลของโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. แผลกระจายทั่วไปบนฝักกระเจี๊ยบเขียว ขอบแผลจะมีรอยช้ำคล้ายน้ำร้อนลวก แผลจะบุ๋มหรือยุบตัว
ลงไปจากเนื้อเยื่อของฝัก
การแพร่ระบาด
โรคนี้ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วในฤดูฝน และในฤดูหนาวที่มีหมอกและน้ำค้างหรือแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะการปลูกแบบร่องจีนตามสวนผักทั่ว ๆ ไป แถบหนองแขม นครชัยศรี สามพราน เชื้อราจะแพร่ไปกับน้ำที่ใช้รดหรือปลิวไปตามลม ระบาดได้รุนแรงติดต่อไปยังบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้
1. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มของแมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น ไดเทน เอ็ม-45 (Dithane M-45) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15 วัน สลับกับสารในกลุ่มของไทอะเบนดาโซล (thaibendazole) เช่นพรอนโต (Pronto 45% W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน
2. เก็บรวบรวมฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรคคัดทิ้งส่งตลาดไม่ได้ไปเผาทำลายให้หมด เพื่อไม่ให้เชื้อราแพร่ระบาดต่อไป ไม่ควรนำไปกองไว้รอบบริเวณแปลงปลูก จะทำให้โรคนี้แพร่ระบาดรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น
วิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
ฝัก กระเจี๊ยบเขียว จะเกิดการเหี่ยวหรือชอกช้ำได้ง่าย เนื่องจากเก็บเกี่ยวในระยะฝักอ่อน มีอัตราการตายใจสูง การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติต่าง ๆ หลังจากเก็บฝักแล้วจึงต้องทำอย่างปราณีตั้งแต่วิธีการเก็บจนถึงการเลือกภาชนะบรรจุหีบห่อ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว
1. มีดเล็กหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งซึ่งต้องคมเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ช้ำ
2. ถุงมือผ้าและถุงมือยางเพราะกระเจี๊ยบเขียวมีขนซึ่งระคายเคืองผิวหนังมาก
3. ภาชนะที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นิยมใช้ถังพลาสติก ซึ่งมีขนาดเล็ก 2-3 กิโลกรัมไม่ควรใหญ่กว่านี้
4. ภาชนะที่ใช้บรรจุผลผลิตและขนส่ง ควรให้ตะกร้าพลาสติกบรรจุฝักซึ่งมีรูระบายอากาศโดยรอบ เกษตรกรนิยมใช้เข่งไม้บุด้วยฟองน้ำบางและถุงปุ๋ย ซึ่งกันกระทบกระแทกได้พอควรแต่มีข้อเสีย คือ จะอับร้อนมาก ถ้ารอการขนส่งนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง จึงควรทำการเจาะรูให้ระบายอากาศได้โดยรอบ ขนาดบรรจุของเข่งหรือตะกร้าไม่ควรเกิน 12 กิโลกรัม
วิธีเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียว
1. ควรเก็บเกี่ยวเวลาเช้าตรู่ 6-9 นาฬิกา ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกระเจี๊ยบเขียวทีละฝัก อย่าตัดหลายฝัก วางในภาชนะอย่าโยน การตัดขั้วต้องตัดให้ตรง มีก้านติดไม่เกิน 1 เซนติเมตร และอย่าให้เป็นปากฉลาม ซึ่งจะขีดข่วนหรือทำให้ฝักอื่นเสียหายมาก เมื่ออยู่ในภาชนะบรรจุ
2. ภาชนะบรรจุผลผลิตต้องวางไว้ในที่ร่มเสมอ เช่น ใต้ร่มไม้ ถ้าไม่มีควรใช้ร่มกาง อย่าทิ้งไว้กลางแดด และรีบน้ำเข้าโรงพักผลผลิตโดยเร็วโรงพักผลผลิตควรมีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับทึบ อาจจะเป็นชั้นมีหลังคา ใต้ถุนบ้านหรือเพิงก็ได้
การขนส่ง
รีบขนส่งโดยเร็ว ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรนานกว่า 2 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว และไม่วางภาชนะซ้อนกัน ระหว่างขนส่ง รถขนส่งถ้าไม่มีห้องเย็นควรโปร่งไม่ปิดทึบ
การคัดการบรรจุหีบห่อและการแปรรูปกระเจี๊ยบเขียว
1. การลดอุณหภูมิของผลผลิตจากแปลงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ซึ่งต้องทำก่อนการบรรจุหีบห่อ โดยการล้างด้วยน้ำเย็นที่สะอาดจำนวนมาก แช่กระเจี๊ยบเขียวให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 10-15 องศาเซลเซียส น้ำล้างอาจผสมคลอรีน 200 พีพีเอ็ม เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. ผึ่งให้แห้ง ในกรณีต้องรอการคัดเลือกและบรรจุนาน ควรนำเข้าห้องเย็น
3. สำหรับการส่งออกสดนำออกมาคัดเกรดและบรรจุลงในถุงตาข่ายไนล่อนและกล่องกระดาษ การส่งออกสดไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป นิยมใส่ถาดโฟม เก็บรักษาในห้องเย็นเพื่อรอการขนส่งต่อไป
วิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียว
ฝักกระเจี๊ยบเขียว จะเกิดการเหี่ยวหรือชอกช้ำได้ง่าย เนื่องจากเก็บเกี่ยวในระยะฝักอ่อน มีอัตราการตายใจสูง การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติต่าง ๆ หลังจากเก็บฝักแล้วจึงต้องทำอย่างปราณีตั้งแต่วิธีการเก็บจนถึงการเลือกภาชนะบรรจุหีบห่อ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว
1. มีดเล็กหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งซึ่งต้องคมเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ช้ำ
2. ถุงมือผ้าและถุงมือยางเพราะกระเจี๊ยบเขียวมีขนซึ่งระคายเคืองผิวหนังมาก
3. ภาชนะที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นิยมใช้ถังพลาสติก ซึ่งมีขนาดเล็ก 2-3 กิโลกรัมไม่ควรใหญ่กว่านี้
4. ภาชนะที่ใช้บรรจุผลผลิตและขนส่ง ควรให้ตะกร้าพลาสติกบรรจุฝักซึ่งมีรูระบายอากาศโดยรอบ เกษตรกรนิยมใช้เข่งไม้บุด้วยฟองน้ำบางและถุงปุ๋ย ซึ่งกันกระทบกระแทกได้พอควรแต่มีข้อเสีย คือ จะอับร้อนมาก ถ้ารอการขนส่งนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง จึงควรทำการเจาะรูให้ระบายอากาศได้โดยรอบ ขนาดบรรจุของเข่งหรือตะกร้าไม่ควรเกิน 12 กิโลกรัม
วิธีเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียว
1. ควรเก็บเกี่ยวเวลาเช้าตรู่ 6-9 นาฬิกา ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกระเจี๊ยบเขียวทีละฝัก อย่าตัดหลายฝัก วางในภาชนะอย่าโยน การตัดขั้วต้องตัดให้ตรง มีก้านติดไม่เกิน 1 เซนติเมตร และอย่าให้เป็นปากฉลาม ซึ่งจะขีดข่วนหรือทำให้ฝักอื่นเสียหายมาก เมื่ออยู่ในภาชนะบรรจุ
2. ภาชนะบรรจุผลผลิตต้องวางไว้ในที่ร่มเสมอ เช่น ใต้ร่มไม้ ถ้าไม่มีควรใช้ร่มกาง อย่าทิ้งไว้กลางแดด และรีบน้ำเข้าโรงพักผลผลิตโดยเร็วโรงพักผลผลิตควรมีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับทึบ อาจจะเป็นชั้นมีหลังคา ใต้ถุนบ้านหรือเพิงก็ได้
การขนส่งกระเจี๊ยบเขียว
รีบขนส่งโดยเร็ว ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรนานกว่า 2 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว และไม่วางภาชนะซ้อนกัน ระหว่างขนส่ง รถขนส่งถ้าไม่มีห้องเย็นควรโปร่งไม่ปิดทึบ
การคัดการบรรจุหีบห่อและการแปรรูปกระเจี๊ยบเขียว
1. การลดอุณหภูมิของผลผลิตจากแปลงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ซึ่งต้องทำก่อนการบรรจุหีบห่อ โดยการล้างด้วยน้ำเย็นที่สะอาดจำนวนมาก แช่กระเจี๊ยบเขียวให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 10-15 องศาเซลเซียส น้ำล้างอาจผสมคลอรีน 200 พีพีเอ็ม เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. ผึ่งให้แห้ง ในกรณีต้องรอการคัดเลือกและบรรจุนาน ควรนำเข้าห้องเย็น
3. สำหรับการส่งออกสดนำออกมาคัดเกรดและบรรจุลงในถุงตาข่ายไนล่อนและกล่องกระดาษ การส่งออกสดไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป นิยมใส่ถาดโฟม เก็บรักษาในห้องเย็นเพื่อรอการขนส่งต่อไป