ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่อายุหลายสิบปี ต้นที่อายุมากๆสูงได้ถึง 20 ม. ผู้คนนิยมบริโภคมานานกว่า 5,000 ปีก่อนคริสตกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์ (เขตร้อน) แต่ในเขตอบอุ่นหรือกึ่งร้อนชื้นจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แม้จะเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ดีในเขตร้อนแต่ในเขตอากาศหนาวเย็นก็เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้เช่นกันโดยการปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิได้
* ปลูกได้ในทุกภาค ทุกพื้นที่ ทุกฤดูกาล ทุกสภาพดิน และสภาพอากาศของประเทศ โดยแหล่งปลูกในประเทศไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว ได้แก่ โครงการหลวง ดอยอินทนนท์. ดอยอ่างขาง. ชมรมเผยแพร่ความรู้การเกษตร อ.เมือง จ.พิจิตร. และที่สวน อ.ประเทือง อายุเจริญ (2 หมู่ 13 ต.ทรายขาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี) โดยเฉพาะที่ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ซึ่งนำพันธุ์มาจากญี่ปุ่นให้ผลผลิตคุณภาพเหนือกว่าที่ปลูกในญี่ปุ่นทั้งๆที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน
* ลักษณะต้นมีกิ่งประธาน (กิ่งที่แตกจากลำต้น) กิ่งสาขา (กิ่งที่แตกจากกิ่งประทาน) และกิ่งย่อย (กิ่งที่แตกจากกิ่งสาขา) จำนวนมาก โดยเฉพาะมะเดื่อที่ปลูกในเขตหนาวเย็น (ภาคเหนือ) จะแตกกิ่งสาขาและกิ่งย่อยได้ดีมาก เมื่ออายุต้นมากขึ้นทรงพุ่มจะมีการขยายขนาดทางข้างมากกว่าทางสูง และมีใบมากจึงเหมาะสำหรับเป็นไม้ร่มเงาได้ด้วย
* เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท (ลูกรัง เหนียว ทราย) ที่มีอินทรียวัตถุและความชื้นหน้าดินสูง ต้องการน้ำสม่ำเสมอหากขาดน้ำใบ-ดอก-ผลจะร่วงและชะงักการเจริญเติบโต
* ต้นที่ได้รับไนโตรเจนมากๆจะเจริญเติบโตแตกกิ่งสาขาและกิ่งย่อยจำนวนมากแต่จะออกดอกติดผลน้อย ซึ่งต้นที่มีกิ่งสาขาหรือกิ่งย่อยมากๆนี้เหมาะสำหรับใช้ขยายพันธุ์
* ช่วงผลกำลังเจริญเติบโตต้องควบคุมปริมาณน้ำให้เหมาะสมพอดี เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินจะทำให้ผลแตกง่ายแต่ถ้าขาดน้ำผลก็จะเล็กแกร็นและร่วงได้
* นอกจากปลูกลงแปลงบนพื้นดินแล้วยังปลูกในกระถางขนาดปากกว้างตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไปได้ ซึ่งการปลูกในกระถางนี้สามารถให้ผลผลิตดีไม่แพ้การปลูกบนพื้นดิน ข้อดีของการปลูกในกระถางก็คือ ทำให้ควบคุมรากไม่ให้ลงลึกได้ ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดความสูงของต้นไม่สูงมากตามความยาว-ลึกของรากอีกด้วย
* เป็นไม้ผลยืนต้นอีกชนิดหนึ่งที่ให้ผลผลิตเร็ว โดยต้นที่ได้รับการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้อง มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ระยะกล้าถึงให้ผลผลิตด้วยเวลาเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น
* ต้นที่สมบูรณ์ดี อายุต้น 1 ปีเศษให้ผลผลิตได้ถึง 100 ผล/ต้น
* ธรรมชาติการออกดอกติดผลของมะเดื่อฝรั่งรุ่นละ 2 รอบ โดยดอกรอบแรกจะออกจากกิ่งประธานที่อายุข้ามปี ส่วนดอกรอบสองจะออกจากกิ่งแขนงที่แตกใหม่หลังการตัดแต่งกิ่งซึ่งดอกและผลรอบสองนี้จะมากกว่ารอบแรก
* หน้าหนาว (พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค.) เป็นช่วงพักต้นซึ่งใบจะร่วงหมด ครั้นหมดหนาวประมาณเดือน ก.พ.จะแตกยอดใหม่พร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย
* ดอกออกมาช่วงแรกมีสีขาวแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีส้มและสีแดงตามลำดับ
* แปลงปลูกในที่ดอนสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้แน่นอน ช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวมีการงดน้ำจะช่วยให้คุณภาพผลจะหวาน หอม แห้ง กรอบ นุ่ม ส่วนแปลงปลูกในที่ลุ่มไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้คุณภาพผลจะฉ่ำน้ำ ไม่หวาน ไม่หอม และอาจจะผลแตกร่วงง่ายอีกด้วย
* เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งและให้ไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง
* การบำรุงก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งหวานด้วย 8-24-24 หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด แล้วเข้าสู่ช่วงพักต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้การเรียกใบอ่อนของฤดูการผลิตรุ่นต่อไปใบอ่อนจะออกมาเร็วและได้ใบดีมีคุณภาพ
สายพันธุ์
- มีทั้งสายพันธุ์สำหรับรับประทานผลสด. ผลแห้ง. และเพื่อแปรรูปบรรจุกระป๋อง.
- สายพันธุ์ทดลองปลูกที่โครงการหลวงอ่างขาง. ดอยอินทนนท์.ได้แก่ ดอร์ฟิน.
ไวท์ มาแซล. บราวน์ เตอร์กี. แบล็ค มิชชั่น. คอนนาเดรีย. และดีเสิร์ตคิง.
สายพันธุ์ที่มีผู้สนใจทดลองปลูกแล้วประมาณ 10 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่ยังไม่มีการตั้งชื่อเป็นภาษาไทย
- พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นมะเดื่อพื้นเมือง คือ พันธุ์อุทุมพรหรือชุมพร และพันธุ์หูช้าง
- สายพันธุ์ต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาปลูกในประเทศไทย ได้แก่ อิตาลี. ตุรกี. และไต้หวัน.
การขยายพันธุ์
- ปักชำด้วยยอด (ดีที่สุด). ปักชำด้วยราก. ติดตาหรือเสียบยอด โดยนำตาหรือยอดของสายพันธุ์หนึ่งไปติดหรือเสียบบนตอขนาดใหญ่ของอีกสายพันธุ์หนึ่ง
- ปักชำด้วยยอดทำโดยการเลือกตัดยอดที่สมบูรณ์ ยาวประมาณ 30-40 ซม. เหลือใบและยอดไว้คงเดิม ตัดลงมาแล้วแช่ในไคตินไคซานทันทีนาน 6-12 ชม. ครบกำหนดแล้วนำขึ้นผึ่งลมจนแห้งจึงนำไปปักในวัสดุเพาะ (ทรายหยาบ + แกลบดำ + ปุ๋ยคอกแห้งเก่า 1 : 1 : 1) ให้มิดข้อ 1-2 ข้อ เก็บในเรือนเพาะชำ ให้น้ำบ่อยๆหรือด้วยสปริงเกอร์สเปร์ยหมอก หลังจากรากเดินแล้วแยกออกมาใส่ถุงดำอนุบาลในเรือนเพาะชำต่อจนกระทั่งต้นกล้าแข็งแรงดีจึงนำลงปลูกในแปลงจริงต่อไป
- ตอน. เพาะเมล็ด.
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 4 X 6 ม. หรือ 6 X 6 ม
- ระยะชิดพิเศษ 4 X 4 ม. หรือ 4 X 3 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
- การตัดแต่งกิ่งมีความจำเป็นมากต่อการออกดอกติดผลรุ่นใหม่ซึ่งจะต้องตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง การตัดแต่งกิ่งทำเหมือนองุ่น. น้อยหน่า. กล่าวคือ ตัดแต่งกิ่งแบบโจรแขนด้วนโดยให้ลำต้นส่วนที่เป็นเปล้าสูงขึ้นมาจากพื้นถึงกิ่งประธานหรือกิ่งง่ามแรก 30-50 ซม. แล้วตัดกิ่งประธานให้ด้วนเหลือความยาวประมาณ 30-40 ซม. ทั้งต้นให้มีกิ่งประธาน 3-4 กิ่งตัดด้วนเหลือความยาว 30-40 ซม.เท่ากัน ทุกกิ่งชี้ออกรอบทิศทางของทรงพุ่ม กิ่งประธานทุกกิ่งหลังจากตัดด้วนแล้วจะมีกิ่งแขนงแตกออกมาจำนวนมาก เมื่อกิ่งแขนงเหล่านี้โตพอสมควรก็ให้ตัดยอดกิ่งแขนงเพื่อให้แตกกิ่งย่อยอีก
- ดอกผลออกจากกิ่งแก่อายุข้ามปีน้อยกว่าดอกผลออกจากกิ่งแขนงซึ่งแตกใหม่หลังการตัดแต่งกิ่ง ถ้าต้องปริมาณผลผลิตมากๆจะต้องทำให้มีกิ่งแขนงมากๆ ส่วนกิ่งย่อยมีหน้าที่สร้างใบสำหรับสังเคราะห์อาหารซึ่งก็จะต้องมีอย่างพอเพียงเช่นกัน การมีจำนวนกิ่งประธาน กิ่งแขนง กิ่งย่อยและใบมากหรือน้อยเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาปริมาณแสงแดดที่ส่องเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้หรือไม่ได้ด้วย
- การตัดแต่งกิ่งควรทำในช่วง ม.ค.-ก.พ. หรือหลังจากเข้าหนาวแล้ว จากนั้นประมาณเดือน เม.ย.-พ.ค. มะเดื่อจะแตกยอดใหม่พร้อมกับมีดอกตามออกมาด้วยแล้วผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วง ก.ค.-ส.ค.
หมายเหตุ :
หลังจากเก็บเกี่ยวผลลิตหมดแล้ว (ส.ค.) ให้บำรุงเพื่อฟื้นฟูต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาด้วยการให้สารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น ซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้นได้แล้วให้บำรุงตามปกติจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงหนาว (พ.ย.ธ.ค.ม.ค.) ซึ่งเป็นช่วงพักต้นก็ปล่อยให้ต้นได้พักต้น เมื่อถึง ก.พ.- มี.ค. จึงเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงเพื่อสร้างผลผลิตต่อไป
ตัดแต่งราก :
- ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะเดื่อฝรั่ง
1.เรียกใบอ่อน + เปิดตาดอก
ทางใบ :
- ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. กับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล (100 ซีซี.)+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 ครั้ง ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (½กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งราก
- ขั้นตอนการปฏิบัติเหมือนน้อยหน่าหรือองุ่นทุกประการ
- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้รับสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น)ทั้งสองอย่าง โดยปุ๋ยทางราก (8-24-24) ช่วยให้เสริมการออกดอก ส่วนปุ๋ยทางใบ (25-5-5)ช่วยเสริมการแตกใบอ่อน และฮอร์โมนไข่ช่วยเสริมการออกดอก ทั้งนี้เพราะมะเดื่อฝรั่งเป็นไม้ผลประเภทแตกยอดแล้วจะมีดอกตามออกมาด้วยนั่นเอง
- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดี
- มะกอกฝรั่งไม่จำเป็นต้องเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ แต่ถ้าจะให้สัก 1 รอบเมื่อเห็นว่ามีใบออกมามากแล้วก็จะได้สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) ช่วยเสริมให้ออกดอกดีขึ้น
2.บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน 1-2 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบจะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
3.บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวยภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
4.บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล)
- วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
5.บำรุงผลแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือน้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่งหรือสลับกัน (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- งดน้ำ
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ลักษณะผลแก่จัดพร้อมเก็บเกี่ยวได้ให้สังเกตที่ก้นผลซึ่งจะเปิดอ้าจนมองเห็นเนื้อภายในเป็นสีขาวอมชมพูถึงสีน้ำตาล
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้นมักโทรมต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน)กลับคืนมาโดยเร็วแล้วเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่
- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม