สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มะนาว

ลักษณะทางธรรมชาติ


    * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปีและให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ออกดอกติดผลจากกิ่งที่แตกใหม่เสมอจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกยอดใหม่ทุกปี
                  
    * เป็นพืชรากลอยให้คลุมดินโคนต้นด้วยเศษซากพืชประเภทคงทนชิ้นโตๆ  หนา 20-30 ซม.เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกเขตทรงพุ่ม 1-1.5 ม. เพื่อเป็นการล่อราก ไม่นานรากมะนาวจะเจริญยาวขึ้นมาอยู่กับอินทรีย์วัตถุที่คลุมโคนต้นนั้น เป็นรากที่ดีสมบูรณ์แข็งแรงและจำนวนมาก

    * ต้นที่ปลุกจากเพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงเริ่มให้ผลผลิต  และบนต้นจะมีหนามจำนวนมาก แข็ง และยาว

    * ต้นที่สะสมสารทองแดงจากค็อปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์ สารเคมีกำจัดโรคแคงเคอร์จำนวนมากๆ จะทำให้ต้นไม่สามารถลำเลียงธาตุอาหารจากรากหรือจากใบไปสู่ส่วนต่างๆของต้นได้จึงส่งผลให้ต้นโทรมแล้วตายในที่สุด
           
    * การบำรุงด้วย ฮอร์โมนธรรมชาติ (ทำเอง)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ในช่วงที่ผลกำลังพัฒนาจะทำให้มะนาวผิวเห่อ เปลือกหนา น้ำน้อย รกมาก แก้ไขโดยบำรุงทางใบด้วย ฮอร์โมนเร่งหวานสูตรเด็ด + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ผิวหายเห่อ เปลือกบาง
ต่อมน้ำมันสดใส รกน้อย น้ำมาก กลิ่นดี
                
    * ต้องการให้ผลขยายขนาดทางข้างเพื่อทรงผลแป้น บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วย ฮอร์โมนขยายขนาดทางข้าง 3 ส่วน + ฮอร์โมนขยายขนาดทางยาว 1 ส่วน เสริมด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ตามความจำเป็น                

    * การบำรุงระยะติดผลแล้วด้วย แคลเซียม โบรอน. มากเกินไปจะทำให้จุกขั้วสูง เปลือกหนา ผิวเห่อ แก้ไขด้วยการลดแคลเซียม โบรอน.และไนโตรเจน
                
    * การให้ฮอร์โมนอาลิเอท. เจือจางประจำปีละ 2 ครั้งจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ป้องกันผลแตกผลร่วงได้ดี                

    * การให้ฮอร์โมนบำรุงราก ปีละ 2-3 ครั้ง ช่วงที่ต้นมีความจำเป็นต้องเร่งระดมอาหารจำนวนมากเพื่อการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการพัฒนาแต่ละระยะๆ                

    * การให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.(ทำเอง/ท้องตลาด)และ/หรือฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน ฉีดพ่นช่วงอายุผลสัปดาห์แรกจะช่วยป้องผลแตกผลร่วงเมื่ออายุผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวได้ดี 

    * มะนาวต้นที่สมบูรณ์ดี จะออกดอก 2-3 เดือน/ชุด นั่นคือ มะนาวสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดทั้งปี        

    * ปุ๋ยน้ำชีวภาพประเภทหมักด้วยกากน้ำตาลไม่เหมาะกับมะนาวหรือพืชตระกูลส้ม เพราะกากน้ำตาลจะเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดเชื้อรามีลาโนส.และแอนแทร็ค
โนส. จึงไม่ควรให้ทางใบแต่สามารถให้ทางดินแทน หากต้องการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือฮอร์โมน (ทำเอง)จะต้องเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือฮอร์โมนที่หมักด้วยกลูโคสเท่านั้น                

    * สวนที่มีหญ้าและวัชพืชขึ้นรกปกคลุม ทั้งในบริเวณทรงพุ่มและทั่วทั้งแปลงจะมีผลดกตลอดปี มีโรคและแมลงศัตรูพืชเข้ารบกวนน้อย
                

    * ปรับแต่งทรงพุ่มตั้งแต่เป็นต้นเล็กยังไม่ให้ผลผลิต โดยบำรุงให้ลำต้นส่วนเปล้าสูงๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูจากพื้น 50-80 ซม.เมื่ออายุต้นโตถึงระยะให้ผลผลิตได้แล้วให้ดัดและแต่งกิ่งประธานให้กระจายชี้ออกนอกทรงพุ่มเท่ากันทั่วทิศทางรอบต้นอีกครั้งหนึ่ง นอกจากทำให้ทรงพุ่มโปร่ง โรคและแมลงรบกวนน้อยแล้ว ยอดที่แตกในทรงพุ่มยังสามารออกดอกติดผลได้อีกด้วย

    *ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวหรือต่างดอกในต้นเดียวหรือต่างต้นได้ดี

    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก)แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
                
    * มะนาวจะแตกยอดออกใบมากในช่วงหน้าฝนแต่ไม่มีดอก เนื่องจากอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช.ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก (เอ็น.มากว่า ซี.)ครั้นเข้าสู่หน้าหนาว (พ.ย.-ธ.ค.)มะนาวจะพักต้น หลังจากพักต้นระยะหนึ่งแล้วได้รับน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะออกยอดอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย
           

    * มะนาวต้นที่มีความพร้อมในการออกดอกติดผล (ผลจากการสะสมอาหารกลุ่ม ซี.และ กลุ่ม เอ็น)เมื่อแตกยอดจะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ .....ดอกที่ออก ณ ปลายกิ่งอ่อนจะติดเป็นผลดีมีคุณภาพ ดอกที่ออกจากซอกใบแก่หรือใบจากปลายยอดเข้ามาจะติดเป็นผลและคุณภาพปานกลาง ส่วนดอกที่ออกตามกิ่งแก่มักไม่ติดเป็นผล หรือถึงติดเป็นผลได้ก็คุณภาพไม่ดี

    * มะนาวที่ออกดอกช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วง มิ.ย.-ส.ค. เป็นช่วงมะนาวราคาต่ำสุด แต่มะนาวที่ออกดอกเดือน ก.ย.-ต.ค.ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.เป็นช่วงมะนาวราคาแพงหรือมะนาวหน้าแล้ง                

    * การปฏิบัติบำรุงด้วยธาตุอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ออกดอกติดผลได้ตลอดปี ในต้นเดียวกันจะมีทั้งดอก ผลเล็ก  ผลกลางและผลใหญ่ กรณีนี้ผลใหญ่ส่วนหนึ่งจะแก่เก็บเกี่ยวในช่วงหน้าแล้งได้
                

    * ในต้นเดียวกันที่มี ดอก+ผล อยู่ในต้นเดียวกันนั้น หากต้องการบำรุงแบบให้มีผลชุดใหญ่แก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงหน้าแล้ง สามารถทำได้โดยการทำลายดอกชุดที่ออกมาตรงกับมะนาวปี (ม.ค.-ก.พ.)ทิ้งไปแล้วบำรุงเฉพาะผลที่เหลืออยู่ตามปกติ                 

    * การที่จะบำรุงให้ออกดอกช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.ได้จะต้องให้มะนาวกระทบแล้งช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.ให้ได้ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝน                

    * ใช้กากมะพร้าวที่คั้นกะทิออกไปหมดแล้วหว่านในทรงพุ่มให้กากมะพร้าวส่วนหนึ่งติดค้างอยู่บนใบกับส่วนหนึ่งตกลงไปที่พื้นดินโคนต้น จะช่วยให้มะนาวต้นนั้นออกดอกติดผลดกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้                      

    * ใช้น้ำ 100 ล.+ เครื่องในปลาทะเลสดใหม่บดละเอียด 100-200 กรัม รดโคนต้นทุก 2-3 เดือน หรือฉีดอัดลงดินบริเวณทรงพุ่ม เป็นวิธีการทำให้ต้นได้รับธาตุอาหารต่อเนื่องตลอด 24 ชม.จะช่วยให้มะนาวออกดอกติดผลดกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้           

    * ต้นที่สมบูรณ์จนเฝือใบให้บำรุงด้วยน้ำ 100 ล.+ นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบทุก 5-7 วัน จะช่วยให้ใบเขียวเข้ม  พร้อมให้เปิดตาดอกได้ หรือเมื่อต้นแตกใบอ่อนออกมาก็จะมีดอกออกตามมาด้วย
                

    * เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยคอก มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ/นกกระทา ดีมากหากมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1-2 กระป๋องนม/ตร.ม.ร่วมด้วย 2-3 ครั้ง/ปี แล้วคลุมทับด้วยเศษหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆเต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-1.5 ม.จะช่วยให้ต้นมะนาวสมบูรณ์แข็งแรงดียิ่งขึ้น         

    * พันธุ์ที่ลักษณะทรงผลไม่แป้น แก้ไขด้วยการให้ ฮอร์โมนขยายขนาดทางข้าง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ตั้งแต่ผลขนาดเล็ก และให้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ทรงผลแป้นได้

    * ต้นพันธุ์ที่เลี้ยงในถุงดำโดยมีแกลบดำล้วนๆเป็นวัสดุปลูก ก่อนนำต้นพันธุ์ต้นนั้นลงปลูกในแปลงจริง แนะนำให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากถุงปลูก ล้างแกลบดำด้วยน้ำออกให้หมดแล้วจึงนำลงปลูกในหลุมปลูก ระหว่างลงหลุมปลูกให้จัดระเบียบรากให้ชี้ตรงออกด้านนอกรอบทิศทาง จะช่วยให้ต้นพันธุ์แทงรากใหม่เร็วและดีกว่าการมีแกลบดำอยุ่ในหลุมปลูกด้วย
                     

      การขยายพันธุ์                
    - ตอน (ดีที่สุด).  ทาบกิ่ง.  เพาะเมล็ด.
    - ไม่ควรใช้ต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบหรือเสียบยอด เพราะเมื่อต้นอายุมากขึ้นส่วนที่เป็นตอจะใหญ่กว่าส่วนต้นพันธุ์ดีหรือเรียกว่าเท้าช้าง
    - เลือกต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนจากกิ่งกระโดง ลักษณะตรง
ข้อปล้องยาว ลำเปล้าสูง อายุน้อยๆหรือกลางอ่อนกลางแก่เป็นกิ่งอ่อนที่เปลือกยังไม่แตกลายงา หรือเริ่มมีลายงาเกิดขึ้น ใบใหญ่ ผ่านการแตกใบอ่อนมาแล้ว 2-3 ชุด มีรากอ่อนเกิดในถุงมากๆ
    - ไม่ควรเลือกต้นกล้าพันธุ์ที่เลี้ยงในถุงดำเป็นเวลานานๆจนรากแก่จัดเป็นสีน้ำตาลไหม้ บางส่วนแทงทะลุออกมานอกถุง รากที่อยู่ในถุงเริ่มเจริญยาววน (รากวน)ไปตามถุง เมื่อนำไปปลูกจะโตช้า                
    - วิธีการปลูกกล้ามะนาว ถ้ายังเป็นกิ่งอ่อนหรือกลางอ่อนกลางแก่ ให้ปลูกแบบตั้งฉากกับพื้นได้เลย ยอดใหม่จะแตกออกมาต่อจากยอดเดิมและตามข้อหรือตาที่ลำเปล้า แต่ถ้าเป็นกิ่งแก่หรือค่อนข้างแก่ให้ปลูกแบบเอียง 45 องศาหรือมากกว่า(เอียงมาก)กับพื้น ยอดใหม่จะแตกออกมาจากตาที่ข้อตั้งตรงเป็นกิ่งกระโดง ให้เลือกไว้เฉพาะยอดที่แตกออกมาจากข้อต่ำสุดเพียงยอดเดียวยอดจากตาอื่นๆให้เด็ดทิ้งไป  ยอดที่เหลือไว้นี้จะโตขึ้นเหมือนยอดกระโดง มีลำเปล้าตรงและสูงและหลังจากยอดที่เหลือไว้นี้โตเต็มที่ แล้วยอดเดิมที่ติดมากับต้นกล้าพันธุ์จะหลุดร่วงไปเอง
    - ปลูกต้นกล้าพันธุ์โดยทำพูนโคกสูง 30-50 ซม.กว้าง 1-1.5 ม.
ขุดดินกลางพูนโคกเป็นหลุมเล็กๆ ปลูกต้นกล้าลงตื้นๆพอมิดตุ้มตอนหรือตุ้มทาบ  คลุมด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ จะช่วยให้รากเจริญเร็วกว่าการปลูกแบบขุดหลุมลึกๆบนพื้นราบธรรมดาๆ
    - ก่อนกลบดินหลุมปลูกให้เขี่ยขุยมะพร้าวที่ผิวนอกตุ้มตอนหรือตุ้มทาบ
สำรวจปลายรากว่ามีอาการหมุนวนรอบๆถุงห่อขุยมะพร้าวหรือไม่ ถ้ารากเริ่มหมุนวนให้จัดรากโดยใช้ไม้เล็กๆเขี่ยปลายรากออกมาให้ชี้ออกข้างตรงๆแล้วใช้ดินกลบกดยึดรากส่วนนั้นไว้ ถ้าไม่จัดรากก่อนเมื่อรากเริ่มเจริญยาวจะหมุนวนอยู่ในหลุมเรียกว่า ราก-วน เป็นเหตุให้ต้นโตช้าหรืออาจนั่งหลุมตายได้
                 
      สายพันธุ์                
      เลือกสายพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง....พันธุ์นิยมเพื่อการบริโภคประเภทยำหรือต้มยำ ได้แก่ แป้นรำไพ. แป้นกระดาน. แป้น
ทะวาย. แป้นพวง. เนื่องจากผลดก รูปทรงสวย เปลือกบาง น้ำมาก น้ำมีกลิ่นหอม......พันธุ์นิยมเพื่อการบริโภคประเภทน้ำจิ้มคือ พันธุ์ไข่.  เนื่องจากผลดก เปลือกบาง น้ำมากและมีกลิ่นหอม.....ส่วนพันธุ์นิยมเพื่อการบริโภคประเภทน้ำแปรรูป ได้แก่ น้ำหอมทูลเกล้า. ด่านเกวียน.....และมะนาวหวาน ลักษณะต้น ผล การเจริญเติบโตเหมือนมะนาวแต่ผลแก่รสจืดชืด
      
ปัจจุบันมีมะนาวสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ต่างก็เน้นความเป็นมะนาวแป้นและทนทานต่อโรคเป็นหลัก ส่วนการตั้งชื่อสายพันธุ์จะเน้นการจำหน่ายกิ่งพันธุ์เป็นหลัก
      
มะนาวสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคสูงโดยธรรมชาติอย่างแท้จริง มี 2 สายพันธุ์คือ น้ำหอมทูนเกล้า (ไร้เมล็ด)และ ด่านเกวียน. จึงทำให้นักผสมพันธุ์มะนาวใช้
ด่านเกวียนหรือน้ำหอมทูนเกล้า ตัวใดตัวหนึ่งผสมกับมะนาวสายพันธุ์แป้น สายพันธุ์ไหนเป็นพ่อหรือแม่ก็ได้ จากการที่มีสายเลือดน้ำหอมทูนเกล้าหรือด่านเกวียน ผู้จำหน่ายกิ่งพันธุ์จึงสมอ้างว่าเป็นสายพันธุ์ต้านทานโรค แต่ในความเป็นจริงนั้น ณ วันนี้เทคโนโลยีนี้ยังไม่สำเร็จ กล่าวคือ มะนาวสายพันธุ์ใหม่ยังไม่สามารถต้านทานโรคได้เหมือนน้ำหอมทูนเกล้าหรือด่านเกวียน
                 
      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                  
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                  
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                 
      หมายเหตุ :                
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน                  
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                        

      ระยะปลูก :
    - ระยะปกติ  4 x 6 ม. หรือ  6 x 6  ม.  
    - ระยะชิด (ช่วงแรก)ปรับเป็น ระยะปกติ (ช่วงหลัง).....หมายความว่า ช่วงแรกปลูกระยะห่าง 2 x 2 ม.(1 ไร่/400 ต้น) บำรุงเลี้ยงตามปกติ 2-3 ปี(ได้ผลผลิต)ระยะห่างระหว่างต้นเริ่มชิดกันให้ตัดออกต้นเว้นต้น จะเหลือ200 ต้น/ไร่ บำรุงเลี้ยงต่อไปตามปกติ 3-4 ปี (ได้ผลผลิต)ระยะห่างระหว่างต้นชิดกันอีกให้ตัดออกต้นเว้นต้น จะเหลือ 100 ต้น/ไร่ จากนั้นบำรุงเลี้ยงต่อไป ระยะห่างระหว่างต้นครั้งสุดท้ายนี้ถือเป็นระยะปลูกปกติ ข้อดีของการปลูกระยะชิดช่วงก็คือ ได้ผลผลิตส่วนหนึ่งจำหน่ายก่อน
      หมายเหตุ
 :
      ระยะชิดหรือระยะปกติไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะนาว ตราบใดที่ต้นได้รับแสงแดด 100% มะนาวต้นนั้นก็จะให้ผลผลิตตามปกติ
                 
      เตรียมต้น
                
      ตัดแต่งกิ่ง :
                     
    - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนูกิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล)ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
    - นิสัยการออกดอกมะนาวไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น                 
      ตัดแต่งราก:                
    - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปีระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลาย
ออก 1ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม.หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม

 1.เรียกใบอ่อน                
          ทางใบ  :
                
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
                
          ทางราก :
                
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 5-7-7(1-2 กก.)
/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
          หมายเหตุ :
                
        - เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
        - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก.......แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
        - มะนาวต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ        

       2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่                
          ทางใบ :                
        - ให้น้ำ 100 + 0-21-74(200 กรัม) หรือ 0-39-39(สูตรใดสูตรหนึ่ง) 400 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
          ทางราก :                
        - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน                
          หมายเหตุ :                
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
        - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
        - ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกันหลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม.นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย        


       3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก                
          ทางใบ :
        - ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
          ทางราก :
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +8-24-24(1-2 กก.)
/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        - งดน้ำ  ทำช่องทางระบายน้ำป้องกันน้ำฝนขังค้าง
          หมายเหตุ :                
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด                
        - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
        - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอกไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก  ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา                
        - ช่วงหน้าฝนหรือสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมากแนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารตามปกติโดยการให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้                 
        - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น.....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ซึ่งจะทำให้มีเมล็ดมากและขนาดใหญ่ได้
        - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง             

         4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
                
            ทางใบ :
                
          - ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงพื้น
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
            ทางราก :                
            งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น                
            หมายเหตุ :                
          - เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
          - ระยะเวลาในการงดน้ำไม่อาจกำหนดจำนวนวันที่แน่นอนลงไปได้ (อาจจะ 7-15 วัน) ทุกอย่างขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้น ดังนั้นจึงให้งดน้ำไปเรื่อยๆจนกระทั่งใบเริ่มสลดตั้งแต่ประมาณเที่ยงวัน (อากาศร้อน) แล้วฟื้นตั้งชูขึ้นเหมือนเดิมตัวตอน 16.00-17.00 น.ติดต่อกัน 3 วัน
          - การให้  “นมสัตว์สดหรือกลูโคส + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ทางใบ 1 ครั้ง เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)  และ “ลด” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.) ซึ่งนอกจากช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดีแล้วยังช่วยให้มีดอกออกมามากๆอีกด้วย
          

          5.เปิดตาดอก                
             ทางใบ :                
           - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500 กรัม) หรือ 0-52-34 (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ                
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
             ทางราก :                
           - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น               
           - ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน
             หมายเหตุ :                
           - เริ่มปฏิบัติหลังจากต้นแใบสลดติดต่อกัน 3 วันแล้ว
           - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24(100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.
           - หลังจากระดมให้น้ำแล้วต้นจะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ
           - เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อน (มีดอกตามมาด้วย)มากๆ  ให้ใช้  “ไธโอยูเรีย 500 กรัม/น้ำ 100 ล.”  ฉีดพ่นซ้ำก็ได้  โดยฉีดพ่นในช่วงเช้าแดดให้ทั่วทรงพุ่ม       
           - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าแตกยอดพร้อมกับมีดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
           - สำหรับมะนาวนั้น ปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 เป็นได้ทั้ง "สูตรสะสมตาดอก"  และ  "เปิดตาดอก" หมายความว่า เมื่อต้นสะสม 0-52-34 ในปริมาณที่มากพอภายใต้ความสมบูรณ์ต้นสูง มะนาวสามารถออกดอกได้เองโดยไม่ต้องเปิดตาดอกซ้ำ แต่ถ้าต้นสะสม 0-52-34 ไม่เพียงพอหรือต้นเกิดอาการเฝือใบ แนะนำให้เพิ่ม 13-0-46 โดย "น้ำ 100 ล.+ 0-52-35(1 กก.)+ 13-0-46(250 กรัม)มะน่าวต้นนั้นก็จะแทงช่อดอเกออกมาได้

6.บำรุงดอก
             ทางใบ :
                
            
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
             ทางราก :                
            - ให้ 8-24-24(½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
            - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น                 
            - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น                  
              หมายเหตุ :                
            - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
            - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี                
           - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
           - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้             
           - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน                
           - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ                 
           - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก        

        7.บำรุงผลเล็ก                
           ทางใบ :                
         - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           ทางราก :                
         - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
         - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
         - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
           หมายเหตุ :                
         - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
         - ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้ “น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม” ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบ จะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวได้ดี       

         8.บำรุงผลกลาง
                
           ทางใบ :
         
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
            ทางราก :                
          - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน                   
          - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                 
            หมายเหตุ :
          - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
          - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก      

        9.บำรุงผลแก่                
           ทางใบ :                
         - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ                
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           ทางราก :                
         - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24  สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         - ให้น้ำ 1 รอบเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
           หมายเหตุ :                
         - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
         - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดต้นแล้วต้องพักต้นทันทีโดยไม่ต้องทำการใดๆทั้งสิ้นนั้น ทำให้ต้องพักต้นทั้งๆที่ต้นยังโทรมอยู่ กรณีนี้เมื่อถึงฤดูกาลใหม่ต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่ต่อไป......วิธีการทำให้ต้นไม่โทรมมากเกินไปก็คือ บำรุงให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอโดยให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปีนั่นเอง
         - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม  ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้                   
      
     ยืดอายุผลมะนาวในต้นให้แก่ช้าหรือเร่งให้แก่เร็ว
                
         หลักการและเหตุผล :
            
         อายุผลมะนาวตั้งแต่ผสมติดหรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยวใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือน มะนาวที่ออกดอกเดือน ต.ค. จะได้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน เม.ย. กล่าวคือ ถ้าออกดอกต้นเดือน ต.ค.ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือน เม.ย......และถ้าดอกออกปลายเดือน ต.ค.ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงปลายเดือน เม.ย. เช่นกัน ....ถ้าต้องการให้ผลมะนาวแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงสงกรานต์พอดีก็จะต้องทำให้มะนาวออกดอกกลางเดือน ต.ค.ให้ได้เท่านั้น

         มะนาวที่ออกดอกก่อนเดือน ต.ค.(ประมาณ ต้น ก.ย.- กลาง ก.ย.....ไม่ควรออกก่อนมากนัก) ซึ่งต้องแก่เก็บเกี่ยวได้ก่อนเดือน เม.ย. นั้นสามารถยืดอายุผลให้แก่ช้าหรือให้แก่ในช่วงเดือน เม.ย.ได้ และมะนาวที่ออกดอกหลังเดือน ต.ค.(ประมาณ ต้น พ.ย.- กลาง พ.ย. ......ไม่ควรหลังมากนัก) ซึ่งต้องแก่เก็บเกี่ยวได้หลังช่วงเดือน เม.ย. แล้วนั้น สามารถเร่งให้ผลแก่เร็วขึ้นได้เช่นกัน ทั้งการเร่งให้ผลแก่เร็วและแก่ช้ากว่ากำหนดอายุจริงสามารถทำได้ดังนี้   

          วิธีเร่งผลให้แก่ช้า                
          ทางใบ :            
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)สลับกับ 46-0-0(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. +แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 7-10 วัน
        - ให้สารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน             
          ทางราก :            
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน              
        - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน            
          หมายเหตุ :            
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล            
        - สามารถยืดการแก่ของผลให้ช้าหรือนานกว่าอายุจริง 20-30วัน
        - บำรุงมะนาวด้วยสูตรนี้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผิวเห่อ เปลือกหนา น้ำน้อย กลิ่นไม่มี  แต่ขนาดผลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ            
        - การให้  “น้ำ 100 ล.+ ยูเรีย 200 กรัม + กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี.”  ด้วยการฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ ทุก 10-15 วัน จะทำให้ผลเขียว เปลือกหนา ต่อมน้ำมันไม่เกิดและผลไม่แก่แม้อายุผลครบ 5-6 เดือนแล้วแต่จะขยายขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ            
        - เมื่อถึงช่วงใกล้เก็บเกี่ยวตามต้องการหรือก่อนเก็บเกี่ยวจริง 10-20 วัน ให้บำรุงด้วยสูตร  “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” ตามปกติ  2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน อาการไม่พึงประสงค์ (ผลเขียว  เปลือกหนา  ต่อมน้ำมันไม่เกิด น้ำน้อย กลิ่นไม่หอม) ของผลมะนาวจะกลับกลายเป็นดี

          วิธีเร่งผลให้แก่เร็ว                       
          ทางใบ :            
        - ให้น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.หรือ 0-0-50(200 กรัม) หรือ0-21-74(400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 5-7 วัน 2-3 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
          ทางราก :            
        - เปิดหน้าดินโคนต้นให้แดดส่องถึง  นำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้หมด
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        - ให้น้ำ 1 ครั้งเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
               
          หมายเหตุ :                
        - เริ่มบำรุงเมื่อผลแก่ได้ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของผลที่แก่ตามอายุจริง
        - สามารถเร่งให้ผลแก่เร็วกว่าอายุจริง 10-20 วัน
        - ควรวางแผนบำรุงให้ผลแก่เร็วกว่าปกติตั้งแต่เริ่มติดผล  โดยการคำนวณอายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้  แล้วบำรุงตั้งแต่ช่วงระยะผลขนาดกลางให้โตเร็วๆและมากๆด้วยสูตร “หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” เตรียมรอไว้ล่วงหน้า
        - หลังจากเริ่มบำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” แล้ว ขนาดของผลมะนาวจะไม่โตขึ้นอีกหรือหยุดการเจริญเติบโต  โครงสร้างภายในของผลจะเปลี่ยนเป็นผลแก่  แม้ว่าอายุผลจะน้อยกว่าความเป็นจริงแต่คุณภาพของผลไม่แตกต่างกันนัก

บำรุงมะนาวให้ออกดอกติดผลตลอดปี

          มะนาวที่อายุต้นโตให้ผลผลิตแล้วได้รับการบำรุงตามปกติก็สามารถออกดอกติดผลตลอดปีได้ไม่ยากเพียงแต่บางช่วงอาจมีผลดก บางช่วงอาจมีผลน้อย ขึ้นอยู่กับการบำรุงและสภาพอากาศ หากบำรุงต้นให้มีธาตุอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องทั้งปีติดต่อกันหลายๆปี มะนาวก็จะออกดอกติดผลดกถึงดกมากได้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ 
           
          ทางใบ  :            
          สูตร 1 .....ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
            
          สูตร 2 ..... ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+เอ็นเอเอ 25 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ    
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
         ทางราก :            
       - ใส่ปุ๋ยอินทรีย์  (มูลวัวเนื้อ + มูลไก่ อัตราส่วน 3:1) ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น
       - ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24  สลับ 1 เดือนกับ  21-7-14 (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
       - ให้น้ำเปล่าปกติ  ทุก 2-3 วัน            
         หมายเหตุ :            
       - ให้ทางใบด้วย “สูตร 1” กับ “สูตร 2” สลับกัน ห่างกันครั้งละ 7-10 วัน
       - ให้ยิบซั่มธรรมชาติและกระดูกป่นปกติเคยใส่แบบประจำปีอยู่แล้ว  (ใส่ยิบซั่มธรรมชาติปีละ 2 ครั้ง และกระดูกป่น ปีละ  1 ครั้ง) การใส่เพิ่มต้องพิจารณาระยะห่างจากการให้ครั้งที่ผ่านมาแล้วด้วย
                                                 
    
จัดรุ่นมะนาวที่มีผลตลอดปีให้ได้ผลเป็นรุ่นหน้าแล้ง         

        หลักการและเหตุผล :            
      - อายุผลมะนาวตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้นาน 6 เดือน  ดอกที่ออกมาช่วงไหนให้นับต่อไปอีก 6-6 เดือนครึ่ง ก็จะกลายเป็นผลแก่เก็บเกี่ยวได้
      - ถ้าดอกที่ออกมาแล้วจะเป็นผลแก่ตรงกับช่วงที่มะนาวราคาถูกให้ทำลายดอกชุดนั้นทิ้งแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ  จากนั้นประมาณ 2-3 เดือน ก็จะมีดอกชุดใหม่ออกมาอีก ดอกชุดใหม่นี้จะกลายเป็นผลให้แก่เก็บเกี่ยวได้หลังดอกชุดที่ทำลายไป 2-3 เดือน  หรือเป็นมะนาวล่าฤดูนั่นเอง.......การปฏิบัติบำรุงให้ทำดังนี้.......            

          ล้างดอก :              
          สูตร 1.....ใช้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 (400 กรัม)ฉีดพ่นใส่ดอกโดยตรง
          สูตร 2.....ใช้น้ำ 100 ล.
+ เอ็นเอเอ. 200 ซีซี.หรือ เอทีฟอน 30 ซีซี.อย่างใดอย่าหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ฉีดพ่นช่วงที่กลีบดอกเริ่มแห้ง(หลังผสมติด)ทั่วทรงพุ่ม
      หมายเหตุ :
   
    - วิธีนี้จะทำให้ดอกร่วงแต่ผล (อ่อน/แก่) และใบ (อ่อน/แก่)ไม่ร่วง จากนั้นให้บำรุงผลต่อโดย......
            
      ทางใบ :            
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.50 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ ฮอร์โมนสมส่วน 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
            
      ทางราก :            
    - ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิม            
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 5 ม.
    - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน              


 
       
บำรุงมะนาวให้ได้ผลชุดใหญ่ในหน้าแล้ง
 
            
          
เดือน พ.ค. :   “ เตรียมต้น”
            
        - ตัดแต่งกิ่ง     (ตัดแต่งกิ่งปกติ  หรือตัดแต่งแบบทำสาว)
        - ตัดแต่งราก     (ถ้าจำเป็น)            
        - ล้างต้น       (เก็บหรือทำลาย  “ดอก/ผล”  ที่ค้างอยู่บนต้นออกให้หมด)
        - ล่อราก       (ใส่ปุ๋ยอินทรีย์  ยิบซั่มธรรมชาติ  กระดูกป่น  ใช้กาบมะพร้าวชิ้นโต/เล็กคลุมโคนต้นหนา 20-30 ซม.ทั่วบริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-1.5 ม.)
   

          เดือน พ.ค.- มิ.ย.
  “ฟื้นฟูสภาพต้น/เรียกใบอ่อน” (เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่ง)
          ทางใบ :            
        - ให้น้ำ 100 ล. + 46-0-0(200 กรัม) หรือ 25-5-5 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี .+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  หรือต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
          ทางราก :            
        - ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิมจากช่วงที่ใส่ล่อราก            
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        - ให้น้ำเปล่าปกติ  ทุก 2-3 วัน             

          เดือน ก.ค.
  “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” (เริ่มปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเพสลาด)
          ทางใบ :
            
          สูตร 1
……..น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
          สูตร 2.....น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ.50 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ในรอบ 7-10 วัน ให้สูตร 1 สลับกับสูตร 2  ฉีดพ่นพอเปียกใบตลอดเดือน ก.ค.
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน             
          ทางราก :             
        - ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิม              
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24  หรือ 9-26-26 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน            
        - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน              

          เดือน ส.ค. – ก.ย. :  “ปรับ ซี/เอ็น เรโช.”
          ทางใบ :                          
        - ในรอบ 7-10 วัน ภายใต้สภาพอากาศปกติให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ซีซี. + นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 50 ซีซี. + ฮอร์
โมนไข่ 50 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :            
       - เปิดหน้าดินโคนต้นให้แดดส่องได้ทั่วพื้นบริเวณทรงพุ่ม
       - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26  สูตรใดสูตรหนึ่ง (½ กก.)/ต้น
       - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด            
         หมายเหตุ :                      
       - วัตถุประสงค์ของการปรับ ซี/เอ็น เรโช. ก่อนเปิดตาดอกเพื่อ  “เพิ่ม”  ปริมาณ ซี.(คาร์บอน)และ “ลด” ปริมาณ เอ็น.(ไนโตรเจน) นอกจากการงดน้ำเด็ดขาดแล้ว การเสริมด้วยวิธี  “รมควัน”  ก็จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช.ได้ผลดียิ่งขึ้น            
       - ระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช ถ้ามีฝนตกให้ฉีดพ่นด้วยน้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบก่อนฝนตก 30 นาที หรือฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดใบแห้ง ไม่จำกัดเวลา และจำนวนครั้งที่ต้องให้
       - การให้ธาตุอาหารทางใบช่วงงดน้ำเด็ดขาดต้องระวังอย่าให้น้ำลงถึงพื้นดินโคนต้น เพราะจะทำให้มาตรการงดน้ำล้มเหลว             
       - ให้ธาตุอาหารทางใบช่วงนี้จะต้องเน้นธาตุอาหารกลุ่ม “สร้างดอก-บำรุงผล”  เป็นหลัก  อาจจะให้ถี่ขึ้นกว่าปกติเพื่อเพิ่ม ซี.ให้มากขึ้นและลด เอ็น.ให้น้อยลงให้ได้ ซึ่งการให้ธาตุอาหารถี่นี้ขึ้นอาจทำให้ใบมะนาวกร้านถึงขนาดปลายใบไหม้ได้แต่จะไม่เป็นปัญหาต่อการสะสมอาหารแต่อย่างใด
       - วางแผนเวลาล่วงหน้าว่า  ถ้างดน้ำช่วงกลางเดือนเป็นเวลา 7-10 วันแล้ว  ต้นมะนาวต้องเกิดอาการใบสลด จากนั้น สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ย. ต่อต้นเดือน ต.ค. สามารถลงมือเปิดตาดอกได้   เพราะฉะนั้นเจ้าของสวนจะต้องรู้ปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นว่า ต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานเพียงใดดินจึงจะแห้งอย่างแท้จริง            
       - สวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกจนก้นร่องแห้งแตกระแหงล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานๆ             
       - ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช. เพื่อเตรียมการ “กดใบอ่อน” ทั้งล่วงหน้าก่อนฝนตก และ/หรือ หลังฝนหยุดใบแห้งอย่างทันการเพราะถ้ามะนาวแตกใบอ่อนช่วงนี้ก็ต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกใหม่  ทำให้เสียเวลาหรือแผนการทำมะนาวหน้าแล้งต้องล้มเหลว             

         เดือน ก.ย. - ต.ค.   “เปิดตาดอก”            
         ทางใบ :
            
         สูตร 1
…….น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.             
         สูตร 2...น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.             
       - เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ทุก 5-7 วัน หรือใช้ทั้งสองสูตรสลับกัน  ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน  ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ              
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน              
         ทางราก :            
       - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนเดิม            
       - ให้ 8-24-24 (250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
       - ให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง  ให้ครั้งละน้อยๆพอหน้าดินชื้น
            
         หมายเหตุ :            
         สภาพต้น  “สมบูรณ์เต็มที่ + สะสมอาหารเพื่อการออกดอกเต็มที่ + ปรับ ซี/เอ้น เรโช.ใบสลดดี”  หลังจากเปิดตาดอกแล้ว  ประมาณ 7-10 วัน  ดอกชุดแรกจะออกมาแล้วต่อด้วยชุด  2 ชุด  3 ติดต่อกันนาน 15-20 วัน หรือจนกระทั่งถึงช่วงกลางเดือน ต.ค.
                 
         เดือน ต.ค.  “บำรุงดอกตูม – ดอกบาน” 
         ทางใบ  :           
       - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+
สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียก ทุก 7-10 วัน
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน           
         ทางราก :            
       - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนเดิม           
       - ให้ 8-24-24(250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
       - ให้น้ำทุก 2-3 วัน  ให้ครั้งละน้อยๆพอหน้าดินชื้น
            
        หมายเหตุ :            
       - การให้น้ำทางดินช่วงนี้ต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำแบบให้ต้นรู้ตัว การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ดอกร่วง และถ้าต้นขาดน้ำก็ดอกร่วงได้เช่นกัน
       - ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องทดสอบอัตราใช้มาก่อน เพราะถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้ดอกร่วง  และถ้าใช้น้อยเกินไปก็จะไม่ได้ผล            
       - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อป้องกันกำจัดโรคแมลงจนถึงช่วงดอกบาน           
       - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจจะทำให้เกสรเปียกแฉะจนผสมไม่ติดได้ แต่หากจำเป็นต้องฉีดพ่นก็ให้ฉีดพ่นตอนหลังค่ำ  ทั้งนี้ให้พิจารณาจำนวนระหว่างดอกตูมกับดอกบานว่าอย่างไหนมีมากกว่ากัน เพราะถ้างดฉีดพ่นดอกบานก็จะทำให้ดอกตูมไม่ได้รับธาตุอาหารหรือหากบำรุงดอกตูมแล้วเสียดอกบานไป            
        - ช่วงที่ดอกออกมาแล้วสภาพอากาศร้อนมากอาจทำให้เกสรเหี่ยวแห้งจนผสมไม่ติด  แก้ไขโดยให้น้ำผ่านสปริงเกอร์เพื่อสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศช่วงอากาศร้อนสุดของแต่ละวัน 1-2 ครั้งๆละ 10-20 นาที
       - การชักนำแมลงเข้าผสมเกสรจะช่วยให้มะนาวติดผลดกขึ้น
             
          เดือน พ.ย.   “บำรุงผลเล็ก”            
          ทางใบ  :                
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.
+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 10-15 วัน
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                          
          ทางราก :            
        - ใส่ปุ๋ยอินทรีย์  ยิบซั่มธรรมชาติ   คลุมโคนต้นด้วยเศษฟางหรือหญ้าแห้งหนาทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-1.5 ม.
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1กก.)
/ต้นทรงพุ่ม 5 ม./เดือน
        - ให้น้ำทุก 2-3 วัน  ค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อให้ต้นรู้ตัว
            
          หมายเหตุ :            
          น้ำที่ให้ทางดินควรค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อยๆเพื่อให้ต้นรู้ตัวและปรับตัวได้ทัน ถ้าให้น้ำน้อยจะทำให้ผลร่วง  และถ้าให้มากเกินไปก็ทำให้ผลร่วงได้เช่นกัน                 

          เดือน ธ.ค. – มี.ค. “บำรุงผลกลาง”
          ทางใบ :             
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.
+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 7-10 วัน            
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
         ทางราก :           
       - ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิม            
       - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(½-1กก.)
/ต้นทรงพุ่ม 5 ม./เดือน
       - ให้น้ำ ทุก 2-3 วัน            
         หมายเหตุ :                
       - ขั้นตอนนี้ถ้ามะนาวขาดน้ำจะทำให้ผลไม่สมบูรณ์ 
       - ให้ทางใบด้วยฮอร์โมนสมส่วน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม            
       - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้แม็กเนเซียม 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก 

         เดือน มี.ค. - เม.ย.    “บำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว”
         ทางใบ :
            
         สูตร 1
…….น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
         สูตร 2...น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
         เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 7 วัน  และฉีดพ่นรอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน            
         ทางราก :            
       - เปิดหน้าดินโคนต้น            
       - ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 5 ม.
       - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด

 ปลูกมะนาวในกระถางให้ออกหน้าแล้ง บังคับง่ายได้ผลแน่นอน

        หลักการและเหตุผล :                
        การบังคับมะนาวให้ได้ผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงหน้าแล้ง (เม.ย.) นั้น จำเป็นต้องงดน้ำเพื่อปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. ในช่วงเดือน ส.ค. ซึ่งค่อนข้างทำยากเพราะเป็นช่วงฤดูฝน นอกจากน้ำฝนแล้วยังมีปัญหาน้ำใต้ดินโคนต้นอีกที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงส่งผลให้มะนาวแตกใบอ่อนตลอดเวลา
                
        การปลูกมะนาวในกระถางช่วยให้มาตรการงดน้ำสามารถทำได้แน่นอน  เพราะนอกจากป้องกันน้ำจากฝนตกแล้วยังป้องกันน้ำจากใต้ดินโคนต้นได้อีกด้วย 
    
    
    เตรียมกระถาง  :                        
      - เลือกกระถางซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ม.  สูง 50 ซม. ปิดก้นตลอด  เจาะรูด้านข้าง
ขอบและก้นกระถางเพื่อระบายน้ำป้องกันน้ำขังค้างในกระถาง 4-5 รู
      - ตั้งกระถางกลางแจ้ง  แสงแดดส่องได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดวัน 
               
         เตรียมดิน  :
                
      - เลือกดินหน้าดินตากแดดจัด 10-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและร่วนซุยแตกตัวดี
     
 - ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ/นกกระทา) เปลือกถั่วลิสงตากแห้ง.  ฟางแห้งหรือซังข้าวโพดตากแห้ง.   ยิบซั่มธรรมชาติ.  กระดูกป่น.  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วพรมด้วย   “น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + ไคโตซาน + ฮอร์โมนบำรุงราก”  คลุกเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งจนได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์  เสร็จแล้วทำกองอัดแน่น คลุมด้วยพลาสติก  กลับกองทุก 5-7 วันหรือเมื่อมีควันเกิดขึ้นเพื่อระบายอากาศและความร้อน หมักทิ้งไว้ 2-3 เดือนหรืออุณหภูมิลดลงหรือเย็นปกติ ได้ "ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ"  พร้อมใช้งาน
        - ใช้ดินหน้าดินตากแดดแล้วผสมกับ ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ คลุกเคล้าเข้ากันดีแล้วบรรจุลงกระถางให้เต็มจนพูนโคกสูงจากปากกระถาง 50 ซม. อัดแน่น คลุมทับผิวหน้าดินด้วยฟางหมักเปื่อยยุ่ยแล้วคลุมทับด้วยฟางแห้งธรรมดาๆอีกชั้นหนาๆ
     
                
        เตรียมต้น :
                
        - เลือกและปลูกกล้ามะนาวตามปกติลงบนยอดสูงสุดของพูนโคกในกระถาง
        - บำรุงเลี้ยงต้นกล้า เมื่อต้นกล้าโตขึ้นให้จัดระเบียบกิ่งประธานที่แตกออกมาให้ได้รับแสงแดดทั่วถึงและไม่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่น                           

        ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงมะนาวในกระถางให้ออกผลในหน้าแล้ง

 
     - ช่วงขั้นตอน "ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนฟื้นฟูสภาพต้น-สะสมอาหารเพื่อการออกดอก" ปฏิบัติเหมือนการบำรุงมะนาวปลูกบนพื้นดินปกติทุกประการ
      - ช่วงขั้นตอน "งดน้ำเพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช" ให้ใช้พลาสติกคลุมหน้าดินปาก
กระถางเพื่อป้องกันฝนตกใส่ เมื่อเห็นว่าต้นมะนาวเริ่มเครียดหรือเริ่มใบสลดจึงนำพลาสติกออกแล้วระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอกได้เลย
                
      - ช่วงขั้นตอน "เปิดตาดอก" หลังจากนำพลาสติกคลุมดินออกแล้วเริ่มเปิดตาดอก  โดย...
        ทางใบ :                
        สูตร 1
 ........น้ำ 100 ล.+ 13-0-46(500 กรัม) หรือ ไธโอยูเรีย (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
  
      สูตร 2........น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 250 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
   
     ใช้ทั้งสองสูตรสลับกัน 1-2 รอบ แต่ละสูตรห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ                
        ทางราก :
                
      - ให้ 8-24-24 (200-250)/ต้น (กระถาง)  ให้ทันทีที่เปิดพลาสติกคลุมแปลง
      - ให้น้ำปกติ  ทุก 1-2 วัน                  
        หมายเหตุ : 
                
      - หลังจากเปิดตาดอกแล้วมะนาวก็จะมีดอกออกมา จากนั้นบำรุงตามขั้นตอน “บำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก. บำรุงผลกลาง. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว. บำรุงผลให้แก่เร็วกว่าปกติหรือบำรุงยืดอายุผลให้แก่ช้า.”  ปฏิบัติเหมือนการบำรุงมะนาวที่ปลูกบนพื้นดินปกติทุกประการ
      - รากทั้งหมดอยู่ในกระถางซึ่งเป็นพื้นที่ๆค่อนข้างจำกัดในการอาหารและปริมาณสารอาหารก็มีอย่างจำกัดด้วย รากทั้งหมดต่างก็ดูดซับสารอาหารในพื้นที่จำกัดนั้นจนทำให้สารอาหารหมดไปอย่างรวดเร็ว กรณีนี้แก้ไขโดยให้สารอาหารทั้งทางรากและทางใบมากๆอย่างเพียงพอด้วยวิธี “ให้น้อย-บ่อยครั้ง-ตรงเวลา” ทั้งนี้ความสมบูรณ์ของต้นจะชี้บอกได้อย่างดีว่าสารอาหารพอเพียงหรือไม่
            
        ตัดแต่งรากมะนาวในกระถาง 
                
        เนื่องจากรากมะนาวต้องเจริญเติบโตในกระถางซึ่งมีพื้นที่จำกัด เมื่ออายุต้นมากขึ้นหรือ 4-5 ปีขึ้นไปปลายรากจะวนอยู่ที่ขอบกระถาง ส่งผลให้ต้นโทรมหรืออาจตายได้ กรณีนี้สามารถแก้ไขได้ตามขั้นตอน ดังนี้
                
      1.ล้างต้นแล้วบำรุงต้นเรียกใบอ่อนเพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์หรือสะสมอาหารไว้ในต้นก่อน
      2.เมื่อยอดอ่อนเริ่มแตกออกมาให้เห็นจึงลงมือตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวหรือทำเป็นโจรแขนด้วน  ให้เหลือความยาวของกิ่งประธานประมาณครึ่งหนึ่งของรัศมีกระถาง
      3.ใช้พลั่วหรือเสียมคมจัดแทงลงดินตรงๆ ห่างจากขอบกระถางมาทางโคนต้น 1 ใน 4 ขั้นตอนนี้จะเป็นการตัดปลายรากออก                   
      4.ตักดินบริเวณขอบกระถางออกแล้วเปลี่ยนดินชุดใหม่ลงไปแทน หรือถ้าเห็นว่าสภาพดินยังดีอยู่ก็ไม่ต้องตักออกก็ได้
               
      5.หลังจากตัดรากแล้วให้ฮอร์โมนบำรุงราก พร้อมกับเร่งบำรุง เรียกใบอ่อน-ฟื้น
ฟูสภาพต้น เหมือนการบำรุงหลังตัดแต่งกิ่งมะนาวที่ปลูกบนพื้นดินปกติ ถ้าต้นมีความสม
บูรณ์ดีตั้งแต่แรกก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับรากชุดใหม่ภายใน 20-30 วัน และพร้อมรับการบำรุงเพื่อให้ดอก/ผลต่อไป
                
      6.วิธีตักหน้าดินปากกระถางบางส่วนออกแล้วใช้วิธีล่อรากขึ้นมาก่อนแล้วจึงตัดปลายรากที่ขอบกระถางจะสามารถลดการชะงักการเจริญเติบโตของต้นได้เป็นอย่างดี
      7.ช่วงปีแรกหลังจากตัดแต่งรากและตัดแต่งกิ่งยังไม่ควรเอาผล  แต่ให้บำรุงต้นจนสมบูรณ์ดีเหมือนเดิมก่อนจึงบำรุงเพื่อเอาผลจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเร็วและอายุยืนนานขึ้น
        หมายเหตุ :
        มะนาวกระถางอายุต้น 3-4 ปี ขนาดทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.สูง 2-2.5 ม.สภาพต้นสมบูรณ์พร้อมสามารถให้ผลผลิตได้ต้นละประมาณ 150-200 ผล
ในขณะที่มะนาวพื้นราบยกร่องแห้งลูกฟูกอายุต้น ขนาดและความสมบูรณ์พร้อมเท่าๆกันสามารถให้ผลผลิตได้ต้นละ 3,000-4,000 ผล
                                 

          
บังคับมะนาวให้ออกหน้าแล้งด้วยพาโคลบิวทาโซล
 
                
       1.เดือน ก.ค.  :
               
         เก็บผลและดอกออกให้หมดทั้งต้น (ล้างต้น)  แล้วเรียกใบอ่อนชุดที่  1

       2.เดือน ส.ค. :               
         ตัดแต่งกิ่งทำทรงพุ่มให้โปร่ง แล้วบำรุงต้นสูตรสะสมอาหารเพื่อการ
ออกดอก

       3.เดือน ก.ย. :               
         ต้นมะนาวอยู่ในระยะใบเพสลาด รดน้ำให้ดินชุ่มทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม ทิ้งไว้ 
1 วัน วันรุ่งขึ้นรดน้ำอีกครั้งแล้วราดสารพาโคลบิวทาโซลอัตรา 10 ซีซี./ต้น โดยราดให้กระจายทั่วบริเวณทรงพุ่ม
                
       4.เดือน ต.ค. :               
          มะนาวจะเริ่มออกดอก  จากนั้นบำรุงมะนาวตามขั้นตอนปกติ
                
          หมายเหตุ :
                
        - ระหว่างเดือน ส.ค. - ก.ค. ถ้ามะนาวมีดอกออกมาให้ฉีดพ่นด้วย ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.อัตรา 15-30 ซีซี./น้ำ 20 ล. ทั่วทรงพุ่มจะให้ดอกร่วงโดยไม่เป็นอันตรายต่อใบ
        - ความสำเร็จทั้งปวงของการปฏิบัติทุกขั้นตอนจะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้นมะนาวได้รับการบำรุงจนต้นมีความสมบูรณ์พร้อมอย่างแท้จริง                            

          
กดใบอ่อนสู้ฝน - ทำมะนาวหน้าแล้ง                
          หลักการและเหตุผล
               
          มะนาวจะออกดอกเดือน ต.ค. ได้นั้น ต้องผ่านการบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมาอย่างเพียงพอ  โดยช่วง ส.ค. ต่อ ก.ย. ต้องงดน้ำ (ปรับ ซี/เอ็น เรโช.) และประมาณปลาย ก.ย. จึงลงมือเปิดตาดอก จากนั้นในเดือน ต.ค.มะนาวก็จะมีดอกออกมาให้เห็น.....ทุกขั้นตอนการปฏิบัติต่อมะนาวดังกล่าวมานี้ ปัญหาอยู่ที่ช่วงเดือน ส.ค.ต่อ ก.ย. เป็นหน้าฝน  แม้ว่าจะได้บำรุงต้นสะสมอาหารเพื่อการออกดอกอย่างสม่ำเสมอดีสักเพียงใด  ถ้าต้นมะนาวได้น้ำฝนก็จะแตกใบอ่อนทันที
         แนวทางปฏิบัติบำรุงแบบ  กดใบอ่อนสู้ฝน  ต่อมะนาวช่วงเดือน ส.ค.ต่อ ก.ย. เพื่อจะให้มะนาวออกดอกในช่วงเดือน ต.ค. ยังพอทำได้ด้วยสูตร กดใบอ่อนสู้ฝน ดังนี้.....

          ทางใบ :                
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (3 กก.) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100-200 กรัม + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอปียกใบ ทุก 5-7 วัน (ฝนไม่ตก)  หรือฉีดพ่นทันที (ก่อนฝนตก 1 ชม. หรือ หลังฝนหยุดใบแห้ง 30 นาที) โดยไม่จำกัดเวลา
 
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                  
          ทางราก :
                
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24  หรือ  9-26-26  สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
                
        - เปิดน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องทั่วถึง
                
        - ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำ (ฝน) ขังค้างโคนต้น
          
        - งดน้ำเด็ดขาด
                
          หมายเหตุ :
                
        - วัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้มะนาวซึ่งผ่านการบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมาอย่างสมบูรณ์แบบแล้วแตกใบอ่อน
                
        - การฉีดพ่นทางใบ  “ก่อนฝนตก”  ได้ผลดีกว่าฉีดพ่น  “หลังฝนหยุด”   ดังนั้นจึงต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศเกี่ยวกับฝนอย่างใกล้ชิด
        - จัดเตรียมสูตรสารอาหาร (ตามที่ระบุ) พร้อมกับเครื่องมือในการปฏิบัติงานให้พร้อมล่วงหน้าสามารถใช้งานได้ทันทีทันใด เพราะการปฏิบัติทุกขั้นตอนและทุกครั้งต่อทุกต้นมะนาวจะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามกำหนดอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ                 
        - การปฏิบัติแบบล่วงหน้าก่อนถึงฤดูมรสุม 2-3 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมของต้นจะเสริมให้การปฏิบัติ  “ก่อนฝนตก”  และ  “หลังฝนหยุด”  ได้ผลแน่นอนยิ่งขึ้น
  
      - วันใดเห็นฟ้าปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) ให้ฉีดพ่นทางใบทันทีก่อนฝนตก (อาจจะไม่ตกก็ได้)1 ชม. ในขณะครึ้มฟ้าครึ้มฝนนั้น ในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูงมาก  ซึ่งความชื้นนี้น้ำปริมาณที่มากพอจนทำให้ต้นมะนาวแตกใบอ่อนได้.....ถ้าไม่ได้ฉีดพ่นก่อนฝนตก ให้ฉีดพ่นหลังฝนตกก็ได้ โดยฉีดพ่นทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง
       - ตลอดช่วง ส.ค. ต่อ ก.ย. ถ้ามีฝนตกอย่างต่อเนื่องให้ฉีดพ่นทันที “ก่อนหรือหลัง” ฝนตก หรือถ้าอากาศปิดติดต่อกันหลายๆวัน (ฝนยังไม่ตก) ก็ให้ฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น  ทั้งนี้การบำรุงเพื่อ  “กดใบอ่อนสู้ฝน”  นี้ไม่จำกัดจำนวนครั้งฉีดพ่น  หรือสามารถฉีดพ่นแบบวันต่อวันหรือวันเว้นวันได้  แม้แต่ช่วงกลางวัน (วันนี้) ฉีดพ่นให้ทางใบแล้ว ตกกลางคืนมีฝนตกก็ให้ฉีดพ่นทันทีในวันรุ่งขึ้นมีแสงแดด  หรือฉีดพ่นทางใบไปแล้วตอนเช้า  ครั้นถึงเที่ยงหรือบ่ายมีฝนตกก็ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกหลังฝนหยุดใบแห้งในวันเดียวกันนั้น
       - หลังจากฉีดพ่นสารอาหารกลุ่ม  “กดใบอ่อนสู้ฝน”  ติดต่อกัน 3-4 รอบไปแล้ว  ต้นมะนาวจะเกิดอาการใบแก่โคนกิ่งร่วง  ใบอ่อนปลายยอดเป็นใบแก่  เนื้อใบหนาเขียวเข้มเป็นมัน  กิ่งแขนงชูชี้ขึ้น  มองจากภายนอกระยะไกลเห็นความสมบูรณ์ทรงพุ่มชัดเจน                
         - ถึงช่วงปลายเดือน ก.ย. ต่อต้นเดือน ต.ค. ถ้าไม่มีฝนลงมาอีก  มะนาวก็จะออกดอกโดยไม่ต้องลงมือเปิดตาดอกอีก.......หลังจากมะนาวออกดอกแล้วก็ให้บำรุงตามขั้นตอนปกติต่อไป
                
         - เทคนิคบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูด้วยวิธีการ “รัดกิ่ง” ร่วมกับ “สารพาโคลบิวทาโซล” โดยใช้พาโคลบิวทาโซล อัตรา 0.5 กรัม/พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. จะทำให้มะนาวออกดอกในฤดูลดลง  แต่จะออกดอกนอกฤดูเพิ่มขึ้น
     
         - มะนาวที่ต้นสมบูรณ์มากจนบ้าใบให้ราดด้วยพาโคลบิวทาโซล ชนิด 10%
อัตรา 15 กรัม/พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. จะช่วยหยุดการแตกใบอ่อน ใบเดิมจะแก่จัดแล้วเกิดอาการอั้นตาดอก เมื่อลงมือเปิดตาดอกก็จะออกดอกได้ง่าย

view